อยากขายได้ดีกับ SHOPEE ห้ามทำแบบนี้เด็ดขาด
ปัจจุบันเป็นกระแสมาแรงที่อาจเรียกได้ว่าแซงแพลทฟอร์ม E-Commerce อื่นๆ ไปเลยก็กว่าได้ กับการขายของออนไลน์ผ่าน SHOPEE ที่เปรียบเสมือนกับเรามีหน้าร้านของตัวเอง แล้วให้ผู้คนจำนวนมากบนโลกออนไลน์มาเลือกช็อปได้ตามใจชอบ ส่วนเราก็เพียงแค่รอให้บริการตามคำสั่งซื้อแล้วส่งสินค้าเท่านั้น แต่ถึงแม้จะดูเหมือนง่ายสักเท่าไร การขายของออนไลน์ผ่าน SHOPEE นี้ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและตั้งใจทำอยู่ดี ถ้าอยากที่จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นวันนี้ เรามีเทคนิคง่ายๆ มากบอกกันครับว่า อะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือห้ามทำ ถ้าอยากให้การขายของออนไลน์บน SHOPEE ของเราเป็นไปได้ด้วยดี กำไรดี ยั่งมั่นคงและยั่งยืน
1. อย่าสแปมคีย์เวิร์ดใน SHOPEE เพราะแทนที่จะเกิดอาจกลายเป็นดับ
Keyword คือ สิ่งสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์ในทุกแพลทฟอร์มอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างที่เราน่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้ว เพราะเวลาเราจะหาอะไรสักอย่างที่ต้องการบนโลกออนไลน์สิ่งที่เราทำก็คือการเสิร์ชค้นหาด้วย Keyword ดังนั้น เฉกเช่นเดียวกันกับการทำการตลาดออนไลน์บนแพลทฟอร์มอื่น การขายของออนไลน์ใน SHOPEE สิ่งที่เราไม่ควรทำก็คือ ไม่ควรใส่คำหลักหรือคีย์เวิร์ดที่มากเกินไป และห้ามเด็ดขาดกับการใส่คำที่ไม่เกี่ยวข้องในชื่อสินค้าและคำอธิบายสินค้า รวมไปถึงการใช้ # ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย อย่างเช่นพ่อค้าแม่ค้าหัวหมอทั้งหลายที่เอาคำหลักประเภท ชื่อแบรนด์ดังๆ มาใส่ไว้ หรือสินค้าอื่นๆ ที่คนนิยมซื้อมาใส่ในสินค้าของตัวเอง ทั้งๆ เราไม่ได้มีสินค้านั้นขาย เพราะหวังให้คนเสิร์ชเจอ เสิร์ชติดเรา อันนี้บอกเลยครับว่าห้ามเด็ดขาด เพราะหากทาง SHOPEE ตรวจเจอเมื่อไหร่ บอกได้คำเดียวว่าจบไม่สวยแน่ๆ ครับ
2. ตั้งราคาเลือกเหมือนแจก แต่เพียงเพื่อเรียกแขก ไม่ได้มีอยู่จริง
การใส่ราคาที่ต่ำมากๆ ในตัวเลือกสินค้า มักเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สีเทาที่แม่ค้าพ่อค้าหลายคนเลือกใช้ เพื่อเป็นเหยื่อล่อให้ลูกค้ากดเข้ามาดูสินค้าในร้าน แต่สุดท้ายแล้วราคาของสินค้านั้นไม่สามารถซื้อได้ หรือไม่ก็ไม่ใช่สินค้าที่ตั้งใจจะขาย การลงขายสินค้าแบบนี้มีโอกาสสูงมากที่จะทำให้ทาง SHOPEE ระงับ ACOUNT เราได้เลยทีเดียว ดังนั้น ตั้งใจขายสินค้าตัวใด ก็ตั้งราคาให้เหมาะสม สินค้าตัวไหนไม่มีของ ไม่ได้ตั้งใจขาย ก็อย่าลงสินค้าไปแล้วตั้งราคาหลอกเพื่อเรียกแขก เพราะผลลัพธ์ที่ได้แม้จะไม่ถูกตรวจเจอและโดนแบน แต่ลูกค้าก็จะรู้สึกไม่เชื่อมั่นในร้านเราอยู่ดี
3. ลงขายสินค้าชนิดเดิมซ้ำๆ ทำเพื่อให้ดูมีของขายเยอะๆ
