เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่ง เราจะเริ่มเบื่อ หมดไฟ และเริ่มสูญเสียความเป็นตัวเองไป
Part 1 ทำงานแบบเป็นตัวเองมากกว่านี้
- คนที่เข้าใจตัวเราดีที่สุด อาจไม่ใช่ตัวเราเองเสมอไป
- สิ่งสำคัญในการทำงานคือ ตัวตนที่ไม่รู้จัก
1. หน้าต่างจุดบอด ในทฤษฎี
1. หน้าต่างเปิดเผย > ตัวเองรู้จัก x คนอื่นรู้จัก
2. หน้าต่างจุดบอด > ตัวเองไม่รู้จัก x คนอื่นรู้จัก
3. หน้าต่างซ่อนเร้น > ตัวเองรู้จัก x คนอื่นไม่รู้จัก
4. หน้าต่างลึกลับ > ตัวเองไม่รู้จัก x คนอื่นไม่รู้จัก
คนเรามักเปิดหน้าต่างแค่ 2 บาน คือ 1 กับ 3 แต่ความเป็นจริง ปัจจัยสำคัญในการทำงานคือ หน้าต่างจุดบอด คือ ทั้งข้อดี เสน่ห์และศักยภาพเหนือความคาดหมายของคุณ ก็ต่างซ่อนอยู่ในหน้าต่างบานนี้
- ข้อบกพร่องเป็นสิ่งที่ตัวเราเอง มักไม่สังเกตเห็น แต่ในนั้น ก็ยังมีข้อดีที่เราไม่ได้สังเกตเห็นด้วยเช่นกัน
- ความเป็นตัวเองกับสิ่งที่ชอบ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอไป
2. ถ้าไม่อยากเป็นทาสบริษัท ต้องรู้จักจุดแข็งที่แท้จริงของตัวเองให้ได้ก่อน
ตัวเราในสายตาของคนอื่น คือกุญแจแห่งการเติบโต ถ้าทำงานโดยไม่ตระหนักถึงความเป็นตัวเองและไม่แสดงตัวตนให้คนรอบข้างเห็น ผลก็คือ คุณจะได้ทำแต่ทำงานที่ใคร ๆ ก็ทำได้
3. พรสวรรค์ของคุณ อาจซ่อนอยู่ในคำขอบคุณจากคนรอบข้าง
ให้ลองตัดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบออกไป นึกถึงเรื่องที่คุณเคยทำและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งการไม่หลงเชื่อคำชมจอมปลอมสำคัญ
4. ยิ่งไม่รู้ว่าเป็นงานที่ทำไปเพื่ออะไร ยิ่งต้องลองทำจนกว่าจะเห็นผล
สั่งสมประสบการณ์การทำงานและผลงาน คุณจะพบจุดแข็งของตัวเอง “พัฒนาสิ่งที่เก่งอยู่แล้วให้เก่งยิ่งขึ้น ดีกว่าฝืนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด” แต่ก็จงทำต่อไปถึงแม้ไม่อยากที่จะทำ เพื่อฝึกฝนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย
งานที่เราคิดว่าไม่ชอบอาจช่วยให้ค้นพบพรสวรรค์ ที่ไม่คาดคิดมาก่อนก็ได้ คนบางคนก็ประสบความสำเร็จได้ นั่นหมายความว่า เขาอาจไม่ชอบงานที่ทำ แต่เขาเหมาะกับงานนั้นนั่นเอง
5. ความอึดอัดใจ ทำให้คุณค้นพบพรสวรรค์และจุดแข็งที่คาดไม่ถึง
