Search
Close this search box.

สุดยอดกลยุทธ์ 8 บริษัทแนวหน้าของโลก

สุดยอดกลยุทธ์ 8 บริษัทแนวหน้าของโลก
Amazon/ Apple/ Microsoft/ Tesla/
Walmart/ Peloton/ Salesforce/ DBS
.
เพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์การบริหาร
ปรับตัวสู่ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น (DX)
อย่างรวดเร็ว และเทคนิค “เวิร์กชอป
สร้างกลยุทธ์ดิจิทัลชิฟต์ของบริษัทญี่ปุ่น”
.
สิ่งที่ 8 บริษัทมีร่วมกันคือ การประกาศ
และรับมือความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยี
หรือการเปลี่ยนแปลงของค่านิยม
และบริษัทส่วนใหญ่ได้แสดงค่านิยม
หรือโลกทัศน์ใหม่ของตัวเองด้วย
.
ความเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปโลกใหม่
ผ่านการบริโภคของ Gen z ในทศวรรษที่ 1990
ยุคที่ผู้บริโภคไม่ได้ตัดสินใจซื้อเพราะฟังก์ชัน
หรือราคาอย่างเดียว แต่เปลี่ยนพฤติกรรม
การบริโภคตามความรู้สึกร่วมกับค่านิยม
หรือโลกทัศน์ นี่คือยุคสมัยแห่ง
“ดิจิทัล X กรีน X เอ็คควิตี” ห้องเรียน DX ที่เร่าร้อน
.
.
Part 1

.
 1.”วอลมาร์ต”
การพลิกโฉมของ “บริษัทล้าสมัยที่สุดของโลก”
.
การผลักดัน DX ของซีอีโอ ดัก แมคมิลลอน
เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2014 เคยมีประสบการณ์
ทำงานพิเศษที่วอลมาร์ตสมัยเป็นนักเรียน
และเมื่อเข้าทำงานที่วอร์มาร์ทเคยรับตำแหน่ง
ซีอีโอแซมส์คลับของซุปเปอร์มาร์เก็ต
ระบบสมาชิก(โฮลเซลคลับ) และซีอีโอ
หน่วยงานต่างๆของประเทศของวอลมาร์ต
.
เขาได้ประกาศนโยบายดิจิทัลชิฟต์
และดำเนินการลงทุนรวมทั้งซื้อกิจการ
อีคอมเมิร์ซทันที…
.
การซื้อกิจการบริษัทสตาร์ทอัพด้านการขาย
ผ่านอินเตอร์เน็ต “เจ็ตดอตคอม” เป็นการคว้า
ทรัพยากรในการทำอีคอมเมิร์ซมาอยู่ในมือ
.
จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
ของวอลมาร์ตแจ่มชัด อีกทั้งยังแต่งตั้ง
มาร์ก ลอร์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเจ็ตดอตคอม
เป็นผู้รับผิดชอบของหน่วยงานอีคอมเมิร์ซ
.
4 ประเด็นสำคัญของ “ดิจิทัลชิฟต์” มีดังนี้
📍ให้ความสำคัญเรื่องความสัมพันธภาพกับลูกค้า
📍สโตร์พิกอัปแอนด์เดลิเวอรี
📍อินโฮมเดลิเวอรี
📍การแก้ปัญหาของลูกค้าด้วยการเพิ่ม
ผลิตภัณฑ์ของร้านค้า
.
สร้างสรรค์วัฒนธรรมองค์กรใหม่ ในตอนนั้น
แมคมิลลอนประกาศว่า
“จะเป็นบริษัทเทคโนโลยี” อันเป็นการส่งสาร
ให้ทั้งในและนอกบริษัทว่า วอลมาร์ตจะไม่
ยึดติดกับวอลมาร์ตสโตร์ซึ่งเป็นร้านค้าจริง
.
แต่จะเปลี่ยนผ่านธุรกิจซึ่งรวมถึงอีคอมเมิร์ซ
และอื่นๆสู่ดิจิทัล ประกาศครั้งนี้จึงเป็นการ
ปลูกฝังดีเอ็นเอของบริษัทใหม่ว่า
“จะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ
บริษัทเทคโนโลยี”
.
พันธกิจของวอลมาร์ตคือ “Saving people
money so they can live batter”
แปลตรงตัวหมายถึง “การให้โอกาสลูกค้า
ซื้อสินค้าที่มีคุณค่าในราคาถูก เพื่อให้ลูกค้า
ได้มีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”
.
สร้างคำจำกัดความใหม่แก่ร้านค้า DX ของวอลมาร์ต
เป็นความพยายามที่จะอัพเดตร้านค้า
ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สุดของวอลมาร์ต
.
โดยยังมีหน้าร้านไว้เพื่อการค้าปลีก
และเริ่มใช้งานร้านค้าเป็น “โกดังสินค้า
อีคอมเมิร์ซของบริษัท” “ศูนย์กระจายสินค้า”
“สโตร์พิกอัปของอีคอมเมิร์ซ”
.
“อินโฮมเดลิเวอรี” ก็เป็นตัวอย่างของ
การพัฒนาการหน้าที่ของหน้าร้านเช่นกันคือ
เป็นบริการให้พนักงานส่งของนำวัตถุดิบ
และอาหารเข้าไปใส่ถึงในตู้เย็นที่บ้านลูกค้าที่สหรัฐ
.
สร้างคำจำกัดความหมายให้แก่บุคคล
วอลมาร์ตยังมีการอัพเดทเกี่ยวกับ”บุคลากร”
ผู้ผลักดันดิจิทัลชิฟต์ พร้อมมีการปฏิรูปวิธีทำงาน
รายละเอียดคือการทุ่มเทให้กับการคัดเลือก
บุคลากรด้านเทคโนโลยี และดำเนินการอบรม
พนักงานที่ใช้ดิจิทัล
.
วอลมาร์ตดำเนินการเปลี่ยนธุรกิจค้าปลีก
เป็นดิจิทัลอย่างรวดเร็ว โดยใช้แอมะซอน
ซึ่งมีมูลค่าตามราคาตลาดรวมอยู่ในจุดที่เอื้อม
ไม่ถึงเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างจริงจังมาตั้งแต่ต้น
โดยเฉพาะแนวคิดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ตามแบบบริษัทที่เป็นดิจิทัลโดยกำเนิด
.
การซื้อกิจการอีคอมเมิร์ซให้ผู้บริหารบริษัทนั้น
มาดูแล DX โดยรวมของวอลมาร์ต
แล้วเรียนรู้การทำ DX ด้วยตนเอง
จึงเป็นการทำ DX ที่มุ่งมั่นเรื่อยมา
.
สิ่งสำคัญที่สุดการเชื่อมโยงลูกค้าด้วยระบบดิจิทัล
ใช้จุดแข็งและความเป็นวอลมาร์ตให้เป็น
ประโยชน์แล้วใช้ DX ในการเสริมจุดแข็งเข้าไปอีก
.
.
2.”เทสลา”
ความทะเยอทะยานและพันธกิจ “ช่วยกอบกู้โลก”
.
ฐานการผลิตของเทสลาแบ่งคร่าวๆได้
2 ประเภท ประเภทแรกคือโรงงานผลิต
และประกอบรถยนต์ไฟฟ้า และอีกประเภทคือ
โรงงานผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องกับพลังงานเช่น
แบตเตอรี่ แผงโซล่าเซลล์ และผลิตชิ้นส่วน
รถยนต์ไฟฟ้า🚗
.