การลงสินค้าชนิดเดียวกันซ้ำๆ แต่เปลี่ยนคำอธิบายนิดหน่อย เปลี่ยนคีย์เวิร์ดบ้าง เพื่อเป็นการ “ดักเสิร์ช” แล้วนำไปสู่การคัดกรองลูกค้าเข้าร้าน จริงๆ ถือเป็นกลยุทธ์ที่แยบยลครับ หากแต่มันก็คือการสแปมในทางหนึ่ง และเสมือนเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคว่าเรามีสินค้าหลากหลาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ ดังนั้น ทาง SHOPEE จึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ ถึงขนาดว่าขอความกรุณาแม่ค้าพ่อค้าทุกคนอย่าลงสินค้าชนิดเดียวกันหลายๆ ครั้ง ไม่เช่นนั้นแล้วล่ะก็ ร้านค้าของคุณอาจถูกระงับได้
4. ใช้ภาพคนอื่นโดยไม่ให้เครดิต ละเมิดสิทธิ์และปลอมแปลงเนื้อหา
ไม่ว่าจะแพลทฟอร์มไหนการเอารูปคนอื่นมาใช้ การปลอมแปลงเนื้อหา กล่าเกินจริง หรือแต่งเรื่องราวในคำอธิบายสินค้าเพื่อหวังประโยชน์ในการขาย ก็ถือเป็นสิ่งทิ่ผิดและไม่ควรกระทำทั้งสิ้น ซึ่งกับการขายของออนไลน์ใน SHOPEE เองก็ไม่ต่างกันที่ การปลอมแปลงเป็นบุคคลอื่น การใช้ภาพของคนอื่น การแอบอ้างหรือการทำข้อมูลเพื่อทำให้ร้านตัวเองขายดี หรือมีโอกาสขายได้ ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่ห้ามกระทำโดยเด็ดขาด
5. ขายของปลอมก๊อปเกรดเอ อาจมีเฮร้านปลิวได้
ปฏิเสธไม่ได้ครับว่า ของก๊อปเกรด A B C เป็นอะไรที่ Make Money ได้เสมอ แต่ก็อย่าเผลอคิดว่ามันจะยั่งยืนกับการขายของออนไลน์บน SHOPEE นะครับ เพราะอย่างไรซะการขายของปลอมหรือของเลียนแบบ ก็นับเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากทาง SHOPEE ปล่อยให้เราขาย ก็เท่ากับว่าเขาสนับสนุนให้เรากระทำความผิดอยู่ ดังนั้น SHOPEE จึงห้ามไม่ให้เราขายของก๊อปไม่ว่าจะเกรดอะไรก็แล้วแต่บนแพลทฟอร์มของเขา โดยหากตรวจเจอเราอาจถูกรายงาน แจ้งลบสินค้า หรือนำไปสู่การระงับร้านได้ในที่สุด
เข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตาม ไปใช้บริการบนแพลทฟอร์มไหน ก็จำเป็นต้องเคารพกฎกติกาของแพลทฟอร์มนั้น เพื่อให้เราสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน การขายของออนไลน์ผ่าน SHOPEE ถือเป็นหนึ่งในช่องทางที่สร้างโอกาสทำรายได้ให้กับคนธรรมดาๆ ได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนมาก และมีวิธีการที่ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไร อาศัยเพียงแค่การเรียนรู้และทำความเข้าใจ ประกอบกับขยันมากพอที่จะทำทุกอย่างให้ถูกต้อง แล้วรอเก็บเกี่ยวผลลัพธ์ในระยะยาว ดังนั้น มันคงไม่ดีเท่าไร ถ้าเราจะหวังทำกำไรเร็วไว และฝ่าฝืนทำอะไรที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม เพราะถึงแม้อาจจะขายได้ดี แต่ก็เป็นเพียงการขายดีชั่วคราว แต่นำมาซึ่งการเจ็บปวดยืนยาวชั่วกาลนาน คืออาจหมดช่องทางทำมาหากินกับการขายของออนไลน์กับ SHOPEE ไปเลยก็ได้ มิหนำซ้ำหากละเมิดกฎหมายก็อาจต้องถูกดำเนินคดีด้วย นั่นเองที่เราจึงควรเลือกทำแต่สิ่งดีๆ เพื่อให้สามารถทำอาชีพออนไลน์นี้ไปได้นานๆ จนกระทั่งประสบความสำเร็จอย่างที่ฝัน
รู้จักกับ Shopee
