Search
Close this search box.
road

ที่…หัวมุมถนน

“ที่…หัวมุมถนน” หนังสือเล่มนี้พูดถึง “วิธีคิด” ของการใช้ชีวิตส่วนตัวชีวิตการงานและชีวิตที่คาบเกี่ยวกันของทั้งสองอย่างเป็นการค้นพบทางที่ “ลงตัว” ที่สุด คำว่า “ลงตัว” ไม่ได้แปลว่ามีแต่ความสุข แต่หมายถึงได้มีโอกาสให้ได้ทำเต็มความสามารถในทุกๆวัน ถ้าเราสังเกตในออฟฟิสของเราจะพบว่าในแต่ละวันเราจะได้ยินคนบ่นเรื่องของชาวบ้านให้ฟังเยอะมากจนดูเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว

การบ่นออกมาทำให้รู้สึกได้ปลดปล่อยมีความสุขแค่ชั่วคราว เราแค่อยากหาพวกไม่ได้อยากแก้ปัญหา ยังมีผลข้างเคียงหลายอย่างเห็นได้ชัด เรื่องการเสียเวลาแล้วการบ่นยังลด Engagementในการทำงาน ลากคนที่ไม่เกี่ยวเข้ามาเสริมความไม่พอใจที่ทำงานให้เข้มแข็งขึ้นและสร้างความไม่ไว้วางใจในหมู่เพื่อนร่วมงาน

พูดง่าย ๆ คือ เป็นการเสริมพลังลบหรือ Negative Reinforcementคนที่บ่นมาก ๆ จะโดนมองทั้งจากเจ้านาย เพื่อนร่วมงานและลูกน้อง มองเป็นลบด้วย ถ้าเปลี่ยนเรื่องนี้ได้เผชิญหน้ากับปัญหาแบบตรง ๆ เราจะได้วัฒนธรรมองค์กรที่ดีและที่สำคัญทุกคนจะมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย

บนโลกนี้มีคนอยู่สองประเภทใหญ่ ๆ คือคนที่มี Growth Mindset กับคนที่มี Fixed Mindset เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้คนเราจะเติบโตประสบความสำเร็จหรือกระทั่งมีความสุขแบบที่สุดในแบบฉบับของตัวเอง Fixed Mindset อธิบายถึงคนที่เชื่อว่าความเก่งเป็นพรสวรค์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติคนเราถ้าเก่งก็จะเก่งไม่เก่งก็ไม่เก่ง รวมถึงยังกลัวความล้มเหลวด้วย

Growth Mindset จะทำงานหนักใช้ศักยภาพตัวเองอย่างเต็มที่เพราะเชื่อว่าอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นเราทุกคนสามารถมี Growth Mindset ขอแค่เรากล้าที่จะท้าทายทัศนคติและความเชื่อของตัวเอง ทัศนคติมองในอีกมุมคือ “การเลือก” ที่จะใช้ชีวิตแบบไหน เมื่อเรา”เลือก” ที่จะแก้ปัญหาใดๆก็ตามเราจะรู้สึกเหมือน “มีพลัง” หากเรารู้สึกว่าปัญหานั้นถูกโยนมาหาเรา เราจะรู้เหมือนเป็นเหยื่อและทุกข์ มนุษย์เรามีทางเลือกเสมอ

สมองมนุษย์มีส่วนหนึ่งที่เรียกว่า Seeking System เป็นสมองส่วนที่ถูกออกแบบมาให้เราอยากสำรวจโลกรอบตัว รวมถึงสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เมื่อเราใช้ Seeking System สมองของเราจะหลั่ง Dipamine ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างแรงจูงใจ (Motivation)กับความสุข(Pleasure) ซึ่งจะทำให้เราต้องการที่จะค้นหามากขึ้น

หากเราเชื่อว่าความพึงพอใจสูงสุดของมนุษย์คือ Self – Actualizationตามทฤษฎี maslow จะพบว่าความต้องการต่างของเราจะได้รับการตอบสนองแล้ว แต่เราจะยังไม่พอใจอยู่ดี ซักพักเราจะกระสับกระส่ายความต้องการสูงสุดนี่เองที่เราเรียก Self – Actualization สรุปคือ ความปรารถนาที่จะเป็นมากที่สุด และสูงสุดเท่าที่ตัวเองจะเป็นได้หรือให้นิยามคือ Be The Best of Yourself