ทั้งราคาหุ้น ผลประกอบการ และการขยายตัว
กำลังการผลิตก็เป็นไปอย่างราบรื่นปัจจุบัน
ต้องถือว่าเทสล่าเป็นบริษัทผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้า
.
หากมองยอดขายรถยนต์โดยรวม
ไม่ใช่แค่รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียว
แต่รวมถึงรถยนต์ที่ใช้น้ำมันด้วยแล้ว
โตโยต้ากรุ๊ปมียอดขายรถยนต์
รวมถึง 9.52 ล้านคัน (ปี 2020)
เทสล่ามียอดขายเพียง 1 ใน 9
เป็นจำนวนที่เรียกว่าเล็กน้อยมาก
.
สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของบริษัทเทสล่าก็คือ
“ช่วยกอบกู้มนุษยชาติ” เป็นพันธกิจ
และวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่
.
อย่างไรก็ตามเทสลาไม่ใช่บริษัทที่พยายามขาย
แค่รถยนต์ไฟฟ้าแต่เป็นบริษัท
“คู่สร้างระบบนิเวศที่ใช้พลังงานสะอาด”
.
ในความเป็นจริงกิจการของเทสลาไม่ใช่มีแค่
รถยนต์ไฟฟ้า เทสลาขยายกิจการพลังงาน
อย่างมั่นคงเช่น “โซลาร์รูฟ” หลังคาที่ให้
กำหนดไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ “ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์”
เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ความเร็วสูงและ
“เพาเวอร์วอลล์” แบตเตอรี่ชาร์จได้ในครัวเรือน
.
เมื่อเทสลามีผลงานด้านรถยนต์ไฟฟ้า
และยังคิดถึงระบบนิเวศที่ใช้พลังงานสะอาดด้วย
กล่าวได้ว่าเทสลาเป็นฮีโร่ของยุคสมัย
ที่กำลังมุ่งหน้าสู่สังคมปลอดคาร์บอน
คุณค่าของเทสลาไม่ได้อยู่ที่จำนวนรถยนต์
ไฟฟ้าที่ขายได้ แต่อยู่ที่ระบบนิเวศจากผลคูณ
ของการ “สร้างสรรค์ กักเก็บ และใช้งาน”
พลังงานสะอาด
.
วิเคราะห์กลยุทธ์จากตลาดของเทสล่า
จากมุมมอง STP
STP คือหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การตลาดเช่น
จะแบ่งกลุ่มตลาด (Segmentation) อย่างไร
จะจำกัดทาร์เกตในเซกเมนต์นั้น (Targeting)
ที่ตรงไหน และบริษัทเราอยู่ในตำแหน่ง
(Positioning)ไหน
.
รถยนต์ของเทสลามีลักษณะพิเศษคือ “อัพเดท”
ซอฟต์แวร์แบบเดียวกับสมาร์ทโฟน
ฟังก์ชันออโตไพล็อตก็เป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่ง
.
โดยรถยนต์เทสลาที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน
ทุกขั้นเป็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับการขับขี่อัตโนมัติ
อย่างสมบูรณ์เอาไว้แล้ว ที่เหลือก็เพียงรอ
การอัพเดทระบบออโต้ไพล็อต และการอนุญาต
ให้ใช้ฟังก์ชันการขับขี่อัตโนมัติอย่างสมบูรณ์
บนถนนหลวง🛣️
.
ปี 2020 เทสลาเริ่มเห็นแววว่าจะทำกำไร
และผลิตแบบแมสได้ในที่สุด โดยได้ส่งแรง
ของกระแสโลกในเรื่องการไม่ทำให้เกิดคาร์บอน
และการเปลี่ยนผ่านศูนย์รถยนต์ไฟฟ้า
ทำให้ได้ผลกำไรดังปรารถนา เป็นเรื่องธรรมดา
ที่นักลงทุนจะจับตามอง คนมักมองแต่เรื่อง
เครื่องยนต์ไฟฟ้า แต่จะมองข้ามไม่ได้ว่า
เทสลาผลักดัน CASE (Connected, Autonomous,
Shared & Service and Electric: CASE)
.
ด้วยคอนเซ็ปใหม่ของรถยนต์ การทำให้เป็น
อัตโนมัติกับการทำให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าเหมือน
ล้อขับเคลื่อนทั้งสองที่เคลื่อนไปด้วยกัน
.
การอัพเดทซอฟแวร์จะทำให้รถยนต์เทสลา
ที่มีอยู่เดิมเป็นรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติอย่างสมบูรณ์
เป็นระบบที่ล้ำสมัย มีความเป็นไปได้สูงว่า
เทสลาจะเป็นผู้นำในเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า
แต่จะเป็นผู้นำในระบบการขับขี่อัตโนมัติ
อย่างสมบูรณ์ด้วย🚗
.
ธุรกิจที่มี 3 อย่างในหนึ่งเดียวที่ “สร้างสรรค์
กักเก็บ และใช้งานพลังงานสะอาด”
ย่อมแข็งแกร่ง แกรนด์ดีไซน์ของเทสลาไม่ช้า
ไม่นานก็คงเป็น “แกรนด์ดีไซน์ของโลก”
.
หากมองความรู้สึกต่อพันธกิจ วิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่
และความสามารถในการทำให้วิสัยทัศน์
เป็นรูปเป็นร่างของอีลอนแล้ว
.
.

3.”แอปเปิล”
การรับมืออย่างล้ำหน้าในเรื่อง
“การไม่ทำให้เกิดคาร์บอน” และ
“ความเที่ยงธรรม – ความเท่าเทียม”
.
“แอปเปิลคาร์” เรื่องน่าตื่นใจ เป็นจริงแน่นอน
แอปเปิลต้องทุ่มเทในการออกแบบพัฒนา
เทคโนโลยีหลัก เช่น เทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติ
และดีไซน์ตนเอง และจ้างบริษัทภายนอกผลิต
.
คนส่วนใหญ่จะคาดการณ์แบบนั้นเพราะเป็นโมเดล
การแบ่งงานในแนวราบทั้งการผลิต
และออกแบบที่ใช้กับ iphone ที่แตกต่าง
จากผู้ผลิตรถยนต์แบบเดิมที่มีการบูรณาการ
ในแนวดิ่งตั้งแต่ออกแบบจนถึงการผลิต
.
รายงานข่าวนี้บ่งบอกว่า แอปเปิลคาร์ไม่ได้เป็น
เพียงรถยนต์ไฟฟ้า หรือเป็นเพียงรถยนต์ขับขี่
อัตโนมัติ ในความเป็นจริง เป็นการผลักดัน “CASE”
.
โดยรวมซึ่งเป็นที่กระแสของรถยนต์ยุคต่อไปคือ
Connected Autonomous Shared &
Service, Electric การทำให้สมาร์ต
การขับขี่อัตโนมัติ การแบ่งปันและการบริการ
และสร้างรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
.
บางทีแอปเปิลคงจะไม่ผลักดัน “รถยนต์”
แต่จะเข้าต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นเจ้าแพลตฟอร์ม
และระบบนิเวศโดยรวมของอุตสาหกรรม
รถยนต์ในยุคต่อไป🚘
.
กลยุทธ์ “แอปเปิลคาร์
📍ไม่ใช่เพียง “รถยนต์ไฟฟ้า” แต่มุ่งสู่
“รถยนต์ไฟฟ้า x รถยนต์ขับขี่อัตโนมัติ”
📍ใส่ใจในรายละเอียดกระทั่งส่วนปลีกย่อย
ของการออกแบบเชิงอุตสาหกรรม
📍ไม่เพียง “ผลิตภัณฑ์” แต่ยังใส่ใจใน “ระบบนิเวศ”
📍และเป็นที่เป็นแบรนด์ ไลฟ์สไตล์ให้คุณ
“ใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง”
📍มาตรการต่อสภาวะภูมิอากาศแปรผัน
📍เครือข่ายการจำหน่ายใหม่ที่มา
แบบตัวแทนจำหน่าย
.
