เพราะ การบริหารเวลา คือ การบริหารชีวิต ยิ่งเราควบคุมเวลาได้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งควบคุมชีวิตเราได้มากเท่านั้น
เลือกหัวข้ออ่าน
การบริหารเวลา เพื่อลดความเครียด
เมื่อเราควบคุมเวลาได้ แปลว่าเรากำลังส่งสัญญาณให้ตัวเองและคนรอบข้างทราบว่า เราเคารพเวลาของเราและเคารพตนเอง
การทำเช่นนี้เราจะลดความวิตกกังวลลง ยิ่งเราจัดการชีวิตได้มากเท่าไร เราก็ยิ่งรู้สึกไม่วุ่นวายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหากเราเครียดน้อยเท่าไร เราก็ยิ่งทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
การบริหารเวลา เมื่อต้อง work from home
เมื่อคุณต้องทำงานจากที่บ้าน การจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งมีความสำคัญมาก หากไม่มีการควบคุมเวลา จะส่งผลเสียต่อสุขภาพและในที่สุดงานที่ได้จะไม่มีประสิทธิภาพ มีหลายวิธีในการจัดการเวลาที่บ้าน เช่น
- สร้างความแตกต่างระหว่างพื้นที่ทำงานกับพื้นที่ส่วนบุคคล และห้ามใช้งานในพื้นที่ส่วนบุคคล อาจจะมีม่านกั้นหรือแนวกั้นห้อง
- ปิดแล็ปท็อปและโทรศัพท์เป็นเวลา 1 ชั่วโมงในระหว่างวัน แล้วออกไปเดินเล่น
- มีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับการทำงานระหว่างมื้ออาหาร (อะไรที่ห้ามทำ)
- มีเวลาในการทำงานที่ชัดเจน
- สื่อสารกับทุกคนในบ้าน เพื่อให้แต่ละคนรับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ (สำคัญที่สุด)
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีจัดการเวลาของคุณให้มีประสิทธิภาพ
1.สร้างระบบที่คุณสนุกกับการใช้งาน
วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพคือการสร้างระบบที่เหมาะกับคุณ และทำให้คุณรู้สึกดีทุกครั้งที่ดู ไม่ว่าจะเป็นการจดใส่กระดาษ หรือพิมพ์ลงในแอป Calendar
สิ่งสำคัญคือ คุณต้องชอบระบบของคุณ เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมและไม่หนีจากมัน หากคุณไม่ชอบระบบที่คุณใช้อยู่ คุณจะต่อต้านการเปิดและใช้งาน
2.เป็นจริงได้
ต้องเป็นสิ่งที่คุณทำได้ภายใต้กรอบเวลาที่คุณกำหนดไว้ การจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง การจัดการความคาดหวังตามความเป็นจริง อาจจะแบ่งย่อยเป็นชั่วโมงต่อวัน ทำงานวันละนิด จนกว่างานจะเสร็จ
3.เลือกช่วงเวลาที่คุณทำงานได้ดีที่สุด
คุณต้องแบ่งเวลาในแต่ละวันเพื่อจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีโครงการที่ต้องใช้สมาธิมากและคุณทำได้ดีที่สุดในตอนเช้า ให้แบ่งเวลาในตอนเช้าเพื่อทำโครงงานนั้น แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียง 3 ชั่วโมงก็ตาม
4.เพิ่มเวลาพักสมอง
หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มผลผลิตคือ การเติมเวลานั้นด้วยสิ่งที่เบากว่า 2-3 อย่างในรายการสิ่งที่ต้องทำ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จ แต่อาจใช้เวลาไม่มาก เช่น การส่งข้อความ ตอบอีเมล หรือโทรออก
5.กำจัดสิ่งรบกวน
สิ่งนี้นำไปสู่การผัดวันประกันพรุ่ง และเป็นเรื่องทางอารมณ์มากกว่าเรื่องลอจิสติกส์ Tim Pychyl รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ Carleton University และบล็อกเกอร์ที่ Psychology Today กล่าวว่า “การผัดวันประกันพรุ่งไม่ใช่ปัญหาการบริหารเวลา แต่เป็นปัญหาการจัดการอารมณ์”
การผัดวันประกันพรุ่งเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกหนักใจหรือวิตกกังวล ซึ่งวิธีหนึ่งแก้ไขคือ การแบ่งสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ เมื่อเราทำอะไรทีละขั้น จะช่วยให้ก้าวไปข้างหน้า สร้างแรงผลักดัน และบรรเทาความรู้สึกกลัวและความวิตกกังวลนั้นในที่สุด
เคล็ดลับจาก Robby Slaughter ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.บันทึกความจำด้วย “Ubiquitous Capture”
เป็นการเปลี่ยนความทรงจำให้เป็นการบันทึกตามความรู้สึกในตอนนั้นก่อนที่จะลืม เพื่อเก็บไว้ดูภายหลัง หากคุณไม่มีการจดบันทึก มันจะส่งผลต่อจิตใจ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ซึ่งวิธีนี้นอกจากเป็นการบันทึกเรื่องราวแล้ว ยังเป็นการฝึกฝนการถ่ายทอดข้อมูลไปในตัวอีกด้วย
2.โฟกัสที่งาน ไม่ใช่อารมณ์ของงาน
เราพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่ต้องการทำอยู่บ่อยครั้ง อย่ากังวลกับอารมณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน แต่ให้เน้นที่เนื้องานจริงและการทำงานให้เสร็จ
3.กำหนดกิจวัตรสำหรับการประมวลผลสิ่งต่าง ๆ
การทำเป็นกิจวัตร เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเตือนตัวเองว่า ต้องทำอย่างไรเมื่อคุณมีสิ่งที่ต้องจดจำ หากคุณรู้ว่าทุกครั้งที่คุณมีงาน ให้เขียนงานนั้นในแอปหรือในกระดาษ และทำให้ระบบของคุณกลายเป็นกิจวัตร ยิ่งเราควบคุมเวลาได้มาก เราก็จะมีประสิทธิผลมากขึ้นและรู้สึกเติมเต็มมากขึ้นในเวลาเดียวกัน
Resource: https://management30.com/