Search
Close this search box.
การจัดการวิกฤต

14 วิธีในการสร้างกลยุทธ์การจัดการวิกฤตที่มั่นคง โดยผู้ให้คำปรึกษาที่มีชื่อเสียง

การจัดการวิกฤตสำคัญแค่ไหน ในทางธุรกิจ วิกฤตที่ซ่อนอยู่ใกล้ ๆ อาจเกิดขึ้น โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าได้ตลอดเวลา เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด ซึ่งมักจะไม่สามารถจินตนาการได้หรือคาดการณ์ได้น้อยมาก ผู้นำ จึงจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ที่มั่นคง

เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจของตนสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้ การสร้างแผนการที่ครอบคลุม เพื่อจัดการกับทุกปัญหาที่คุณอาจพบ จะทำได้เมื่อเราเข้าใจวิธีการสร้างกลยุทธ์การจัดการวิกฤต

บทความนี้เรามีข้อคิดเรื่องการจัดการวิกฤตจาก 14 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาฝากกันค่ะ

เลือกหัวข้ออ่าน

1.เรียนรู้ความยืดหยุ่นและยอมรับช่องโหว่ – Reena Sharma ที่ปรึกษาผู้บริหารของ Agilis

เพื่อเอาชนะวิกฤต ผู้นำต้องมีความคล่องตัวและเรียนรู้ความยืดหยุ่น ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจที่ยากลำบากด้วยข้อมูลที่จำกัด และเตรียมพร้อมที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว

การได้รับความมั่นใจ ความเชื่อใจจากคนในองค์กรเป็นสิ่งจำเป็น การยอมรับความเปราะบางเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เนื่องจากคุณต้องตระหนักว่าการตัดสินใจทั้งหมด อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการทั้งหมด

2.ฝึกฝนและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ – Denise Russo, SAP

การเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อฉันอยู่ในบทบาทสายการบิน กลยุทธ์ การจัดการวิกฤต ของเราไม่เพียงแต่จัดทำแผนของเราเท่านั้น แต่ยังเตรียมรับมือกับวิกฤตหรือภัยพิบัติด้วยการตระหนักว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า … ”

สำหรับธุรกิจ สิ่งสำคัญมาก ๆ คือ การสร้างความมั่นใจ ดังนั้น ในช่วงวิกฤตให้รีบดำเนินการสร้างความมั่นใจให้กับทีมและทำในสิ่งที่ถูกต้องแม้ว่ามันจะไม่ใช่เรื่องง่ายก็ตาม 

3.เปลี่ยนไปตามเวลาและผู้คนของคุณ – Tonya Fairley, TS Fairley Leadership and Personal Development Co.

ผู้นำธุรกิจ จำเป็นต้องรับทราบว่า การจัดการวิกฤตมีผลต่อทุกคนในบริษัท เมื่อพัฒนากลยุทธ์ สิ่งสำคัญคือ ต้องเข้าใจผู้คนที่คุณต้องมีส่วนร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงาน และ ผู้ถึอหุ้น

กลยุทธ์การจัดการวิกฤตนี้ไม่สามารถยึดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้วได้ เนื่องจากโลกหมุนไปแล้ว แผนก็ควรปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน วิกฤตในปัจจุบันที่คุณเจอ อาจเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์

4.จัดตั้งทีมบริหารภาวะวิกฤต – Jennifer Wilson,  ConvergenceCoaching, LLC

จัดตั้งทีมจัดการวิกฤต ที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากแผนกต่างๆ, สายผลิตภัณฑ์ และสถานที่ต่างๆ รวมคนที่มีพรสวรรค์ด้านการสื่อสาร, ผู้นำด้านไอที, คนที่เป็นตัวแทนความสามารถของคุณ

และคนที่ใกล้ชิดกับลูกค้าของคุณ รวบรวมกลุ่มนั้น เพื่อระดมความคิดวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นจัดลำดับความสำคัญ เพื่อระบุวิกฤต ผลกระทบ และทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุด

5.ระบุความเสี่ยงหลักของคุณ – Kathi Laughman จาก The Mackenzie Circle LLC

ขั้นตอนหลักในการพัฒนากลยุทธ์การจัดการวิกฤตที่มั่นคงคือ การระบุจุดที่คุณมีความเสี่ยง ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน วิธีที่เราดำเนินธุรกิจทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น แต่ก็มีทางเลือกมากขึ้นด้วย

หากคุณทราบถึงความเสี่ยงที่สำคัญของคุณ คุณสามารถสร้างกลยุทธ์ที่มั่นคงได้ ซึ่งจะทำให้คุณยังคงอยู่ในธุรกิจและสามารถฟื้นตัวได้ในระยะยาว

6.จัดลำดับความสำคัญของ “Crisis Focus” กับทีม – Christian Muntean, Vantage Consulting

ประชุมร่วมกับทีมของคุณเพื่อจัดความสำคัญในช่วงวิกฤต ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และค่านิยมในระยะยาวของคุณ ระบุสิ่งที่คุณจะทิ้งหรือวางลง และชี้แจงขั้นตอนที่จำเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์

7.ลืมอุปสรรคตามลำดับชั้นแบบดั้งเดิม – Tonya Echols, Vigere

ฉีกผังองค์กรและขจัดอุปสรรคตามลำดับชั้นแบบเดิม ๆ ดึงผู้นำที่มีความรู้ มีประสบการณ์และความหลงใหลในงานที่ต้องทำ เข้ามาเป็นทีมร่วมจัดการวิกฤต โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งหรือบทบาทของพวกเขา จากนั้นร่วมกันสร้างกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