แอปเปิ้ลทำให้ความเป็นกลางทางคาร์บอน
เป็นจริงได้อย่างไร โดยมีเสาหลัก 5 อย่างคือ

.
📍“ผลิตภัณฑ์ดีไซน์คาร์บอนต่ำ”
แอปเปิลใช้วัสดุรีไซเคิลคาร์บอนต่ำ
ยังดำเนินการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ด้วย
โดยในปี 2019 ได้ลดคาร์บอนฟุตพรินต์
เป็นจำนวน 4.3 ล้านตัน✨
เป็นอากาศรถพลังงานโดยเฉลี่ยที่จำเป็น
ในการใช้ผลิตภัณฑ์ตลอด 11 ปีที่ผ่านมาลดถึง 73%
.
แอปเปิลนำโรบอทมาใช้โดยมี “Dave”
โรบอตทำงานรีไซเคิล และ “Daisy”
โรบอตแกะเครื่อง iPhone ทำหน้าที่
อย่างขะมักเขม้น อันเป็นความพยายาม
ที่จะรีไซเคิลทรัพย์ทรัพยากร

.

“เพิ่มประสิทธิภาพของพลังงาน”
แอปเปิลดำเนินโปรเจกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
พลังงาน นอกจากในบริษัทแอปเปิลเองยังรวมถึง
ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดด้วย
โดยรายละเอียดคือ US-China Green Fund
ได้มีการลงทุน 100 ล้านเหรียญ
.
นอกจากนั้นในปี 2019 ยังลด
คาร์บอนไดออกไซด์ทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน
มากกว่า 779,000 ตัน หากมองเฉพาะแอปเปิล
บริษัทเดียวแค่ปี 2019 ปีเดียว
ได้มีการลงทุนมากกว่า 6.4 ล้านตารางฟุต
ลดความต้องการไฟฟ้ารวมถึงราว 1 ใน 5
ประหยัดเงินไป 27 ล้านเหรียญ
📍 “พลังงานหมุนเวียน”
แอปเปิลดำเนินกิจการด้วยพลังงานหมุนเวียน
และสร้างโปรเจคพลังงานไฟฟ้าใหม่คู่ขนาน
กันไป ให้ห่วงโซ่อุปทานโดยรวมเปลี่ยน
ผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนด้วย
📍 “นวัตกรรมกระบวนการและวัสดุ”
แอปเปิลลดก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยการสร้าง
นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีกับผลิตภัณฑ์
กระบวนการที่จำเป็นและวัสดุ
📍 “กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์”
แอปเปิลดำเนินการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์
จากบรรยากาศเช่น เปิดตัว
“กองทุนเพื่อมาตรการต่อคาร์บอน โดยลงทุน
ในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศ
ธรรมชาติของโลก” เพื่ออุทิศตนให้กับ
การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า
.
ค่านิยม “เอ็คควิตี”คือ ความเท่าเทียม
ระยะหลังมานี้มีการส่งเสริมไดเวอร์ซิตี
และอินคลูชัน (D&I: Diversity & Inclusion
ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง)
.
จึงมีบริษัทที่เพิ่มเอ็คควิตีเข้าไปเป็น
“D&I: Diversity, Equity, Inclusion”
เพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้หมายถึงการยอมรับ
ความแตกต่างในค่านิยมอันหลากหลาย
ยังมีการจัดการอย่างเท่าเทียม
.
.
4 “เซลส์ฟอร์ซ”
เหตุผล 7 ประการที่ทำให้เป็น
“บริษัท SaaS ที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก”
.
เซลส์ฟอร์ซเป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 1999
โดยมาร์ค เบนิออฟ กู้มาจากบริษัทออราเคิล
ในตอนนั้นเมื่อพูดถึงไอทีที่สหรัฐอเมริกา
กระแสหลักยังหมายถึงธุรกิจประเภทรับเหมา
“รับออเดอร์จากบริษัทใหญ่มาพัฒนา
และส่งมอบซอฟต์แวร์”
.
แต่เซลส์ฟอร์ซเริ่มนำเสนอ SaaS
(Software as a Service)
โดยการ “ทำลายซอฟต์แวร์” เริ่มจากปล่อย
บริการบนคลาวด์ อย่าง SFA (สนับสนุนการขาย)
CRM (การจัดการข้อมูลลูกค้า)
จากนั้นจึงเติบโตเป็นบริษัทสนับสนุน
ธุรกิจทั้งหมดด้วยคลาวด์
.
เหตุผลของความแข็งแกร่ง
🚀 การบริหารแบบ 3 อย่างในหนึ่งเดียวของ
“พันธกิจ X โครงสร้างธุรกิจ X โครงสร้างผลกำไร”
เป็นแกนกลางของ “คัสตอมเมอร์ซักเซส” คือ
มีความผูกพันของ 3 ปัจจัยคือ พันธกิจ
โครงสร้างธุรกิจ และโครงสร้างผลกำไร
ซึ่งแยกจากกันได้ยาก และมุ่งสู่การทำให้
“คัสตอมเมอร์ซักเซส”เป็นจริง
.
คัสตอมเมอร์ซักเซสมีแนวคิดคือ “ก่อนอื่นให้นำ
ธุรกิจของลูกค้าสู่ความสำเร็จ จากตรงนั้น
ถือเป็นผลความสำเร็จของบริษัทด้วย” หรือ
“ความสำเร็จของลูกค้าเชื่อมโยงสู่ความสำเร็จ
ของบริษัทโดยตรง เป็นความสัมพันธ์
แบบ Win – Winจริงๆ”
.
แกนกลางของโครงสร้างธุรกิจก็ประกอบด้วย
คัสตอมเมอร์ซักเซสเช่นเดียวกัน
ในคัสตอมเมอร์ซักเซส360 และ The model
ต่างก็มีพันธกิจอยู่ที่คัสตอมเมอร์ซักเซส
.
โครงสร้างผลกำไรอยู่ที่การรับสมาชิก (Subscription) ซึ่งต้องพึ่งพาการ
“ต่ออายุ”สัญญา สิ่งที่จะกระตุ้นการต่ออายุ
สมาชิกได้คือ คัสตอมเมอร์ซักเซส
.
ผลคือทั้งการขยายกิจการ การเพิ่มผลกำไร
ก็ขึ้นอยู่กับคัสตอมเมอร์ซักเซส
และคัสตอมเมอร์ซักเซสก็เชื่อมโยงสู่
การขยายกิจการ-เพิ่มผลกำไร
อันเป็นการทำให้บริหารแบบ 3 อย่าง
ในหนึ่งเดียวเป็นจริง
.
การขยายสัดส่วนการตลาดด้วย
ระบบนิเวศโดยรวม
การเสนอแอพพลิเคชันหลายพันแอพพลิเคชัน
ที่ใช้ได้บนแพลตฟอร์มของเซลส์ฟอร์ซ
อาจจะรู้สึกคล้าย “แอปพลิเคชันสโตร์”ของแอปเปิล
.
และไม่ใช่เพียงแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยบริษัทเอง
แต่จุดที่เป็นระบบนิเวศอย่างหนึ่งที่ส่งเสริม
การเข้ามาของบุคคลที่สาม และเติบโตไปด้วย
กัน ก็คล้ายแอปพลเคชันสโตร์ด้วย
.
