ทำไมคนต้องพุ่งไปกินที่ร้านนั้น
ทั้งที่หลายเมนูก็เหมือนกับร้านอื่นๆ
ทำไมเฟอร์นิเจอร์แบรนด์อื่นก็สวย
แถมทนทานแต่ลูกค้าจึงคิดถึงแบรนด์
เดียวเมื่อคิดจะแต่งบ้าน
.
“จุดขายหนึ่งเดียว” ที่เขามีไม่ว่าจะเป็น
“เมนูยืนหนึ่ง” หรือ “ประสบการณ์
ความคูลมินิมัล” ที่มีเจ้าอื่นลอกเลียน
เป็นร้อยก็ไม่ได้อารมณ์เดียวกัน
.
ธุรกิจจะสร้างภาพจำชัดเจน
ไม่ต้องเป็นอันดับหนึ่งในทุกเรื่อง
แค่เลือกปลุกปั้นจุดขายเฉพาะ
(Unique Selling Point)
ให้เป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์
.
นั่นคือกุญแจของการทำยอดขายเปรี้ยงปร้าง
แบบแรงไม่ตกในระยะยาว โดยไม่ต้องกระหน่ำ
โปรโมทสินค้าหรือใช้กลยุทธ์หั่นราคา
.
คุณสโรจ เลาหศิริ
นักวางกลยุทธ์การตลาดที่ให้คำปรึกษา
องค์กรชั้นนำมากกว่า 14 ปี
แนะนำการสร้างจุดขายเฉพาะตัว
ให้สินค้าและบริการคุณโดดเด่นยืนหนึ่ง
คู่แข่งลอกเลียนแบบอย่างไรก็ไม่สำเร็จ
ลูกค้าติดหนบอยากซื้อซ้ำ
และอยากบอกต่อเรื่อยๆ
.
.
เราควรถามตัวเองต่อธุรกิจ แบรนด์ สินค้า
หรือโครงการที่เราทำ หรือวางแผนว่า
เราจะทำให้เรามี “ทีเด็ด” อะไรที่สามารถ
เอาชนะคู่แข่งได้ และเป็นแต้มต่อ
ทางธุรกิจที่ทำให้เราสามารถสร้าง
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน
.
จากทีเด็ดที่ปลุกปั้นจนกลายมาเป็นท่าไม้ตาย
จุดขายแท้จริงของธุรกิจที่ยากจะเลียนแบบ
และตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง
หาใช่ข้อได้เปรียบที่เราคิดไปเอง
.
การปลุกปั้น Selling Advantage นำไปสู่
Unique Selling Point คือ ก้าวแรกที่สำคัญ
มากที่สุดในการประสบความสำเร็จทางธุรกิจ
.
.
1.ลูกค้าตัดสินใจซื้อเพราะอะไร
พื้นฐานของทุกๆการแลกเปลี่ยนของสองสิ่ง
ที่อยู่บนความพึงพอใจที่ได้รับสิ่งนั้นเรียกว่า
“การแลกเปลี่ยนคุณค่า” (Value)
.
สิ่งใดจะมีคุณค่า สิ่งนั้นจำเป็นต้อง
มีความสำคัญ (Importance)
มีประโยชน์ (Usefulness)
และมีความคุ้มค่า (Worth)
.
น่าพอที่เราจะยินดีเสียอะไรบางอย่าง
ไปเพื่อแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่างมา
.
เราไม่ได้ตัดสินใจด้วยการใช้เหตุผล
ไปซะหมด แต่มันคือเรื่องของอารมณ์
ความรู้สึก การที่สิ่งนั้นทำให้เรารู้สึก
บางอย่าง จากนั้นเราจึงค่อยนำเอา
เหตุผลต่าง ๆมาซัพพอร์ตในการตัดสินใจ
.
คุณค่าValue Stick นั่นคือ Willingness to Pay
(สิ่งที่ลูกค้ายินดีจ่าย)
กับ Actual Price (ราคาที่จ่ายจริง)
.
ส่วนต่างระหว่าง Willingness to Pay และ
Actual Price ยิ่งมีมาก ลูกค้าก็จะรู้สึกคุ้มค่า
มากขึ้นตามไปด้วย
.