พบว่านี่คือ “เส้นทาง”ที่เราต้องเดินเราเริ่มสนุกกับการเดินมากขึ้นและใช้เวลาโฟกัสไปที่ “เส้นทาง” ของการเดินไม่ใช่แค่ “ปลายทาง” เพียงอย่างเดียว วินัยกับตารางชีวิตที่ดีจะทำให้คุณมีทั้ง “พลังกาย พลังใจ” ที่เข้มแข็งมันเป็นเครื่องมือที่จะทำให้คุณออกไปทำสิ่งที่ยาก ๆ ในวันที่คุณไม่อยากทำที่สุดคุณจะมีทั้งแรงและพลังในการไปตามหาเป้าหมายของคุณได้เร็วขึ้นเยอะมาก

อารมณ์แบบ Burnout เบื่อ ๆ ไม่อยากทำงานเรื่องของการ Burnoutจริงๆไม่ได้อยู่ที่ตัวงานเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ทัศนคติที่เรามีกับงานกับคนที่อยู่รอบข้างเรากับวิธีการบริหารจัดการ “ตัวเรา”มากกว่าวิธีการที่คิดว่าใช้ในการป้องกัน Burnoutได้ดีคือ

  • บันทึกชีวิตของคุณอย่างละเอียด แล้วจะตกใจกับเวลาที่หายไป
  • ปรับทัศนคติกับงาน มองงานเป็นการขัดเกลาจิตใจของตัวเอง
  • มองคนให้ต่างจากเดิม มองในมุมของเขาบ้าง แค่นี้เราก็จะเข้าใจอีกฝ่ายมากขึ้น
  • รักษาร่างกายให้แข็งแรง และ Active
  • หาเวลาอยู่กับคนที่มีความหมายและใช้มันอย่างคุ้มค่า
  • หาสิ่งที่ทำให้คุณพลังงานหมด แล้วหาทางเอามันออกไป
  • หาสิ่งที่คุณชอบ แต่ท้าทายลิมิตของคุณมากๆ
  • กำหนดกรอบเวลาในการทำงาน
  • พักร้อน ไปพักผ่อน ชาร์ตแบตให้เต็มที่
  • มีงานอดิเรกที่มีความหมายและสะท้อนตัวตนของคุณ
  • หา “Me time” ขอจัดเวลาสงบๆให้ตัวเองซัก 5-10นาที
  • กล้ายอมรับการเปลี่ยนแปลง
  • เรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกวัน
  • ยิ้มและหัวเราะเสมอๆ
  • Prioritize จัดลำดับความสำคัญให้เป็น
READ  สินค้ายอดนิยม จากเริ่มต้นสู่แบรนด์อมตะ

การเขียนไดอารี่ เป็นการเขียนสิ่งที่ทำกับความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในวันนั้น ๆ ใช้เวลา3-5 นาทีก็เสร็จ พอเขียนไปเยอะๆแล้วกลับมาอ่านเป็นเรื่องที่น่าและมีประโยชน์เหมือนเป็นการดาวน์โหลดและปิดสวิตช์ตัวเอง เนื่องจากเราต้องเขียนเหมือนเป็นการดาวน์โหลดเรื่องของวันนั้น ๆ ทั้งหมดทำให้เราปิดวันได้ เราจะมองเห็นความเชื่อมโยงพฤติกรรมของเรากับผลของมันได้อย่างชัดเจน

มีโอกาสค้นพบว่าอะไรที่ Trigger พฤติกรรมต่าง ๆ ของเรา ถ้าเรามองเห็นเหตุการณ์แบบนี้เราจะไม่ประมาทกับเรื่องเล็ก ๆ ไดอารี่ยังเป็นคลังข้อมูลชั้นยอด ไม่ได้แค่บันทึกเหตุการณ์ แต่ยังบันทึกความรู้สึก ณ ตอนนั้น เผื่อวันหนึ่งจะมีโอกาสได้ถ่ายทอดชีวิตและประสบให้คนรุ่นหลังต่อไป

ความจำเป็นสิ่งที่สมองเราทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ บางทีเพี้ยนตกหล่นอะไรไปบ้างถ้าจดไว้ก็จะไม่ตกหล่น ยิ่งนานวันไปมันจะยิ่งมีค่ามากขึ้น และถ้า History Repeats Itself ไดอารี่จะบอกได้ว่าประวัติศาสตร์ของเราอันไหนที่เราไม่อยากให้เกิดหรืออยากให้เกิดเราต้องทำยังไง

I just started reading book หนังสือสองสามเล่มจะไปเปลี่ยนชีวิตอะไรใครได้หนังสือไม่กี่เล่มนี่แหล่ะเปลี่ยนชีวิตใครหลายคนมาเยอะแล้ว โดยระหว่างเส้นของการเปลี่ยนแปลงเจออุปสรรคมากมาย แต่ก็ได้แรงบันดาลใจที่ช่วยให้ไม่หมดกำลังใจไปซะก่อน จากหนังสือหลายเล่ม ๆ เชื่อว่าหนังสือแค่เล่มเดียว บางทีก็เปลี่ยนชีวิตคนได้จริง ๆ อย่า Underestimate พลังของหนังสือ