“ระบบนิเวศ” ที่คลาวด์ไซน์และเซลส์ฟอร์ซ
สร้างสรรค์ขึ้นมา สิ่งที่มาแทน
“กระดาษและตราประทับ”
เป็นระบบนิเวศไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ทดแทน
หรือบริการทดแทนเฉพาะอะไร
.
จุดมุ่งหมายของเซลส์ฟอร์ซไม่ใช่การขยายสัดส่วน
การตลาดด้วยสินค้าบริการตัวใดตัวหนึ่ง
แต่มีแพลตฟอร์มที่ลูกค้าจะใช้ในธุรกิจแบบ
“ครอบคลุมจนถึงรากฐาน” หรือตัวอย่างของ
คลาวด์ไซน์ เป็นการสร้างสรรค์ระบบนิเวศ
ด้วยการร่วมมือกับธุรกิจ SaaS ต่างๆ
เพื่อขยายสัดส่วนการตลาด
.
เซลส์ฟอร์ซจึงสร้างคัสตอมเมอร์ 360
ให้เป็นจริงได้ ไม่ใช่ด้วยตัวเองบริษัทเดียว
แต่ยังมีพรรคพวกบริษัท SaaS อื่นเข้ามาร่วมด้วย
.
โดยการสร้างภาพที่ว่า “หากไปที่แพลตฟอร์ม
ของเซลส์ฟอร์ซก็จะมีสิ่งที่ต้องการ”
เรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่เหมือนแอมะซอน
สำหรับผู้บริโภค…
.
เซลส์ฟอร์ซสร้างสรรค์ “ระบบนิเวศ”
ที่ไม่ใช่แค่โลกของบริษัทตัวเองเท่านั้น
ยังเอาบริษัทอื่นเข้ามาร่วมด้วยอย่างแท้จริง
🚀 ค่านิยมแบบผู้บุกเบิก
เทรลเบลเซอร์มีความหมายว่า “ผู้บุกเบิก”
เบนีออฟกล่าวว่า “ไม่ว่าเมื่อไหร่เทลเบลเซอร์
ก็เป็นผู้สร้างนวัตกรรม” ผู้ทำหน้าที่ดูแล
การใช้งานเซลส์ฟอร์ซภายในบริษัทลูกค้า
ก็เป็นเทรลเบลเซอร์
.
เซลส์ฟอร์ซให้ความสำคัญเกี่ยวกับค่านิยม
ในการบุกเบิกสร้างโลกใหม่ไม่ยึดติดกับวิธีการเดิมๆ
.
การเติบโตของเซลส์ฟอร์ซไม่ได้หมายความถึง
การเติบโตของธุรกิจอย่างเดียว แต่ยังเติบโต
ในฐานะระบบนิเวศที่รวมเอาบริษัทลูกค้า
เข้ามาด้วยค่านิยมที่พวกเขาชูขึ้นมาซึ่งเรียกว่า “เทรลเบลเซอร์”
🚀 คุณค่าหลัก 4 ประการ
(ความไว้วางใจ คัสตอมเมอร์ นวัตกรรม
และความเสมอภาค)
สิ่งสำคัญของเซลส์ฟอร์ซ เพื่อให้บริษัทมีคุณค่า
ของความมีตัวตนในสังคมสูงขึ้น
และเพื่อยกระดับแบรนด์ จึงไม่ได้คิดถึง
การเติบโตธุรกิจหรืออนาคตเพียงเท่านั้น
.
มุมมองที่ว่า “จะทำตัวให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
อย่างไร”ก็สำคัญเซลส์ฟอร์ซนำความปรารถนา
ที่ว่า “อยากให้สังคมเป็นอย่างนี้”
“อยากปฏิรูปให้สังคมเป็นแบบนี้” ฝากไว้กับ
คุณค่าหลักแล้วให้พนักงานปฏิบัติตาม
.
อันเป็นการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของสังคม
คิดว่าความมุ่งมั่นและการกระทำนี้น่าจะมีส่วน
ช่วยขยายยกระดับคุณค่าของเซลล์ฟอร์ด
🚀 การบริหารเป้าหมายอย่างจริงจังด้วย V2MOM
.

V2MOMคือ ตัวอักษรตัวแรกของ “5 คำถาม”
ซึ่งเซลส์ฟอร์ซให้ความสำคัญในการบริหาร
เป้าหมาย
.
📍vision(วิสัยทัศน์) สิ่งที่อยากบรรลุคืออะไร?
📍value (คุณค่า)ความเชื่อที่สำคัญ
เพื่อการบรรลุคืออะไร?
📍Methods (วิธีการ)จะทำอย่างไรเพื่อการบรรลุ?
📍Obstacles (อุปสรรค)สิ่งที่เป็นอุปสรรคกีดขวาง
การบรรลุคืออะไร?
📍Measures (เกณฑ์มาตรฐาน)จะวัดสัมฤทธิ์ผล
อย่างไร?
.
จุดประสงค์ของV2MOMคือ การทำให้
วิสัยทัศน์แทรกซึมไปถึงพนักงานแต่ละคน
และเพื่อการวัดและประเมินระดับการบรรลุ
วิสัยทัศน์ที่เซลส์ฟอร์ซ
.
“การบริหารองค์กรทั้งหมดจะมีV2MOM
เป็นพื้นฐาน” พลังของมันก็คือ
“ให้ความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ”
“ทำเป้าหมายให้ชัดเจน สามารถเรียบเรียง
วิธีการทำให้เป็นจริงอย่างมีเหตุผลได้”
🚀 กระบวนการขายที่เรียกว่า The Model
เป็นสิ่งที่เซลส์ฟอร์ซใช้อยู่ แต่ปัจจุบันกลายเป็น
สิ่งที่ใช้กันทั่วไปในโลกของSaaS
.
The Modelก็มีลักษณะพิเศษ 2 ประการดังนี้
.
📍กระจายกระบวนการขาย และแปลงข้อมูล
ของแต่ละขั้นตอนเป็นตัวเลขและมองเห็นได้
📍ยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าด้วย
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ดูแล
แต่ละขั้นตอน…
🚀 การสร้างแบรนด์ด้วยตนเองของเบนิออฟ
ลักษณะพิเศษที่สำคัญที่สุดของเซลส์ฟอร์ซคือ
การสอดแสวงหาคัสตอมเมอร์ซักเซส
“ความสำเร็จทางธุรกิจของลูกค้า”อย่างจริงจัง
.
นี่เป็นความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของ มาร์ก เบนิออฟ
ผู้ก่อตั้ง แต่ก็มองข้ามการปฏิบัติตาม
“แนวคิดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” ที่อยู่เบื้องหลังไม่ได้
.
.

Part 2
.
1 “ไมโครซอฟต์”
ถัดจากการโต้ตอบของคลาวด์คือ
“แอมเบียนต์คอมพิวติ้ง”
.
ปัจจุบันไมโครซอฟต์กำหนดเสาหลักของ
“การสร้างแพลตฟอร์มบนคลาวด์ที่เป็นอัจฉริยะ”
โดยวางตำแหน่งให้เป็นคลาวด์อาซัวร์
เป็นหนึ่งในสาขาที่สำคัญที่สุด และสิ่งที่ถูกวาง
ตำแหน่งสำคัญพอๆกันกับคลาวด์ก็คือ
“ความเป็นจริงผสม (MR: Mixed Reality)
.