การที่เราสามารถหา Willingness to Pay
ของเป้าหมายของเราได้ย่อมเข้าใจว่า
คุณค่าของเราปัจจุบันมีเท่าไหร่
ถ้าอยากเพิ่มก็ทำได้แค่ 2 อย่างคือ
ลดราคา ไม่ก็เพิ่ม
.
Willingness to Pay หรือเปลี่ยนเป้าหมาย
หาคนที่ยินดีจ่ายมากกว่า หรือการเปลี่ยน
Target นั่นเอง
.
การเพิ่ม Willingness to Pay เพื่อสร้างคุณค่า
ให้เกิดสูงสุด ซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจ
ความภักดี เราเรียกว่า “Value Creation”
.
คือ >>>> การเพิ่มคุณค่า
ของสินค้าและบริการให้มากขึ้น
ทั้งในแง่ของคุณภาพด้านอรรถประโยชน์
ที่จะต้องได้ (Function Value)
และคุณค่าด้านอารมณ์ (Emotional Value)
.
.
2.Unique Selling Point (USP) คืออะไร
จุดขายเฉพาะคือ ปัจจัยหลักที่สร้าง
ความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างมีคุณค่า
ต่อลูกค้าของสินค้า บริการ และบุคคล
.
คุณลักษณะ 4 อย่างของจุดขายเฉพาะ
ประกอบไปด้วย
เป็นจุดต่างที่มีคุณค่าและมีความหมาย
(Valuable Differentiation)
เป็นเหตุผลที่ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
(Repeat Buying Reason)
ลอกเลียนแบบไม่ได้ในระยะอันสั้น
(Difficult to Copy in a Short Period)
ต้องทำให้เรานึกถึงหน้าคู่แข่ง
แบบชนตรงๆไม่ค่อยออก
(Hard to Define Direct Competitors)
.
พวกเขามีจุดขายเฉพาะที่#เล่มนี้เราว่าดี
อย่างเดียวที่คว่ำล้มได้ยาก เปรียบเสมือน
“ท่าไม้ตาย” ที่ใช้ปิดฉากสมรภูมิหรือ
ผู้ท้าชิงรายใหม่ๆที่งัดมาใช้ทีไรก็ชนะได้ทุกที
.
ก็เหมือนกับธุรกิจอาหาร ขอแค่คุณมีเมนูที่เป็น
จุดขายเฉพาะเพียงหนึ่งอย่างเท่านั้น
ก็สามารถเติบโตไปได้ เช่น ไข่เจียวปูเจ๊ไฝ
หรือหมูทอดเจ๊จง
.
.
3.พีระมิดแห่งจุดขายเฉพาะ
(The Pyramid of Unique Selling Point)
ประกอบไปด้วยลำดับขั้น 4 ลำดับด้วยกัน
Losing Point ขอบคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ
เป็นจุดที่คู่แข่งมี แต่เราไม่มี เรียกปฏิกิริยานี้ว่า
“Draw Back” หรือ
“ถูกถอนจากการเป็นทางเลือกของลูกค้า”
Parity Point จุดเทียบเท่า คือเรามี คู่แข่งมี
และเป็นจุดที่ลูกค้าต้องการ
Selling Advantage Point จุดที่เรามีเหนือกว่า
คู่แข่ง ทำให้เราได้เปรียบในการสร้างคุณค่า
แต่ยังไม่ถึงกับเป็นจุดขายเฉพาะ
Unique Selling Point คือจุดขายที่โดดเด่น
เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สุด เข้าคุณลักษณะ
ครบถ้วนของ Unique Selling Point
.
วิธีการใช้งานเพื่อเพิ่มความเข้าใจ
ในพีระมิดนี้ให้มากขึ้น
ไม่จำเป็นที่พอเราจัดวางแล้วต้องเจอ USP
เลยไม่ใช่ธุรกิจที่หาเจอตั้งแต่แรก
แต่ในการทำธุรกิจอย่างน้อยควรจะต้องมี
Selling Advantage Point เพื่อการแข่งขัน
หากเปลี่ยนตลาดเป้าหมาย ลักษณะของ
พีระมิดก็จะเปลี่ยนไป
USP สร้างได้โดยเลือกหยิบมาจาก
Selling Advantage Point แนะนำไปพัฒนา
ตลอดตามกระบวนการสร้างUSP
USP ต้องมีแค่หนึ่งอย่างเท่านั้น
ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งอารมณ์และเหตุผล
เมื่อเราเจอ Losing Point สิ่งที่เราควรจัดการ
ต่อไปคือดูว่าอะไรมีผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุด
เพื่อที่จะวางแผนจัดการ
พีระมิดสามารถขยับขึ้นและลงได้
ตามระยะเวลาที่เปลี่ยน แรกๆสิ่งที่เรามี
อาจจะเป็นจุดขาย แต่อยู่มาวันนึงจะมีคน
สามารถทำได้ดีเทียบเท่า ก็อาจจะถูกถอย
กลับมาเป็นแค่Selling Advantage Point
หรือ Parity Point ก็ยังได้
.