ต่อให้พูดไม่เก่ง ไม่ถนัดขายของ แต่ถ้าความรู้แน่น ลูกค้าก็ไว้วางใจได้เหมือนกัน งานที่เราคิดว่าถนัดหรือมั่นใจ อาจไม่ใช่งานที่เราทำได้ดีเสมอไป ซึ่งถ้าเราทำงานที่อึดอัดใจต่อไปแบบนี้จนพบจุดแข็ง จุดแข็งนี้แหละที่จะได้รับการขัดเกลาจนกลายเป็นตัวตนของคุณในที่สุด
6. ขัดเกลาพรสวรรค์ด้วยงาน ที่ทำให้หมกมุ่นจนลืมเวลา
ความทุ่มเทให้กับงาน คือจุดเริ่มต้นในการสร้างความเป็นตัวเอง ถ้าคุณทำงานด้วยความตั้งใจ ว่าจะทำให้ดีกว่าที่คาดหวัง ลักษณะเฉพาะตัวของคุณก็จะปรากฏในงานอย่างแน่นอน
ไม่เลือกงานและหมั่นหาประสบการ์ณให้มาก คือทางลัด “เราต้องได้เรียนรู้อะไรที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจจากงานนี้แน่ ๆ”
7. ยอมล้มเหลวดีกว่าเสียโอกาส เพราะไม่กล้าท้าทายสิ่งใหม่ ๆ
ถ้ามัวแต่กลัวผิดพลาด ก็ไม่ได้พัฒนาพรสวรรค์และเอกลักษณ์เฉพาะตัว คนเรามักจะคำนึงถึงถึงสถานะของตัวเองว่า ถ้าทำงานเกินคำสั่งแล้วล้มเหลวก็แย่แน่ ๆ สู้ทำงานตามคำสั่งเลยปลอดภัยกว่า การคิดแบบนี้จึงทำให้ตัวเราเองไม่มีวันรู้ความสามารถของตัวเองและไม่มีโอกาสพัฒนาตัวเองด้วยเช่นกัน
Part 2 ใช้มุมมองแบบหัวหน้า ออกแบบเส้นทางสายอาชีพ จนถึงอายุ 35 ของตัวเอง แล้วคุณจะพบวิธีทำงานที่ไม่ต้องกลายเป็น “ทาสบริษัท”
วางแนวทางการทำงานของตัวเอง โดยอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้ในช่วงวัย 20 และกำหนดทิศทางของตัวเองให้ได้ภายในอายุ 35 ยิ่งเป็นงานที่ทำให้ใครก็ได้ คุณยิ่งต้องพยายามพลิกแพลง โดยเพิ่มมูลค่าความเป็นตัวเองเข้าไปในงานด้วย
3 คีย์เวิร์ดในการทำงาน
– สร้างสรรค์(ทำสิ่งใหม่)
– พัฒนาให้ดีขึ้น(ปรับปรุง)
– ทำให้เป็นระบบ(จัดระเบียบขั้นตอนให้เกิดประสิทธิภาพ)
คุณจะสามารถเพิ่มศักยภาพให้ตัวเอง จุดสำคัญคือตอนลงมือทำ จริงอยู่ที่ว่าต้องไม่ทำไปแบบส่ง ๆ ตามคำสั่ง แต่ให้เผชิญหน้ากับงาน โดยตระหนักเสมอว่า “ไหน ๆ ก็จะทำแล้ว ต้องทำให้ดีกว่าเดิม”
3 ข้อที่ควรใส่ใจในการทำงานเป็นทีม
– ไปให้ถึงจุดหมาย
– รู้จักมองปัญหาอยู่เสมอ
– ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขอให้คิดบวกไว้ก่อน
เมื่อไปถึงจุดหมาย แล้วไม่เป็นตามที่คาดหวัง แต่คุณก็ยังได้ประสบการณ์จากการไม่ทิ้งงานกลางคัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเราอย่างแน่นอน เริ่มต้นงานด้วยมุมมองที่ว่า ปัญหาย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ
Part 3 เมื่อ “ให้คำมั่น” แม้กับงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ธงแสดง “ตัวเรา” จะแจ่มชัดขึ้น