MR คือเทคโนโลยีที่หลอมรวมกับโลกความจริง
และโลกเสมือนเข้าด้วยกัน (VR: Virtual reality)
และความเป็นจริงเสริม (AR: Augmented Reality)
.
VR เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถมีประสบการณ์
เหมือนตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริง
.
AR เป็นเทคโนโลยีที่ซ้อนเอาโลกจริง
กับโลกเสมือนเข้าด้วยกัน
.
MR เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนา
จนถึงขั้น “หลอมรวม” โลกจริงกับโลกเสมือน
ได้แนบสนิทมากกว่า “การซ้อน”
.
ช่วงหลัง VR และ AR กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา
ควบคู่ไปกับการขยายตัวของ 5G ต่อจากนี้
นอกจาก MR จะใช้ในเกม โลกบันเทิง
และธุรกิจแล้ว คาดหวังว่าจะได้ใช้ในสาขาต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การบริบาล การค้นคว้า
วิจัยทางวิชาการ หรือแม้กระทั่งชีวิตประจำวัน
.
Microsoft Mesh เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยี
เพื่อให้ไมโครซอฟต์หรือบริษัทบุคคลที่สาม
พัฒนาแอปพลิเคชั่น MR ที่มีรากฐานเป็นอาซัวร์
และพัฒนาอุปกรณ์ให้ฮาร์ดแวร์สำหรับ
ใช้กับแอปพลิเคชั่น MR ด้วย
.
นี่เป็นบริการใหม่ของไมโครซอฟต์
แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะขายให้แก่ลูกค้าโดยตรง
เหมือนโฮโลเลนส์ 2 แต่ให้คิดว่าเป็นแนวคิด
เดียวกับ “iOS” หรือ “แอนดรอยด์”
ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานสำหรับสมาร์ตโฟน
หรือ “อพอลโล” แพลตฟอร์มขับขี่อัตโนมัติ
ที่ไป่ตู้ของจีนสร้าง เมชถูกวางตำแหน่ง
ให้นำเสนอเป็นฟังก์ชันหนึ่งของอาซัวร์
.
ปัจจุบัน แอปพลิเคชั่น MR ของเมชจะมีฟังก์ชั่น
หลักๆคือ “Altspace” ซึ่งเป็นเครื่องมือ
แชร์การประชุมหรือสื่อสาร โดยอุปกรณ์ที่ใช้นั้น
ก็มีโฮโลเลนส์เป็นหลักเหมือนอย่างที่ถูกใช้
กับไมโครซอฟต์อิกไนต์..
แต่เพราะเมชเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยี
.
ต่อไปคงต้องดึงบริษัทบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างๆ
เข้ามาในแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับแอปพลิเคชั่น
MR และอุปกรณ์ MR ต่างๆต่อไป
ให้สมกับที่เมชเป็นแกนหลักของกลยุทธ์ MR
ของไมโครซอฟต์จริงๆ
.
โจทย์ทางเทคโนโลยีเพื่อทำให้ประสบการณ์
MR เหล่านี้เป็นไปได้มีอยู่ 4 ประการดังนี้
.
📍ต้องแสดงผู้คนที่มีอยู่ในพื้นที่ MR
อย่างเหมาะสม
📍ต้องทำให้โฮโลแกรมในพื้นที่ MR
มีความเสถียรทุกเวลาและประเภทอุปกรณ์
📍ต้องสนับสนุนไฟล์ ฟอร์แมตของลูกค้า
แต่ละคน และสร้างโมเดล 3 มิติของคน
และสิ่งของจริงอย่างซื่อตรงบนพื้นที่ MR
📍ในเซสชันบนพื้นที่ MR ที่ผู้คนอยู่ในสถานที่
ห่างไกลออกไป ต้องทำให้ความเคลื่อนไหว
หรือการแสดงออกของผู้คนซิงค์กัน
.
MR ถูกจับตามองในฐานะก้าวต่อไป
ของไมโครซอฟต์ เป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้
“แอมเบียนต์คอมพิวติ้ง” เป็นจริงด้วย
.
แอมเบียนต์คอมพิวติ้งคือ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้
คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องรู้สึกถึงตัวอุปกรณ์
.
แอมเบียนต์ มีความหมายว่า “ของสิ่งแวดล้อม”
“ของรอบข้าง” ด้วยการทับซ้อนของเทคโนโลยี
ต่างๆเช่น loT สมาร์ตสปีกเกอร์ คลาวด์
คอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้ AR VR
ล้วนทำให้รับรู้ล่วงหน้าถึงสิ่งที่ผู้ใช้งานอยากทำ
และทำให้เป็นจริงให้เห็นโดยอัตโนมัติ
.
แอมเบียนต์คอมพิวติ้ง ไม่ใช่คำศัพท์ที่พึ่งปรากฏ
ในระยะหลัง แต่เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันมานานมาก
ในโลกของคอมพิวเตอร์ แต่หลังงาน CES 2020
กลายเป็นคีย์เวิร์ดที่ถูกจับตามอง เบื้องหลังก็คือ
การมาถึงยุค 5G จากการที่ 5g ทำให้เรา
สื่อสารด้วยข้อมูลปริมาณมากด้วยความเร็ว 100 เท่า
เมื่อเทียบกับ 4G ทำให้เข้าใกล้ความเป็นโลก
ที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันโดยอย่างอัตโนมัติ
พร้อมกันนั้นโลกที่แอมเบียนต์คอมพิวติ้ง
เป็นเรื่องธรรมดาก็ใกล้จะเป็นจริงแล้ว
.
.
2.”เปโลตอง”
แพลตฟอร์มยักษ์ของวงการฟิตเนส
.
เปโลตองเป็นบริษัทที่นำนวัตกรรมสู่วงการฟิตเนส
ด้วยการทำ CS กับจักรยานออกกำลังกาย

.
เปโลตองหมายถึง ชุมนุม ชมรม กลุ่ม พรรคพวก
ของนักวิ่งมาราธอนหรือนักแข่งจักรยาน
.
เปโลตองมีธุรกิจหลากหลาย แต่เป็นธุรกิจ
ที่ต้องยกพูดขึ้นมาเป็นอันดับแรกคือ
การผลิตและจัดจำหน่ายจักรยานออกกำลังกาย
จักรยานของบริษัทอื่นอย่างมากราคาราว
50,000 เยน แต่จักรยานออกกำลังกาย
ของเปโลตองเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงกว่า
2,245 เหรียญ (ราว 2.4 แสนเยน)
.
ลักษณะพิเศษที่สุดของเปโลตองคือ
ฮาร์ดแวร์ที่เป็นจักรยานออกกำลังกาย
ไม่ใช่ “ขายเสร็จก็จบ”เพราะเปโลตองยังเป็น
บริษัท SaaS ด้วย มีการสตรีมมิงรายการ
ออกกำลังกายจากสตูดิโอที่นิวยอร์ก
ตลอด 24 ชั่วโมง และยังสตรีมมิงแบบ
ออนดีมานด์ของคลาสมากกว่า 7,000 คลาส
เหตุนี้ผู้ใช้งานจึง “เข้าฟิตเนสขณะอยู่ที่บ้านตัวเองได้”
.
โมเดลธุรกิจที่เป็น “SaaS + a Box”
ก็เป็นคีย์เวิร์ดด้วยBox เป็นฮาร์ดแวร์
ซึ่งจักรยานออกกำลังกายที่เป็นเปโลตอง
ผลิตและจำหน่ายก็ตรงกับสิ่งนี้ SaaS หมายถึง
บริการสตรีมมิงที่เก็บค่าบริการรายเดือน
.
