Search
Close this search box.
อย่าเป็นคนเก่ง ที่คุยไม่เป็น

อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

หากพูดถึง “การคุยเล่น” หลาย ๆ คนคงจะคุ้นชินและทำสิ่งนี้ในชีวิตประวันอยู่แล้ว แต่ทว่าในทางธุรกิจนั้น “การคุยเล่น” เปรียบเสมือนอีกหนึ่งช่องทางที่จะนำคุณสู่ความสำเร็จ หรือเปลี่ยนจากคนธรรมดา สู่คนชั้นแนวหน้า ได้อย่างเหลือเชื่อ

เพราะการสื่อสารที่ดี คือสิ่งสำคัญในการติดต่อทางธุรกิจ พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อคุณประสบความสำเร็จในการสื่อสาร ก็จะเกิดผลกระทบดี ๆ ต่อชีวิตของคุณอย่างมหาศาล ในบรรดานักธุรกิจ พนักงานขายที่เก่ง ๆ หรือศิลปินดาราในวงการบันเทิง

หลายคนมีเทคนิค “การเป็นที่ชอบของคนอื่น” ซึ่งอาศัยการพูดเพียงแค่ไม่กี่นาที วันนี้เราจะมาสรุปแง่คิดที่จะเปลี่ยน “การคุยเล่นที่ไร้สาระ” ให้เป็น “การคุยเล่นแบบคนชั้นแนวหน้า” อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น

1.วิธีเริ่มต้น “คุยเล่นแบบคนชั้นแนวหน้า”

ผลจากการวิจัยต่าง ๆ พบว่า คนเราจะประเมินอีกฝ่ายแบบคร่าว ๆ ตั้งแต่นาทีแรกที่เริ่มสนทนา โดยใช้เวลามากสุดไม่เกิน 4 นาที

ข้อความข้างต้นเป็นสิ่งที่บอกว่า เพราะเหตุใดเราจึงจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนทักษะการพูดคุยให้ดี เพราะการเริ่มต้นพูดคุยไม่กี่คำนั้น ก็อาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้

จุดสำคัญในการเริ่มต้นคือการเปลี่ยน “การคุยเล่นแบบไร้การวางแผน” ให้เป็น “การคุยเล่นแบบมีแผนการ” ลักษณะเฉพาะของคนพูดไม่เก่งอย่างหนึ่งคือ การพูดเยิ่นเย้อเกินความจำเป็น ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการไม่วางแผนว่า “จะพูดคุยเพื่อเป้าหมายอะไร” ในทางกลับกันคนที่สื่อสารเก่งจะคำนึงถึงเป้าหมายในการพูด จึงทำให้พูดได้อย่างกระชับ และไม่มีส่วนที่เปล่าประโยชน์นั่นเอง

2.ต้องใช้หัวข้อสนทนาแบบไหน การคุยเล่นถึงจะสนุกสนาน

คนเรามีความสนใจในเรื่องที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเรื่องที่จะดึงดูดความสนใจของอีกฝ่ายได้ง่ายที่สุดก็คือ “เรื่องที่เป็นประโยชน์กับอีกฝ่าย” ตัวอย่างเช่น ถ้าหากรู้ว่าคู่สนทนาสนใจเรื่องการแต่งตัว ก็ให้ลองหาข้อมูลที่เกิดจาก “การคุยเล่นแบบมีแผนการ” และบอกข้อมูลนั้นกับอีกฝ่าย ถ้าอีกฝ่ายยังไม่รู้ข้อมูลนั้นมาก่อนก็น่าจะเกิดความสนใจ หรือถ้าหากรู้อยู่แล้ว การสนทนาในเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจก็จะช่วยให้การสนทนาสนุกสนานครึกครื้นได้อยู่ดี

3.วิธีฟังที่ทำให้คู่สนทนาเปิดใจให้โดยไม่รู้ตัว

ปัญหาสำคัญในการสื่อสารปัจจุบันคือการมี “ผู้พูด” แต่ไม่มี “ผู้ฟัง” จึงทำให้ไม่เกิดการสื่อสารจริง ๆ เนื่องจากสารของอีกฝ่ายไม่ได้ไปสู่อีกฝ่าย เราจึงจำเป็นที่จะต้องขัดเกลาวิธีฟังของตนเอง เพื่อช่วยให้ทักษะการคุยเล่นและการสื่อสารสูงขึ้น

ในขณะที่ฟังนั้น การพยักหน้ารับรู้ หรือการตั้งคำถามต่อจากสิ่งที่ฟัง จะช่วยให้การสนทนาดำเนินไปอย่างลื่นไหล นอกจากนี้การมองคู่สนทนาด้วยสีหน้าและสายตาที่อ่อนโยน ก็จะช่วยให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจ และอยากจะคุยต่อไปในประเด็นอื่น ๆ ด้วย