– ต่อให้งานยุ่ง แต่ถ้าคุณมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ ก็จะได้รับผลตอบแทนในอีกรูปแบบหนึ่งกลับมา
– ยินดีรับทุกงานแม้แต่งานเล็ก ๆ เพื่อให้ก้าวหน้า
– เพิ่มมูลค่าด้วยการทำอะไรที่มากกว่าแค่ทำตาม
4 วิธีเพิ่มมูลค่าให้กับงาน
– เปลี่ยนมุมมอง
– ขยายขอบเขต
– ทำให้เข้าใจง่าย
– ทำให้สนุก
ยิ่งเป็นงานที่ราบรื่นไร้ปัญหา เราก็มักหลงคิดว่าวิธีที่ใช้มาตลอดดีอยู่แล้ว จึงควรตั้งมั่นว่าจะปรับปรุงงานอย่างจริงจัง
กำหนดเป้าหมายงานที่คุณได้รับ ให้เหมือนกำลังเล่นเกม และเมื่อจบหนึ่งวัน ให้ทบทวนดูว่า “สิ่งที่ได้ในวันนี้คืออะไร”
Part 4 ติดต่อสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เพื่อขัดเกลาจุดแข็งและพรสวรรค์ในการทำงาน
- การปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ต้องติดต่อดับด้วยเรื่องงาน ก็มีส่วนช่วยให้คุณค้นพบพรสวรรค์ของตัวเอง
- ถ้อยคำที่มีค่า คือถ้อยคำที่ช่วยบอกใบ้ให้คุณค้นพบความเป็นตัวเอง
- คนที่จะมอบถ้อยคำนั้นแก่คุณ คือคนใกล้ตัวที่พูดจาไม่รื่นหูกับคุณ
- คนที่ไม่ฟังคำพูดคนอื่นเลยคือคนที่คิดว่าตัวเองเข้าใจตัวเองดีแล้ว ส่วนคนที่เชื่อทุกอย่างโดยไม่คิด คือคนที่ไม่มั่นใจหรือสับสนในตัวเอง
- อย่าทำลายความเป็นตัวเอง เพราะไม่มั่นใจในตัวเอง
- เราไม่รู้จุดแข็งของตัวเอง จึงไขว้เขวไปตามคำพูดของคนอื่น
- การทิ้งตัวตน คือการถูกดูดกลืนบรรยากาศรอบตัวไป ทำให้เชื่อคำพูดของคนอื่นจนกลายเป็นหุ่น copy ของคนนั้น หรือเป็นไปตามที่เขาคาดหวัง จนกลายเป็นทำลายความเป็นตัวเองไปในที่สุด
- พัฒนาตัวเองด้วยการรับฟัง และยอมรับเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปด้วย
Part 5 สิ่งที่อยากบอก คนที่จู่ ๆ ก็หยุดนิ่งไปเสียเฉย ๆ
- ถ้าคุณตั้งใจจะทำงานในโครงสร้างแบบบริษัทตลอดไป ก็ควรเตรียมใจไว้เลยว่า ในอนาคตคุณต้องขึ้นเป็นผู้บริหารและต้องบริหารจัดการคนด้วย
- ผู้บริหารแยกแยะได้ว่าอะไรคือหน้าที่ของตน
- น่าเสียดาย แต่บริษัทไม่มีที่ให้คนที่คิดจะหยุดนิ่งหรอก
- การตัดสินใจว่าอยู่แบบนี้ก็ดีแล้ว เป็นเรื่องอันตราย
- ถ้าพอใจว่า อยู่ในระดับนี้ก็ดีแล้ว ไม่ยอมพัฒนาและเปลี่ยนแปลง สุดท้ายก็ต้องยกตำแหน่งให้คนอื่นไป
- แผนความก้าวหน้าในอาชีพไม่เป็นตามที่วาดไว้ ถือเป็นเรื่องธรรมดา
- อย่าสรุปอะไรด้วยโลกแคบ ๆ ของเรา