READ  5 เทคนิคบริหารเวลา เพิ่มอัตราความก้าวหน้าให้ชีวิต

8.จัดหาบุคคลากรภายนอกเพื่อการพัฒนากรอบงาน – Dana Manciagli, Job Search Master 

หาผู้เชี่ยวชาญภายนอกในสาขาที่จำเป็นเพื่อทำการจัดการวิกฤต หากนี่ไม่ใช่ความสามารถหลักของบริษัทของคุณ ควรลงทุนในกรอบและแผนงาน จากนั้นมอบข้อมูลส่งต่อให้ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ช่วยกำหนดแผนการให้เหมาะสม

และอย่าลืมทำให้มั่นใจว่า แผนจะตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สุดท้ายมอบหมายงานให้กับทีมงานภายในโดยเผยแพร่แผนให้กับบุคลากรทุกระดับในบริษัท และอย่าลืมอัปเดตแผนทุกปี

9.วางแผนในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ไม่ได้รู้จักดีนัก – Faith Fuqua-Purvis, Synergetic Solutions LLC

แผนการจัดการวิกฤตที่ดี จำเป็นต้องครอบคลุมหลายมิติ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณกำลังประเมินความต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ, ผลกระทบของกระบวนการ และผลกระทบของผู้คน ตระหนักว่า คุณไม่สามารถวางแผนสำหรับทุกสิ่งได้

รวมถึงการตรวจสอบว่า วิกฤตเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร จากนั้น จึงค่อยเปลี่ยนใหม่เมื่อมีการเปิดเผยรายละเอียด ไม่ใช่แค่การกระทำที่คุณต้องทำ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีที่คุณวางแผนที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ไม่รู้จักดีนัก

10.กระบวนการจัดทำเอกสารและการฝึกซ้อม – Shelley Smith, Premier Rapport

การถามคำถามยาก ๆ เพื่อดูว่ามีอะไรอยู่อีกด้านหนึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ถามตัวเองเกี่ยวกับข้อผิดพลาด, ปัญหา และเรื่องที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นวางแผนสำหรับพวกเขา ขั้นตอนและกระบวนการจัดทำเอกสาร,

จัดการแสดงบทบาทสมมติ และการฝึกซ้อมที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสมาชิกในทีมหลายคน โดยจะรับบทบาทหน้าที่แตกต่างกันในวิกฤต เพื่อเพิ่มแรงผลักดันในการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิพากษ์

11.ทำงานย้อนกลับในแผนการที่จะล้มเหลว – Jay Steven Levin,  WinThinking

กำหนดทุกสิ่งที่คุณต้องการ เพื่อไม่ให้ล้มเหลว จากนั้น พิจารณากับคนของคุณว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้คุณล้มเหลว

จากนั้นก้าวไปสู่การปฏิบัติ เพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ดูว่าความคิดสร้างสรรค์ของผู้คน ช่วยให้ความพยายามของคุณทะยานไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร จากนั้น ดูว่าทีมของคุณมารวมกันแล้วเป็นอย่างไร

12.แบ่งปันแผนการสื่อสารกับทุกทีม – Izabela Lundberg, Legacy Leaders Institute

การสร้างแผนการสื่อสารที่ชัดเจน ซึ่งระบุสมาชิกในทีมที่เกี่ยวข้องและบทบาทของพวกเขาเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการจัดการวิกฤต

แผนนี้ควรรวมเข้ากับแผนฉุกเฉินและควรแชร์กับสมาชิกในทีมทุกคน ผลลัพธ์ที่ต้องการจะเกิดขึ้นเร็วมากเท่าไหร่ นั่นขึ้นอยู่กับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน

13.รับผิดชอบต่อทุกวิกฤต – Lori Harris, Harris Whitesell Consulting

รับผิดชอบต่อวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น, มีโอกาสเกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้น การผัดวันประกันพรุ่งและการละเลยจะมีค่าใช้จ่ายสูง การพัฒนากลยุทธ์การจัดการวิกฤตเกี่ยวข้องกับการวิจัย, ความเป็นผู้นำ และการสร้างทีม เพื่อให้แน่ใจว่ามีการตอบสนองและความยืดหยุ่น รวมถึงระบบและกระบวนการในการใช้กลยุทธ์และเพิ่มความสามารถสูงสุด

14.ทดสอบความเครียดเป็นประจำ – Karan Rhodes, Shockingly Diffrent Leadership 

กลยุทธ์การจัดการวิกฤตที่ดี ควรได้รับการทดสอบความเครียดอย่างน้อยปีละครั้ง ให้ผู้นำองค์กรและทีมงานวิกฤตทบทวนกลยุทธ์โดยทำเหมือนการซ้อมดับเพลิงเพื่อหาช่องว่างในแผน นอกจากนี้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า

พนักงานใหม่, ผู้จัดการ และผู้นำทุกคนได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการวิกฤตที่คุณวางไว้หรือไม่ หลังจากนั้น พวกเขาจะเข้าใจว่า บทบาทของตนจะเป็นอย่างไร ในกรณีที่ธุรกิจต้องเจอวิกฤต

 

 

Resource : https://www.forbes.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า