READ  NETFLIX กฎที่นี่ คือไม่มีกฎ

4.วิธีที่ช่วยให้สามารถลดระยะห่างได้ทันทีที่เจอกัน

ในการคุยเล่นนั้นก็ต้องมีเทคนิคบางอย่างที่จะช่วยลดระยะห่างของการสนทนาได้ ก่อนอื่นคุณต้องแสดงท่าทีที่เป็นมิตรก่อน เพราะวิธีพูดและอากัปกิริยาเล็ก ๆ น้อย ๆ จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตัวคุณในสายตาอีกฝ่ายเสมอ 

จากนั้นให้ลองหาวิธีการคุยเล่นให้สนุกขึ้น ด้วยการเล่าเรื่องที่เกินจริงเล็กน้อย เพื่อดึงดูดความสนใจของอีกฝ่าย อาจมีการปรับโทนเสียงให้น่าสนใจ และพยายามอย่าใช้เสียงโทนต่ำจนเกินไป เพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณเป็นคนที่หม่นหมอง หรือไม่มีชีวิตชีวา และไม่น่าพูดคุยด้วยนั่นเอง

เมื่อบรรยากาศการคุยกำลังเข้าที่เข้าทางแล้ว ให้ปิดการสนทนาด้วยการ “แสดงตัวเป็นแฟนคลับ” เพื่อสร้างความประทับใจให้กับอีกฝ่าย เนื่องจากมนุษย์เรามีกฎที่เรียกว่า “กฎการตอบแทน” โดยเราจะสะท้อนความรู้สึกที่ได้รับจากอีกฝ่ายกลับคืนไปเหมือนกับกระจกเงา พูดง่าย ๆ คือ มนุษย์เรามีความคิดว่า อยากตอบแทนความรู้สึกดี ๆ ที่ได้รับจากอีกฝ่าย ด้วยการมอบความรู้สึกดี ๆ ของตัวเองกลับคืนไปเช่นกัน

5.วิธีคุยเล่นในการเจอกันครั้งถัดไป ที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ดียิ่งขึ้น

คนเรามักจะลืมระยะห่างระหว่างกันได้ง่าย ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งรู้สึกห่างเหินกันมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นในการเจอกันครั้งถัดไป ให้ลองเริ่มจากวิธีง่าย ๆ เช่น พูดเรื่องที่เคยคุยตอนเจอกันครั้งแรก หรือเมื่อครั้งที่ผ่านมา วิธีนี้จะช่วยให้การสนทนาของคุณกลับมาลื่นไหลได้เร็วขึ้น 

อีกวิธีหนึ่ง คุณอาจใช้การติดต่อกันทางโทรศัพท์ หรือทางออนไลน์ เพื่อคงความสัมพันธ์เอาไว้ การโทรศัพท์นั้นนอกจากจะเป็นการสื่อสารกับอีกฝ่ายแบบไม่ทันให้ตั้งตัวแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าถึงตัวตนของอีกฝ่ายได้ง่ายขึ้นด้วย โดยในการคุยนั้นอาจใช้การแสดงความรู้สึกว่า “คิดถึง” หรือถามสารทุกข์สุกดิบของอีกฝ่ายก็ได้

6.เปลี่ยนหัวข้อสนทนาและวิธีพูดตามคู่สนธนา

ในชีวิตประจำวันนั้น เราอาจจะต้องปรับตัวอยู่เวลาเพื่อให้เข้ากับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัย การทำงาน หรือแม้แต่การท่องเที่ยว เช่นเดียวกัน ในการสื่อสารนั้นก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับคนประเภทต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบคือ คู่สนทนาเป็นคนประเภทไหน เช่น เป็นคนอ่อนโยน เป็นนักวิเคราะห์ เป็นคนขี้เกรงใจ หรือเป็นคนชอบเข้าสังคม เป็นต้น โดยวิธีการรับมือกับคนแต่ละประเภทก็จะต้องแตกต่างกันไป คนบางประเภทอาจไม่เหมาะกับการคุยเล่นด้วย ในขณะเดียวกันเมื่อต้องคุยกับคนที่มีความถนัดในการคุยเล่นมาก ๆ คุณก็อาจจะต้องเป็นฝ่ายตบบทสนทนาให้กลับมาที่เป้าหมายของการคุยในครั้งนั้น

ถึงแม้การคุยเล่นจะเป็นสิ่งที่เราทำกันจนเคยชิน แต่อย่าลืมว่าในชีวิตการทำงานนั้น การคุยเล่นอาจนำมาสู่ผลตอบรับที่ดี หรือสิ่งที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้ ดังนั้นการฝึกฝนการพูดคุย หรือการทำการบ้านเพื่อเป้าหมายในการพูดคุยแต่ละครั้ง จะทำให้สิ่งที่คุณต้องการมีโอกาสสำเร็จได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า