เหมือนกับที่แอปเปิลมี iPhone เป็นฮาร์ดแวร์
และมีแอปเปิลมิวสิก หรือแอปพลิเคชันสโตร์
ก็เทียบเท่ากับ SaaS ไม่ใช่ขายฮาร์ดแวร์เสร็จก็จบ
.
และไม่ได้ทุ่มเทให้กับ SaaS เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นการดำเนินโมเดลรับสมัครสมาชิก
โดยมีฮาร์ดแวร์เป็นจุดเริ่มต้น เรื่องนี้น่าจะมอง
ในฐานะรูปแบบ SaaS แบบใหม่ที่ใช้ประโยชน์
จากจุดแข็งของอุตสาหกรรมการผลิต
.
เปโลตองเป็นบริษัทเทคโนโลยีด้วย ข้อมูลลูกค้า
(บิ๊กดาต้า) ที่ได้จากที่นั่นจะถูกวิเคราะห์ด้วย AI
เพื่อปรับความต้องการของลูกค้า เพื่อแนะนำ
โปรแกรมที่เหมาะให้กับลูกค้า เรียกว่า
เปโลตองก็คือ “เน็ตฟลิกซ์ของวงการฟิตเนส”
.
จุดที่มองข้ามไม่ได้คือธุรกิจนี้เป็นการบูรณา
การแนวดิ่ง ทั้งเพลงและโลจิสติกส์
เปโลตองเสนอสินค้าและบริการ
แบบเชื่อมโยงกันทั้งหมด🙂
.
เรื่องที่น่าตกใจคือ เรื่องที่พนักงานส่งของ
ของบริษัทไปติดตั้งจักรยานออกกำลังกาย
และอธิบายวิธีใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
ให้แก่ลูกค้ายังละเอียด พิถีพิถัน
ทำไมเปโลตองทำถึงขนาดนั้น หากมองในแง่
ของความคุ้มค่าทางการเงินแล้ว บริษัทSaaS
ไม่จำเป็นต้องอุตส่าห์ทำเรื่องฮาร์ดแวร์
หรือทำโลจิสติกส์ด้วยตัวเองเลยแม้แต่น้อย
.
แต่เปโลตองกับบูรณาการในแนวดิ่ง เพราะว่า
นั่นเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดเพื่อการสนอง
คัสตอมเมอร์เอกซ์พีเรียนซ์ที่ยอดเยี่ยมได้
.
ธุรกิจของเปโลตองไม่ใช่ “ขายเสร็จก็จบ”
แต่ทุ่มเทกับการ “ให้ลูกค้าอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง”
.
ลูกค้าเริ่มจากการซื้อจักรยานออกกำลังกาย
ของเปโลตองแล้วค่อยค่อยใช้บริการต่างๆ
ตามมาเรียกได้ว่า ตัวจักรยานออกกำลังกาย
เป็นเพียงปากทางเพื่อการมีประสบการณ์
(เอกซ์พีเรียนซ์) ที่สะดวกทำต่อไปเรื่อยๆ
.
ที่เปโลตองต้องเข้าสู่ธุรกิจรีเทล (ค้าปลีก)
ก็เพื่อสร้างคัสตอมเมอร์เอกซ์พีเรียนซ์เท่านั้น
เปโลตองไม่เพียงจำหน่ายออนไลน์แบบ D2C
แต่ยังมีร้านค้าจริงที่ศูนย์การค้า 24 แห่งทั่วสหรัฐ
.
นั่นไม่ใช่เพื่อการขายจักรยานออกกำลังกาย
แต่เพื่อใช้เป็นจุดสัมผัสจริงกับลูกค้า
และเสนอคัสตอมเมอร์เอกซ์พีเรียนซ์
อันวิเศษผ่านการทดลองใช้จริง
.
เปโลตองบรรลุการเติบโตอย่างรวดเร็ว
จากแรงหนุนของความต้องการเล่นฟิตเนส
ที่บ้านเพิ่มขึ้นในวิกฤตการณ์โควิด 19
แต่โควิด 19 เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเติบโต
.
เปโลต้องทำ DX อย่างไม่ผิดพลาดกับแก่นแท้
ของธุรกิจจักรยานออกกำลังกาย
สร้างชุมชนเชื่อมโยงกับลูกค้าโดยไม่ต้อง
“ขายเสร็จก็จบ” มี “การใส่ใจในรายละเอียด
อย่างจริงจัง”😌
.
กับการเสาะแสวงหาไม่เพียงการผลิต
อย่างมีคุณภาพ แต่ยังเสนอคัสตอมเมอร์
เอกซ์พีเรียนซ์ ที่บริษัทผู้ผลิตซึ่งร้านหลัง
เรื่อง DX ต้องเรียนรู้อยู่มากทีเดียว
.
.

READ  ใช้สมอง เปลี่ยนชีวิต

3.”ธนาคาร DBS”
ความท้าทายสู่ “ธนาคารดิจิทัลอันดับ 1 ของโลก”
.
ธนาคาร DBS ที่ก่อตั้งในฐานะธนาคารเพื่อ
การพัฒนาของรัฐบาลสิงคโปร์
รู้ตัวอย่างรวดเร็วถึงการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
เรียกได้ว่าเป็นสถาบันการเงินที่เก่งในด้าน
การนำดิจิทัลเข้ามาอย่างมีกลยุทธ์
ในการบริหารตนเอง
.
แม้ธนาคาร DBS มีขนาดกิจการเล็ก แต่ดัชนี
แสดงประสิทธิภาพทุนการยอมรับของตลาด
และความปลอดภัยมีกำลังการแข่งขัน
ที่สูงระดับทอปคลาส หรือจะดูมูลค่าตามราคาตลาด
รวมก็สูงกว่ามิตซูโฮะ FG SMBC กรุ๊ป
ความลับของความแข็งแกร่งของธนาคาร DBS
นั้นไม่ใช่อื่นใด ก็คือการทำ DX นั่นเอง
.
ธนาคาร DBS ลงมือทำ DX ในปี 2009
นำโดยซีอีโอกัปต้า ผู้เข้าบริษัทในปีนั้น
และซีไอโอเดวิด เกลดฮิลล์ ผู้เข้าบริษัทมาก่อน
หน้านั้น 1 ปีพวกเขาและกลุ่มผู้บริหารชูสโลแกน
3 ตัวที่น่าประทับใจ
.
🚀 “เป็นดิจิทัลจนถึงแก่นของบริษัท” หมายถึง
การทบทวนองค์กรทั้งหมดอย่างไม่มีข้อยกเว้น
ไม่ได้หยุดอยู่แค่การเป็นดิจิทัลแบบผิวเผิน
เฉพาะหน้าบ้าน อย่างเช่น ให้บริการออนไลน์
หรือมีบริการบนมือถือ แต่ยังทำดิจิทัลให้ไปถึง
งานหลังบ้าน ระดับแอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์
มิดเดิลแวร์ ฮาร์ดแวร์ หรือว่าโครงสร้างพื้นฐานด้วย
🚀 “ใส่ตัวเองเข้าไปอยู่ในคัสตอมเมอร์เจอร์นี”
แสดงถึงภาพของผู้เล่นซึ่งควรมุ่งสู่วงการ
การเงินในอนาคต ด้วยการถามความหมาย
ของการมีตัวตนของตัวเองในฐานะ
ที่เป็นธนาคารนั่นคือ…
เปลี่ยนจากทรานแซ็กชันเจอร์นีด้วย
“สายตาแบบธนาคาร” เช่น การฝากเงิน การกู้เงิน
การแลกเปลี่ยนเงินตรา สู่คัสตอมเมอร์เจอร์นีด้วย
“สายตาของลูกค้า” ที่ใกล้ชิดกับไลฟ์สไตล์
ในรูปแบบการใช้ชีวิต และความต้องการ
ของผู้ใช้งานแต่ละคน
🚀 “เปลี่ยนพนักงาน 22,000 คนให้เป็นสตาร์ตอัป”
เป็นการเปลี่ยนกรอบความคิดหมายถึง
เปลี่ยนความคิดจากทรานแซ็กชันเจอร์นี
ที่เป็นสายตาแบบธนาคารสู่การให้ความสำคัญ
กับคัสตอมเมอร์เจอร์นีด้วยสายตาลูกค้า
เพื่อการนี้จึงลงมือดำเนินการสร้างกรอบ
ความคิดใหม่ โดยเตรียมโอกาสในการเรียนรู้
เช่น แฮกกาทอน ในบริษัทหรือร่วมมือ
กับสตาร์อัปเป็นต้น
.