.
4.กระบวนการสร้างพีระมิดแห่งจุดขายเฉพาะ
ขบวนการสร้างจุดขายเฉพาะเกิดถ้าไม้ตาย
ของธุรกิจ มีลำดับขั้นตอนในการสร้าง
4 ขั้นตอนหลักดังนี้
การแบ่งกลุ่มของลูกค้าเป็นเซกเมนต์
และการเลือกกลุ่มเป้าหมายมุ่งหวัง
(Segmenttation & Targeting)
.
ในการแบ่งเซกเมนต์ มีวิธีการดูว่าเซกเมนต์
ที่เราแบ่งมาดีพอหรือยัง ซึ่งมีหลักการ
ในการแบ่งที่เราสามารถนำไปพิจารณา
ได้ง่ายคือหลัก ISARA
• Identifiability ต้องระบุและอธิบาย
ได้อย่างเห็นภาพชัดเจน มีคุณลักษณะที่ไม่คลุม
คืออะไรแยกออกจากแต่ละกลุ่มได้อย่างขาดกัน
• Substantiality ต้องมีขนาดมากพอ
ที่เราจะทำกำไรได้ ขนาดเป็นได้ทั้งจำนวนคน
ที่มาหรือคนน้อยแต่กำลังซื้อสูง
• Accessibility ตั้งค่าพูดถึงได้ ต้องหาเจอ
เราต้องนึกออกว่าจะโฆษณาไปถึงเขาได้อย่างไร
• Responsiveness ตั้งค่าการได้ว่ากลุ่มนี้
จะมีการตอบสนองต่อการนำเสนอสินค้า
และบริการ
• Actionable ต้องมีความพร้อม
ในการปฏิบัติการต่อกลุ่มนี้
การเชื่อมโยงคุณค่าระหว่างเรา
และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
(Value proposition Mapping) เป็นเครื่องมือ
จาก Strategyzer ที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย
และใช้ทั่วไป ต้องช่วยให้เราสามารถมองเห็น
และจัดการลำดับความสำคัญต่างๆ
และช่วยให้เราเข้าใจว่าวันนี้ลูกค้าในกลุ่ม
ที่เราโฟกัสต้องการอะไร มีปัญหาอะไร
อะไรที่เขาอยากได้ แล้วย้อนกลับมาดู
ฝั่งของเราว่ามีคุณค่าที่เขาตามหาหรือยัง
มีมากน้อยแค่ไหน ครบหรือเปล่า
ถ้าจะพัฒนาสามารถพัฒนาอะไรเพิ่มได้บ้าง
การวิเคราะห์ความเหมือนและแตกต่าง
จากตลาดด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์
พื้นที่แห่งชัยชนะ (Winning Zone Analysis)
.
คุณลักษณะของคู่แข่งส่วนสำคัญคือ
พวกเขาเล็งลูกค้ากลุ่มเดียวกับเรา
และพวกเขาคือตัวเลือกของลูกค้า
.
การเคลื่อนที่หรือเติบโตของพวกเขา
ส่งผลกระทบโดยตรงกับยอดของเรา
โดยคู่แข่งมี 2 ประเภท
• คู่แข่งโดยตรง (Direct Competitors)
คือคู่แข่งที่ขายสินค้าเหมือนกันหรือใกล้เคียง
กับเรามากๆ เป็นตัวเลือกของลูกค้าโดยตรง
• คู่แข่งทางอ้อม (Indirect Competitors)
คือคู่แข่งที่อาจจะไม่ได้ขายสินค้า
อยู่ในประเภทเดียวกับเรา แต่สามารถ
แก้ปัญหาเดียวกันหรือช่วยให้ลูกค้า
บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้…
การสร้างพีระมิดแห่งจุดขายเฉพาะ
(The USP Pyramid™ Creation)
ขั้นตอนนี้คือการนำสิ่งที่เราวิเคราะห์
แล้วใส่ลงใน Value Proposition Mapping
และ Winning Zone
ทั้งหมดมาวางลงในพีระมิดแต่ละชั้น
โดยเป้าหมายของการใช้ทั้งสองเฟรมเวิร์ก
ควบคู่กันนั้นจะแตกต่างกันเล็กน้อย
.
