Search
Close this search box.
Sleep

100 เคล็ดลับยกระดับคุณภาพการนอน

“ความผิดปกติด้านการนอนเป็นเรื่องน่ากลัว!” เมื่อได้ยินคำว่า “ความผิดปกติด้านการนอน” หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงอาการที่ส่งผลกระทบเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อชีวิตประจำวัน เช่น เหนื่อยง่ายหรือมีอาการหลงลืมขั้นรุนแรง แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและสมองอย่างใหญ่หลวง มาทำความรู้จักกับความผิดปกติด้านการนอนที่น่ากลัวกัน จากหนังสือ 100 เคล็ดลับยกระดับคุณภาพการนอน

1.ความจริงแล้วในทุก ๆ 9 คนจะมี 1 คนที่มีปัญหานอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับเกิดจากพันธุกรรมพบได้น้อยกว่าครึ่ง ส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาภายนอก สาเหตุคือกรรมพันธุ์จากพ่อแม่ แต่โรคนอนไม่หลับที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าวมีประมาณ 28-45% ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับเกินกว่าครึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก สาเหตุหลักคือสมองอยู่ในภาวะตื่นตัวเนื่องจากความเครียดส่งผลให้ระบบซิมพาเทติกทำงานมากเกินไป

2.รู้สึกง่วงโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกันเป็นเวลานาน

อาจเป็น “ภาวะนอนหลับมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ” แม้ตรวจสอบการนอนของคนที่มีภาวะนอนหลับมากผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุก็ไม่พบผิดปกติทั้งในคลื่นสมองหรือระบบประสาทอัตโนมัติระบบการตื่นตัวยังทำงานปกติ เนื่องจากยังคงหาสาเหตุและวิธีการรักษาของภาวะดังกล่าวไม่พบ จึงจำเป็นต้องรักษาตามอาการโดยพึ่งยาที่กระตุ้นการตื่นภาวะนี้มักพบในผู้ที่มีอายุ 10-29 ปี บางกรณีมีอาการตอนกลางคืนนาน 10 ชั่วโมงขึ้นไป และบางกรณีก็ไม่มีอาการดังกล่าวทั้ง 2 กรณีหลังจากตื่นนอนก็ยังคงรู้สึกเหมือนยังไม่ตื่น

3.โรคลมหลับที่ผู้ป่วยมีอาการจู่ ๆ ก็หลับในเวลาที่คาดเดาไม่ได้

เป็นโรคทางระบบประสาทชนิดหนึ่งที่มักเกิดในคนอายุ 10-20 ปีในสหรัฐอเมริกาจะพบทุก 2,000-4,000 คนและในญี่ปุ่นพบในทุก 600 คน อาการหลักของโรคคือ ความรู้สึกง่วงนอนอย่างรุนแรงระหว่างวัน ต่างจากความง่วงจากการนอนไม่พอ ตรงที่ผู้ป่วยรู้สึกง่วงแล้วหลับทันทีแม้จะพูดคุยหรือเดินอยู่

และอาการที่รุนแรงกว่านั้นคือ”อาการผล็อยหลับ”(Cataplexy) ที่กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอ่อนแรงกะทันหันจนทำให้ล้มลงได้ ลักษณะเด่นของอาการผล็อยหลับอีกอย่างคือเกิดขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นทางอารมณ์ไม่ว่าเป็นอารมณ์ในทางบวกหรือทางลบ เช่นบางกรณีผู้ป่วยจู่ๆก็หลับขณะที่กำลังหัวเราะหรือพูดคุยสนุกสนานอยู่

4.อาการหยุดหายใจหลายครั้งขณะหลับ

ทำให้เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตและเบาหวานสูง กล้ามเนื้อส่วนบนของทางเดินหายใจจะคลายตัว ทำให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอ ทางเดินหายใจจึงแคบลง อาการของโรคหยุดหายใจขณะหลับคือทางเดินใจที่แคบอยู่แล้วจะตีบแคบลงอีก ทำให้เกิดสภาวะที่หายใจไม่ได้นานกว่า 10 วินาทีขึ้นไป สลับกับการกรนเสียงดัง หากอาการรุนแรงอาจหยุดหายใจถึง 60 ครั้งต่อชั่วโมง

เมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่หายใจ ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานมากเพื่อพยายาม ทำให้เรากลับมาหายใจได้ ร่างกายจึงตื่นตัวเท่ากับเวลาที่เราพยายามวิ่งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระหว่างนั้นระบบเกี่ยวกับการตื่นในสมองจะทำงาน เมื่อเกิดสภาวะเช่นนี้ซ้ำ ๆ

คุณภาพการนอนก็จะลดลง อันตรายของโรคนี้ยังสร้างภาระแก่เส้นเลือดและหัวใจเนื่องจากระบบซิมพาเทติกจะตื่นตัวแม้ในระหว่างนอน จึงเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต รวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว หากปล่อยไว้ทั้งที่มีอาการรุนแรงกว่า 40% จะเสียชีวิตภายใน 8 ปี ดังนั้นคนที่ถูกคน ในครอบครัวเตือนว่ากรนดังทุกคืนควรระวังให้ดี