เปลี่ยนจากองค์กรแบบโปรเจกต์สู่องค์กร
แบบแพลตฟอร์ม จัดทีมพัฒนาที่ฉับไว
ที่สำคัญยังมีการกำหนดเป้าหมาย 4 ตัวดังนี้
.
📍“การเป็นคลาวด์เนทีฟ”
หมายถึง ทุกระดับชั้น ไม่ว่าฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
แอปพลิชัน ให้เปลี่ยนไปตามคลาวด์
วิธีนี้มีประสิทธิภาพในการลดต้นทุน
ได้อย่างมหาศาล การเปลี่ยนผ่านสู่คลาวด์
ทำให้ธนาคาร DBS ลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอดมิน ลงมากกว่า
80% อีกทั้งทำให้ระบบของธนาคารโดยรวม
แข็งแกร่งขึ้น ทั้งเรื่องความยืดหยุ่นและ
ความสามารถในการขยายตัว จึงได้รับ
ความไว้วางใจในฐานะธนาคารมากขึ้น
📍“ยกระดับสมรรถนะของระบบนิเวศด้วย API”
Open API เป็นกุญแจของระบบนิเวศ
ที่สร้างเพื่อให้ธนาคาร DBS
มุ่งเน้นคัสตอมเมอร์เอกซ์พีเรียนซ์
และให้บริการด้วยแนวคิดลูกค้า
เป็นศูนย์กลาง🙂
.
ด้วยความร่วมมือของซอฟต์แวร์บัญชี “Xero”
ซอฟต์แวร์ ERP “Tally” เป็นต้น
ทำให้สร้างระบบนิเวศกับบริษัทภายนอก
ได้มากกว่า 1,000 ระบบ
📍“การใช้แนวคิดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
อย่างจริงจังโดยขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
วิทยาศาสตร์ลูกค้า และอุปกรณ์วัดคุม
และการทดลอง”หมายถึง
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่จุดสัมผัสกับลูกค้า
เช่น การเปิดบัญชีของธนาคาร DBS
มีการโฆษณาว่า “เมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้”
สามารถทำได้แบบออนไลน์โดยไม่ต้องเข้ามา
ที่สาขาของธนาคาร กรณีที่ลูกค้ามีบัญชีอยู่แล้ว
ก็ทำเรื่องบนออนไลน์ให้เสร็จได้ในไม่กี่วินาที
หรือกรณีลูกค้าไม่มีบัญชีมาก่อน หากเป็นคน
สัญชาติสิงคโปร์ และยื่นแพลตฟอร์มข้อมูลส่วน
บุคคลที่เรียกว่า “MyInfo” ที่รัฐบาลสิงคโปร์
สร้างขึ้น ก็จะได้รับการอนุมัติเปิดบัญชีได้
ในเวลาไม่กี่วินาทีเช่นกัน
📍“ลงทุนในคนและทักษะ”
ธนาคาร DBS ยังเสริมความแข็งแกร่ง
ให้วัฒนธรรมองค์กร ดังสโลแกนที่ว่า
“เปลี่ยนพนักงาน 22,000 คนให้เป็นสตาร์ตอัป”
.
โดยกำหนดแนวทาง 5 ประการ เพื่อปลูกฝัง
กรอบความคิดให้เป็นวัฒนธรรมเช่นเดียวกับ
สตาร์ตอัป นั่นคือ “มีแนวคิดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
อย่างจริงจัง” “ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล”
“ท้าทายกับการทดลองที่ต้องเสี่ยง”
“แบบฉับไว (agile) และ “เป็นองค์กรเรียนรู้”
.
แกนดัล์ฟทรานส์ฟอร์เมชัน
แกนดัล์ฟ (Gandalf) คือตัวย่อของบริษัท
เทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง กูเกิล แอมะซอน
เน็ตฟลิกซ์ แอปเปิล ลิงก์อิน เฟซบุ๊ค
และเพิ่มตัวย่อ D ของธนาคาร DBS เข้าไป
.
นี่เป็นการแสดงการตัดสินใจที่ธนาคาร DBS
จะเป็นธนาคารในระดับเดียวกับบริษัท
เทคโนโลยียักษ์ใหญ่ และพยายามเรียนรู้
ลักษณะพิเศษจากแต่ละบริษัทดังนี้
.
G: มุ่งสู่การเป็นโอเพ่นซอร์สซอฟแวร์แบบกูเกิล
A: บริหารจัดการคลาวด์บน AWS แบบแอมะซอน
N: ให้คำแนะนำเป็นการส่วนตัวโดยใช้ประโยชน์
จากข้อมูลแบบเน็ตฟลิกซ์
D: DBS จะเป็น “D” ของ “แกนดัล์ฟ”
A: แนวคิดด้านดีไซน์แบบแอปเปิล
L: ต้อง “เป็นชุมชนเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง”
แบบลิงค์อิน
F: ต้อง “มีการขยายวงไปยังผู้คนทั่วโลก” แบบเฟซบุ๊ก
.
ธนาคาร DBSได้ทำในสิ่งที่เหมือนกับเหล่า
ตัวทำลายสถาบันการเงินทำด้วยตัวเอง
อย่างห้าวหาญถึงที่สุดโดยผ่านการ
“ทำร้ายตัวเอง” นั่นคือ ขยายระบบนิเวศ
โดยนำข้อมูลบิ๊กดาต้าที่เกี่ยวกับช่องทาง
การจำหน่าย โลจิสติกส์ และกระแสเงินสด
มาใส่ที่หลังบ้าน หน้าบ้าน บุคลากร
และวัฒนธรรมองค์กร สร้างสรรค์คัสตอมเมอร์
เอกซ์พีเรียนซ์ที่ยอดเยี่ยม และบริการทางการเงิน
ขณะสร้าง “ความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง
กับลูกค้า” การหมุนตามวงจรนี้คือ
แก่นแท้ของ DX ซึ่งธนาคาร DBS
กำลังผลักดันให้ก้าวหน้า
.
.
 4.”แอมะซอน”
“หลังเบซอส” คือการครองความเป็นเจ้า
ในการทำ DX ด้านเฮลท์แคร์
.