การนำ Value Proposition Mapping มาใส่
เราจะพิจารณาจากสิ่งที่เราสามารถให้คุณค่า
กับลูกค้าได้ แต่สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง
จะประเภทสินค้าชนิดนั้นอยู่แล้วหรือไม่
ถ้าเป็นสิ่งที่คาดหวังอยู่แล้ว
เราก็จำเป็นต้องใส่ใน Parity Point
.
แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งที่จะสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้
หรือไม่มีสิ่งที่เป็นพื้นฐานของประเภทสินค้านั้นๆ
เราจำเป็นต้องใส่ลงไปใน Losing Zone ทันที
โดยไม่ต้องไปดูคู่แข่ง
.
.
5.ประเภทของพีระมิดแห่งจุดขายเฉพาะ
รูปแบบทั้ง 6 ของพีระมิดที่เราสามารถพบได้
บ่อยๆของผู้เล่นที่อยู่ในแต่ละธุรกิจ
The Star หรือสินค้าดาวเด่น เป็นรูปแบบของ
พีระมิดที่แข็งแรงที่สุด เพราะมีทาง USP
และ Selling Advantage ที่สามารถแข่งขันได้
โดยสินค้าและบริการที่มีลักษณะนี้จะถือว่า
มีผลประกอบการที่มีศักยภาพในการเติบโต
Commodity หรือสินค้าประเภทโภคภัณฑ์
ใช้แทนกันได้ เป็นรูปแบบของพีระมิดที่พบได้มาก
ในสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค สินค้า FMCG
(Fast Moving Consumer Goods)
ที่จำหน่ายเร็วมีความแตกต่างกันไม่มาก
และใช้แทนกันได้เกือบหมด
Close Competition หรือสินค้าที่แข่งขันกัน
แบบหมัดต่อหมัด ต่างคนต่างมีจุดขาย มีจุดเด่น
ที่ได้เปรียบเหมือนมีจุดด้อยที่เสียเปรียบ
อย่างชัดเจน จนผู้บริโภคต้องเปรียบเทียบกันดีๆ
น้อยแต่ละคนไม่ได้มีจุดขายเฉพาะ
อย่างเป็นรูปประธรรม หรือถ้ามีก็น้อยมากจริงๆ
Startup หรือสินค้าที่เพิ่งเกิดได้ไม่นาน
และเริ่มก่อร่างสร้างตัวเพื่อเติบโต
โดยยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องพัฒนาต่อ
แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็พบกับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น
หรือบรรดาสตาร์ทอัพต่างๆที่เพิ่งเกิดขึ้นมา
และทำตลาดในการเกณฑ์ผู้ใช้งาน โดยรูปแบบนี้
จุดที่เด่นชัดก็คือแต่ละแพลตฟอร์มจะมี
Selling Advantage Point ที่โดดเด่น
และเพียงพอที่จะจัดตลาดลูกค้า
ของตัวเองและแข่งขันได้
The Exclusive หรือสินค้าที่ใกล้เคียงคู่แข่งมาก
แต่มีจุดขายเฉพาะที่เกิดจากนวัตกรรม
หรือสิทธิ์ถือครองเพียงผู้เดียว เป็นสินค้า
ที่จริงแล้วใกล้เคียงกับความเป็น Commodity
หรือมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากในคู่แข่ง
แต่ละราย แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่สินค้า
หรือบริการนั้นถือครองสิทธิ์ในการใช้
ได้แต่เพียงผู้เดียว…
The Nicheหรือสินค้าที่เฉพาะทางมากๆ
รูปแบบใกล้เคียงกับแบบที่ 5 แต่แตกต่างกัน
ตรงที่ Niche จะมี Losing Point
ค่อนข้างเยอะกว่า เพราะถ้าคุณชอบ
ก็คือชอบเลย แต่ถ้าเกลียดก็คือเกลียดเลย
.
ทำให้มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย เมื่อเทียบกับสินค้า
ในประเภทใกล้เคียงกันที่ตลาดกว้างกว่า
.