Shopee เป็นบริษัทมาจากประเทศสิงคโปร์ ดูแลโดยบริษัท Garena ซึ่งมีผู้ก่อตั้งคือ Forrest Li ใช้บริษัท SEA Ltd. ในการถือหุ้น 99% ในบริษัท Garena ก่อนที่ประกาศขายหุ้นให้กับกลุ่ม Tencent Holdings Ltd. ยักษ์ใหญ่ของจีน 40%
Garena ก่อตั้งเมื่อปี 2009 ที่ประเทศสิงคโปร์โดย Forrest Li และกลุ่มเพื่อนของเขา มีจุดประสงค์ในการก่อตั้ง คือ ให้บริการเกมออนไลน์ระดับโลก อีกทั้งยังเป็นผู้พัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ Forrest Li ได้ตั้งชื่อบริษัทนี้ว่า “Garena” ซึ่งเป็นการผสมคำของคำว่า “Global Arena”
ตั้งแต่ก่อตั้งมา Garena ได้เติบโตมาอย่างยิ่งใหญ่ และเป็นผู้นำในการให้บริการแพลตฟอร์ม ออนไลน์, มือถือ, และการสื่อสารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ไต้หวัน, และฮ่องกง
นอกจากนี้ Garena ยังเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ที่เป็นเจ้าดังในประเทศไทยแล้ว พวกเขายังเป็นเจ้าของแอปพลิเคชั่น TalkTalk ระบบสื่อสารด้วยภาพและเสียงแบบเรียลไทม์ และต่อมาในปี 2013 ได้เปิดตัว BeeTalk อีกด้วย กระทั่งเปิดตัว Shopee ที่กลายเป็นแพลตฟอร์มช็อปปิ้งแข่งขันกับ Lazada ของจีน และ 11 streets ของเกาหลีใต้ ไม่เพียงแค่นั้น พวกเขายังพัฒนาแอปพลิเคชั่น Wallet กระเป๋าเงินบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่าง Airpay ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอย่างจริงจังแล้ว
สิ่งที่ทำให้ Shopee แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นในตลาดอยู่ตรงที่ความรวดเร็ว ความปลอดภัย และการนำเสนอสินค้าในราคาที่ถูกกว่า
- ความรวดเร็ว – ผู้ซื้อสามารถติดต่อกับผู้ขายได้โดยตรงผ่านข้อความแชต (LiveChat) สามารถสอบถามรายละเอียดของสินค้าได้
- ความปลอดภัย – การซื้อขายผ่านแอปพลิเคชั่นที่เชื่อถือได้โดยมี Shopee เป็นสื่อกลาง เมื่อเกิดปัญหาก็สามารถสอบถามทาง Shopee ได้โดยตรง
- สินค้าที่ถูกกว่า – ทาง Shopee มีการแจกโค้ดส่วนลด รวมถึงผู้ขายเองก็สามารถลดได้เองเช่นกัน แต่ตรงส่วนนี้ถือว่าแข่งขันกันสูงไม่ว่าจะเป็นของ Lazada หรือ 11 Streets ซึ่งทางผู้ซื้อต้องลองเช็คราคาจากหลายๆ แหล่งเสียก่อน
ปัจจุบัน Shopee มีให้บริการอยู่ทั้งหมด 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, สิงคโปร์ และประเทศล่าสุดก็คือไทย ซึ่งเปิดมาได้ราวครึ่งปี มียอดผู้สมัครใช้งานกว่า 4 ล้านราย แต่ทางผู้ให้บริการไม่ได้แยกว่าคนที่สมัครเข้ามาเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย
ถึงแม้อุตสาหกรรม shopping platform โดยลักษณะ E-Commerce จะเป็นการค้าขายที่กำลังเป็นเทรนด์แห่งอนาคตที่โดนใจคนรุ่นใหม่ และดูเหมือนว่าจะมาแทนที่ Modern Trade ในปัจจุบัน แต่ด้วยเรื่องของวัฒนธรรมของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน เช่น คนสิงคโปร์นิยมเดินห้างเพื่อซื้อของ ส่วนวัฒนธรรมของไทยนิยมเดินห้างเพราะพาครอบครัวไปเที่ยวในวันครอบครัว เป็นต้น