แอมะซอนโมนิทรอน ตัวทำ DX
อุตสาหกรรมการผลิต
แอมะซอนโมนิทรอนคือ บริการตรวจจับ
การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของเครื่องจักร
อุตสาหกรรมโดยใช้แมชชีนเลิร์นนิง
เป็นโปรแกรม “การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์”
ด้วยการติดเซ็นเซอร์เข้าไปที่เครื่องจักร
อุตสาหกรรมเช่น มอเตอร์เกียร์บ๊อกซ์ พัดลม
ลูกปืน คอมเพรสเซอร์ แล้วสังเกตการณ์
(มอนิเตอร์) เครื่องจักรอุปกรณ์ด้วยการ
ดูดข้อมูลไปที่ AWS หากพบตรวจความผิดปกติใด
ก็จะส่งสัญญาณไปเตือนที่แอปพลิเคชัน
บนมือถือของผู้รับผิดชอบ
.
ต่างจาก “การซ่อมเมื่อเครื่องเสีย”
ซึ่งเป็นการจัดการเมื่อเกิดการขัดข้อง
หรือผิดปกติแล้ว แต่การมอนิเตอร์สภาพของ
เครื่องจักรอุปกรณ์ แล้วซ่อมบำรุงก่อนเกิด
ความเสียหาย เป็นการลดเวลาหยุดเครื่องนอกแผนได้
.
บริการนี้จึงมีคุณค่าควรแก่การจับตามอง
เพราะเป็นสิ่งที่มีความหมายยิ่งใหญ่มากในแง่ที่ว่า
“แอมะซอนได้เข้าสู่งาน DX อุตสาหกรรม
การผลิตอย่างจริงจังแล้ว”
.
อุตสาหกรรมการผลิตก็เปลี่ยนจาก
“การต่อสู้ด้วยตัวสินค้า” สู่ “การต่อสู้ด้วยระบบนิเวศ”
แอมะซอนโมสนิทรอนเป็นก้าวแรกของการทำ DX
ในอุตสาหกรรมการผลิตโดยแอมะซอน
ตอนนี้อุตสาหกรรมทั้งหมดกำลังเปลี่ยน
“เงื่อนไขการแข่งขัน”
.
อุตสาหกรรมการผลิตก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น
ดังที่โทรศัพท์มือถือและรถยนต์กำลังเป็นเช่นนี้
มากขึ้น แต่ในที่สุดมันส่งผลกระทบถึงการทำ
DX กับอุตสาหกรรมการผลิตโดยทั่วไป
.
สิ่งที่เป็นเครื่องบอกก็คือ แอมะซอนโมนิทรอน
พยายามจะเป็นเจ้าของตลาด DX
ของอุตสาหกรรมการผลิตโดยเริ่มจาก
แอมะซอนโมนิทรอน..
.
“ขยายตัวสู่ธุรกิจเฮลท์แคร์”
มาดูธุรกิจเฮลท์แคร์แต่ละตัวของแอมะซอน
.
🚀 “แอมจะซอนเฮลท์เลก” บริการที่เกี่ยวเนื่อง
กับข้อมูลทางการแพทย์ของ AWS
แอมะซอนเฮลท์เลกถูกวางตำแหน่งให้เป็น
ฟังก์ชันหนึ่งของ AWS เปิดตัวเมื่อปลายปี 2020
เพื่อรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์จากโรงพยาบาล
ร้านขายยา แล้วแปลงวิเคราะห์ให้ผู้ทำงาน
ด้านการแพทย์ บริษัทประกัน บริษัทผู้ผลิตยา
และอื่นๆลักษณะพิเศษนั้นอยู่ที่การเรียบเรียง
จัดทำดัชนี ทำเป็นโครงสร้างของข้อมูลทางการ
แพทย์จำนวนมหาศาลที่เกี่ยวกับคนไข้
ซึ่งเคยอยู่กระจัดกระจาย ด้วยการใช้การ
ประมวลผลภาษาธรรมชาติของ AI
.
แม้จะเป็นข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ขาดความคงเส้นคงวา
แต่ก็สามารถดึงออกมาใช้เป็นข้อมูลทางการ
แพทย์ในรูปแบบที่ใครๆก็ใช้งานได้ง่ายขึ้น
🚀 “แอมะซอนแคร์” บริการตรวจและรักษา
สำหรับพนักงาน
แอมะซอนแคร์เป็นบริการทางการแพทย์สำหรับ
พนักงานของแอมะซอนและครอบครัว
นอกจากจะตรวจโรคออนไลน์ด้วยการสนทนา
ทางวิดีโอและแชทด้วยตัวอักษร
ผ่านแอปพลิชันเฉพาะ ยังรับการดูแล
หรือการพยาบาลได้ถึงที่ตามความจำเป็น
รวมถึงบริการส่งยาตามใบสั่งแพทย์
แบบจำกัดพื้นที่ด้วย
🚀 “แอมะซอนฟาร์มาซี” ร้านขายยาออนไลน์
แอมะซอนฟาร์มาซีเป็นบริการร้านขายยา
ออนไลน์ตามใบสั่งยา เริ่มให้บริการเมื่อเดือน
พฤศจิกายน 2020 สมาชิกสามารถสั่งซื้อยา
ตามใบสั่ง เวชภัณฑ์ จัดการใบสั่งยา
และลงทะเบียนประกันชนิดต่างๆ
.
โดยกลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกของแอมะซอน
อายุมากกว่า 18 ปี หากเป็นสมาชิกไพรม์
มีสิทธิประโยชน์คือค่าส่งฟรีและได้รับส่วนลด
ในการซื้อยาตามใบสั่งที่ร้านขายยาที่ร่วม
รายการ ไม่ได้จำกัดแค่พนักงานของแอมะซอน
แต่ยังให้บริการอย่างกว้างขวางในสหรัฐแล้ว
🚀 สกิลของ “อเล็กซา” AI จดจำเสียงมาช่วยจัดยา
แอมะซอนได้ร่วมกับ Giant Eagle Pharmacy
เชนร้านขายยา พัฒนาสกิลการช่วยจัดยา
โดยผ่าน “อาเล็กซา”AI จดจำเสียง
สามารถใช้ทักษะนี้ในการกำหนดการเตือน
การกินยาตามใบสัญญาของคนไข้
และสั่งยาเติมได้ตามความจำเป็นด้วย
🚀 “แอมะซอนฮาโล” แพลตฟอร์มเฮลท์แคร์
และเวลเนส
“แอมะซอนฮาโล” อุปกรณ์สวมใส่สำหรับ
เล่นฟิตเนส เริ่มให้บริการในสหรัฐ
เป็นสิ่งที่รวบรวมข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้งาน
ที่เป็นแถบรัดข้อมือ ที่มีเครื่องวัดความเร่ง
เซ็นเซอร์อุณหภูมิ เครื่องวัดชีพจร ฝังไมค์ 2 ตัว
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลนี้แล้ว จัดแสดงสภาพ
สุขภาพของผู้ใช้งานบนแอปพลิชัน
.
ซึ่งเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ข้อมูลส่วนบุคคลของ
ผู้ใช้งานที่วัดได้จากถูกนำเข้ารหัสแล้วส่งต่อไป
เก็บรักษาและจัดการที่ AWS แถบรัดข้อมือ
มีสามารถซื้อได้อีคอมเมิร์ซของแอมะซอน
โดยพร้อมบริการรับสมาชิกที่เชื่อมโยงกัน
.
ธุรกิจเฮลท์แคร์ของแอมะซอนซึ่งมีแหล่งทำเงิน
ที่มั่นคงเป็นการจำหน่ายเวชภัณฑ์
และมีบริการสำหรับผู้ประกอบการ ก็ทำให้รู้สึก
ถึงความสามารถในการเติบโตได้
.
แอปเปิลและแอมะซอนบริษัทไหนจะได้
ครองความเป็นเจ้าธุรกิจเฮลท์แคร์
คำตอบนั้นน่าจะเป็นเรื่องของอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า