.
6.สมการสร้างความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
แรงบันดาลใจเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ยังคิดไม่ออก
ว่า จะเอาอะไรมาเป็นจุดขายเฉพาะของเรา
กลยุทธ์สร้างบ้านได้เปรียบทางการตลาด
แข่งขัน มีด้วยกันทั้งหมด 6 อย่าง
สร้างความแตกต่างที่มีคุณค่าในแบบที่
ไม่เคยมีใครในพื้นที่ที่เราแข่งกันอยู่
การทำให้คุณค่าที่ลูกค้าได้รับกับราคา
ที่จ่ายถูกกว่ามาตรฐานของตลาด
ด้วยการบริหารต้นทุนให้สามารถแข่งขัน
ราคาได้โดยไม่เข้าเนื้อ และต้องไม่ใช่การตัด
ราคาแบบทำลายคู่แข่ง
ใช้ความรวดเร็วในการสร้างความได้เปรียบ
หรือใช้ความสามารถในการปรับตัว
ตามความต้องการ
การใช้ข้อมูลที่คนอื่นไม่มีหรือเทคโนโลยี
เฉพาะทางในการขับเคลื่อนธุรกิจ
และสร้างจุดเด่น
การทำให้เข้าถึงได้ง่าย ใช้ง่าย สะดวก
ไปไหนก็เจอ
การร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ๆหรือแม้กระทั่ง
ลูกค้า เพื่อสร้างความได้เปรียบในแง่มุมต่างๆ
.
ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mixes)
การตลาดเราจะเรียนกันอยู่ที่ 4Ps
คือ Product Price Place Promotion
.
แต่เพื่อความละเอียดและการคิดต่าง
ให้เห็นภาพ จะขอเอาโมเดล 9Ps มาใช้งาน
โดยเพิ่ม Package Process People
และ Physical Evidence เข้าไป
.
.
7.หากไม่มีจุดขายเฉพาะก็ต้อง หากสร้างแล้ว
ไม่ใช่ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการสร้าง
จากภายในสู่ภายนอก หยิบจุดขายเฉพาะ
มาทำทันทีโดยที่ระบบข้างในยังไม่พร้อม
ดังนั้นการสร้างจุดขาย องค์ประกอบในการ
สร้างจุดขายเฉพาะสำหรับธุรกิจและองค์กร
จะต้องเริ่มต้นจากการเลือกสิ่งที่จำเป็นก่อน
โดยดูจากองค์ประกอบ 2 เรื่องคือ
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดต่อธุรกิจ
(Impact) ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ
ความสำคัญของจุดขายดังกล่าวกับลูกค้า
×ความแตกต่างจากคู่แข่ง
×การคาดการณ์รายได้และส่งผลต่อธุรกิจ
ความเป็นไปได้ในการสร้าง (Feasibility)
ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยคือ
ระยะเวลาที่คาดว่าจะใช้ ×เงินที่ต้องใช้
×ความยุ่งยากในการจัดการ
×ความพร้อมขององค์กร
.
จากนั้นพยายามเลือกจุดที่มีผลกระทบ
ต่อธุรกิจสูงและมีความเป็นไปได้
ในการสร้างสูง หากมีหลายอย่างตกลง
ในช่องนี้ให้ตัดสินใจให้เลือก
ทางที่ยากกว่าเสมอ…
.
พยายามอย่ายึดติดกับความสำเร็จในอดีต
จุดขายเฉพาะที่เคยใช้ได้ผลกับคู่แข่งรายเดิมๆ
ความเชื่อเดิมๆ หรือผลสำรวจความคิดเห็น
ที่ไม่ได้อัปเดตนานแล้ว
.
แต่มันใช้เวลาให้มากขึ้นกับการจับสัญญาณ
การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อม
สำหรับการปรับตัว
.
.
8.การสื่อสารพีระมิดแห่งจุดขายเฉพาะ
ที่สร้างผลกระทบ
หลักการการสื่อสารอย่างหนึ่งคือ
ลูกค้าไม่ได้อยากฟังทุกเรื่อง แต่อยากฟัง
แค่ว่า “คุณมีดีอะไร” “ทีเด็ดคืออะไร”
“ทำไมฉันต้องซื้อของคุณ ไม่ใช่ของคู่แข่ง”
.