โฟกัสในโลกอันแสนยุ่งเหยิงได้ไง เอางานของคุณมาจัดลำดับความสำคัญและเรียงลำดับก่อนหลังทางที่ดีคือ การวางแผนมองภาพใหญ่ให้เห็นมีการกำหนด Milestoneและ Deadline ที่ชัดเจน วิธีนี้จะทำให้เห็นว่างานอะะไรที่สำคัญและควรทำก่อน

  • กำหนดและสื่อสารความคาดหวัง การบันทึกและการสื่อสารความก้าวหน้าของงานให้กับคนอื่นได้รับรู้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราต่างทำงานเป็นทีมเมื่อทีมเห็น “ความก้าวหน้า”มันจะเกิดโมเมนตันให้กับคนอื่นทำงานเร็วขึ้น
  • ยิ่งยุ่ง ยิ่งต้องหาเวลาเรียนรู้ การหาความรู้เพิ่ม เพราะภาพงานตรงหน้ามันใหญ่เกินไป ถ้าเราหยุดคิดสักนิด เราจะพบว่าบางทีวิธีการทำงานของเรานั้นอาจยังไม่ใช่วิธที่มีประสิทธิภาพที่สุดแทนที่จะทำ ๆ ไป จัวงหวะนี้เราจะหาเครื่องทุ่นแรงมาช่วยทำงานเครื่องทุ่นที่ว่า คือความรู้ใหม่ๆคำปรึกษาจากคนอื่นจากเพื่อนร่วมงานหรือจากหนังสือสักเล่ม

การประชุมดูเหมือนจะเป็นงานที่กินเวลาจำนวนมากของคนยุคปัจจุบันผู้บริหารใช้เวลาเฉลี่ย 40%ของเวลาทำงานทั้งหมดในการประชุมและการประชุมส่วนใหญ่ มักเตรียมการไม่พร้อมกันและมาด้นสดกันซะเยอะ ซึ่งเป็นการเสียเวลาของทุกคนและเสียเวลาขององค์กรด้วย การเตรียม Agenda ที่ดีจึงเป็นจุดเริ่มต้นของวินัยการประชุมที่ดี

โดยคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลการประชุมพร้อมทั้ง “อำนวยความสะดวก” ทั้งหมดคือ Facilitator และคนที่จดบันทึกและติดตามเรียกว่า Developer ควรเป็นคนละคนกับ Facilitator Meeting Agenda เริ่มต้นมาจาก การเข้าใจก่อนว่าจุดประสงค์ของการประชุมครั้งนี้คืออะไร อะไรคือผลของการประชุม

  • การทำ Agenda ที่ดีต้องได้ข้อมูลและความคิดเห็นจากทีมต้องการประชุมที่ทุกคนมีส่วนร่วมไม่ใช่การมาฟัง Homeroom
  • เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งหมด เพราะแต่ละคนพึ่งพากันและกันหรือแต่ละคนมีข้อมูลและความต้องการที่แตกต่างกัน
  • หัวข้อของ Agenda ควรตั้งเป็นคำถามจะทำให้ทีมของเราสามารถเตรียมตัวมาได้ดี เมื่อคำถามนี้ได้รับคำตอบแบบชัดเจน
  • หัวข้อของ Agenda ส่วนใหญ่จะมีสามเรื่องคือ การแบ่งปันข้อมูล การหาข้อมูลเพื่อประกอบ การตัดสินใจ และการตัดสินใจ
  • ประมาณเวลาในแต่ละหัวข้อที่จะประชุม
  • มีกระบวนการที่ชัดเจน ในการคุยเรื่องแต่ละเรื่อง
  • ส่ง Agenda ล่วงหน้าในเวลาที่เหมาะสม
  • ระบุคนที่มีหน้าที่นำการประชุมในแต่ละหัวข้อ
  • ให้ Agenda แรกเป็นการรีวิว และเปลี่ยน Agenda ตามความเหมาะสม
  • สำหรับการประชุมที่มีอยู่ประจำให้จบการประชุมด้วยคำถามสะท้อนการประชุม

นี่คือการสร้างนิสัยที่ดีให้กับองค์กร อาจจะยังไม่เห็นผลในระยะสั้นแต่ระยะยาวเห็นผลแน่นอน ใครที่ชื่นชอบหนังสือ “ที่…หัวมุมถนน” สามารถซื้ออ่าานตามกันได้เลย แล้วมาลองหาคำตอบเพื่อจะเป็นมนุษย์เว่อร์ชั่นที่ดีที่สุดของเรากัน คำตอบจริงอยู่ใกล้กว่าที่คิด

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า