5.โรคร้ายที่อาจทำให้นอนไม่หลับจนถึงแก่ความตาย “โรคนอนไม่หลับมรณะ”

สาเหตุของโรคนี้เกิดจากโปรตีนที่ผิดปกติ ซึ่งเรียกว่า “ไพรออน” เข้าไปสะสมบริเวณสมองส่วนทาลามัส ทำให้ทาลามัสทำงานไม่สมบูรณ์ ทาลามัสมีหน้าที่สำคัญหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการควบคุมการหลับและตื่น เมื่อถูก “โปรตีนไพรออน” เข้ามาขัดขวางการทำงานจึงทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับมรณะ ผู้ป่วยโรคนี้ช่วงแรกอาจมีอาการนอนไม่หลับมากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายเซลล์ประสาทในสมองถูกทำลาย ก่อให้เกิดพฤติกรรมผิดปกติหรือภาวะสมองเสื่อม

READ  อย่าให้ตัวคุณในอนาคตเกลียด ตัวคุณในตอนนี้

6.ภาวะการนอนผิดปกติในช่วงการนอนแบบNon-REM “อาการละเมอเดิน” (sleep walking)

เกิดจากการประสบกับความเครียดหรือความตื่นตัวที่รุนแรงในช่วงกลางวัน ทำให้สมองบางส่วนตื่นขึ้นมาอย่างไม่คาดคิดระหว่างที่กำลังหลับอยู่ เนื่องจากคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความนึกคิดและความรู้สึกอย่างหลับอยู่ จึงไม่มีสติ แต่ระบบประสาทสั่งการและระบบประสาทสัมผัสทำงานอยู่ จึงทำให้เดินหลบสิ่งของได้

 7.การใช้ยานอนหลับส่งผลเสียต่อสมองและร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงขึ้นถึง 4.6 เท่า

ทีมวิจัยนายแพทย์แดเนียล คริปเก จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดิเอโก สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยานอนหลับกับอัตราการเสียชีวิต เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลอยู่ 2 ปีครึ่ง ก็พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วคนที่ใช้ยานอนหลับมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตถึง 4.6 เท่าของคนที่ไม่ได้ใช้ยานอนหลับ ยังพบว่าคนที่ใช้ยานอนหลับมีอัตราป่วยเป็นโรคติดเชื้อสูง เห็นได้ชัดว่าการนอนหลับโดยใช้ยานอนหลับไม่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเช่น การนอนตามธรรมชาติ กล่าวได้ว่ายานอนหลับทำให้คุณภาพการนอนลดลง.

8.การนอนไม่พอส่งผลเสียร้ายแรงต่อเด็ก

อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย การกลั่นแกล้ง การใช้ยาเสพติด หรือความเข้าใจผิดว่าเป็นโรคสมาธิสั้น จากการสำรวจกลุ่มเด็กวัยเริ่มเจริญพันธุ์ พบว่าเด็กที่นอนไม่พอมีอัตราความต้องการฆ่าตัวตายและลงมือฆ่าตัวตายสูง ยังสันนิษฐานได้ว่าการนอนไม่พอสัมพันธ์กับ การใช้ความรุนแรงอีกด้วย การนอนไม่พอในเด็กยังส่งผลให้เด็กมีอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น(ADHD) อาการที่เห็นได้ชัดของโรคสมาธิสั้นคือ การอยู่ไม่สุขหรือไม่มีสมาธิ เหมือนกับอาการนอนไม่พออย่างมาก

แพทย์อาจมีแนวโน้มที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นโดยนึกไม่ถึงว่าเป็นอาการที่เกิดจากการนอนไม่พอ และหากใช้ยา สำหรับโรคสมาธิสั้นก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงอย่างรุนแรง นอกจากแพทย์ต้องวินิจฉัยอย่างระมัดระวังแล้ว ผู้ปกครองก็ไม่ควรมองว่าการนอนไม่พอของเด็กเป็นเรื่องเล็กเช่นกัน

9.ความจริงการระเบิดของโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชียร์โนบีลเกิดจากการนอนไม่พอ

การระเบิดของโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์โนบิลในสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1986 เป็นอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ระดับ 7 เป็นระดับที่รุนแรงที่สุด มีรายงานที่ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้เกิดภัยพิบัติ ครั้งใหญ่นี้คือ การนอนไม่พอของพนักงาน การตัดสินใจผิดพลาดของวิศวกรที่ถูกบังคับให้ทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานส่งผลให้เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ หากเราเห็นความสำคัญของการนอนก็จะพบว่ากุญแจสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและอายุขัยที่ยืนยาวอยู่ใกล้เพียงเตียงนอนของคุณเท่านั้น

จาก 100 เคล็ดลับยกระดับคุณภาพการนอน สรุปได้ว่าการนอนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น โรคประจำตัว ปัญหาสุขภาพจิต พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนอุบัติเหตุร้ายแรง ดังนั้นการนอนหลับอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า