ถ้าเรามีจุดขายเฉพาะแล้ว จงรีบสื่อสารให้ดี
และโฟกัสไปที่จุดขายเฉพาะนั้นเป็นหลัก
เพราะหากเราสื่อสารกระจัดกระจายมากเกินไป
.
นำส่วนที่ไม่แตกต่างมาทำโฆษณา พยายามยัด
ทุกอย่างลงไปในโฆษณาในเวลาที่จำกัด
แค่ 30 วินาที 15 วินาที หรือในคอนเทนต์
ใน Facebook Real Tiktok และ YouTube Short
ไม่มีทางที่คนจะจำได้หมด
.
หากเรามีจุดขายที่ดีแล้วจงทุ่ม แรงกาย แรงใจ
แรงเงิน ในการสร้างให้ตัวเองเป็น Top of mind
หรือแบรนด์ลำดับแรกๆที่ลูกค้านึกถึง
เวลาพูดถึงจุดขายนี้ ด้วยการสื่อสารที่มี
ผลกระทบและสม่ำเสมอนั่นเอง
.
.
9.สร้างจุดขายเฉพาะแบบมวยรอง
การเป็นมวยรองหรือการเป็น Challenger Brand
ในหลายครั้งมันดีจะตาย เพราะมวยรองนั้น
มีพลังมากกว่าที่เราคิด
• เรามีพลังของคนตัวเล็ก คล่องตัว มีความยืดหยุ่น
ปรับตัวได้ไว สามารถนำความเร็วมาเป็นจุดขายได้
• เรามีพลังของฉันได้ลอง ทุกสายตาต่างจับจ้อง
พอเป็นตัวรองก็จะมีพลังของการได้ลอง
อาจค้นพบท่าไม้ตายใหม่ๆที่สามารถโค่นยักษ์ได้
แล้วการล้มของเราเสียงไม่ดัง และเจ็บไม่นาน
ก็พร้อมลุกขึ้นมาลุยต่อได้
• เรามีพลังที่จะโฟกัส จับสัมผัสความต้องการ
และโฟกัสการสร้างคุณค่าที่เจ้าตลาดไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้
• เรามีพลังของความกระหาย จะแปรเปลี่ยน
เป็นพลังในการขับเคลื่อน หากคนในองค์กร
มีทัศนคติของผู้ท้าชิง
• เรามีพลังของการที่เราไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
เพราะมีทรัพยากรจำกัด ทั้งเงิน คน และเวลา
แต่ความจำกัดนี้มักจะเป็นสินทรัพย์ให้เรา
ได้สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆเสมอ
.
.
10.ทำอย่างไรถ้าจุดขายเฉพาะของเราถูกก๊อปปี้
การลอกเลียนแบบอาจเป็นรูปแบบของคำชม
ที่จริงใจที่สุดจากคนธรรมดาสามัญ
ที่มีให้ต่อคนที่ยิ่งใหญ่กว่า
.
เราทำอะไรได้บ้างถ้าถูกก๊อปปี้จุดขายเฉพาะไป
• ทำใจยอมรับว่านี่คือสิ่งที่คาดการณ์อยู่แล้วว่า
เราจะต้องเจอ
• กลับมาดูจุดขายเฉพาะที่เราวางไว้
ว่าแข็งแรงพอไหม
• ศึกษาว่าจุดที่โดนนำจุดขายเฉพาะไปนั้น
เป็นเพราะการสื่อสารหรือการถูกนำไปปฏิบัติจริง
• พัฒนาจุดขายเฉพาะของเราให้แหลมคมมากขึ้น
หรือพัฒนาจุดขายเฉพาะตัวอื่นขึ้นมา
เพื่อแข่งขันในระยะยาว
• หากเป็นเรื่องใหม่ที่เราคิดค้นขึ้นมาได้
ให้จดสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ทุกครั้งกันไว้ก่อน
• ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม อย่าไปแข่งกันที่ราคา
• โฟกัสที่ลูกค้าที่สำคัญที่สุดของเราเสมอ
• จงขับเคลื่อนอย่าหยุดนิ่งและสร้างสรรค์อยู่เสมอ
.
จงอย่าลืมว่าจุดขายเฉพาะหรือถ้าไม้ตายนั้น
มีอายุขัยของมัน จงเคลื่อนที่ จงพัฒนา
จงสร้างสรรค์ และจงอย่าหยุดพยายาม