เงิน “1 ล้าน” กับ “1 พันล้าน” ต่างกัน
มากน้อยแค่ไหน
“มีโอกาส 20% ที่จะป่วย” นับว่าน่ากังวลเพียงใด
ระบบสุริยะที่ห่างออกไป 4 จุด 25 ปีแสงนั้น
ห่างไกลขนาดไหนกันแน่
วลี “เหมือนถูกลอตเตอรี่” แท้จริงแล้ว
มีความเป็นไปได้เท่าไหร่
.
มนุษย์กับตัวเลขไม่ได้เกิดมาคู่กัน
ข้อมูลตัวเลขซับซ้อนอย่างปริมาณสารพัดหน่วย
เศษส่วนทศนิยมยิบย่อย หรือจำนวนนับหมื่น
นับแสนล้าน จึงเป็นเหมือนภาษาแปลกแปร่ง
ที่ไหลผ่านเข้าหัวแต่ไม่มีวันเข้าใจ
แต่ว่าคงจะรู้จัก “แปล” ตัวเลขให้เป็น
.
ชิป ฮีธ และ คาร์ลา สตาร์ สองผู้หลงใหล
ในพลังของตัวเลข กลั่นกรองประสบการณ์
และกรณีศึกษาจากหลากหลายแวดวง
รวบรวมรวมเป็นคู่มือการสื่อสารตัวเลข
ให้เข้าใจง่าย ติดตรึงใจ
หรือใช้ประโยชน์ได้จริง…
.
ไม่ว่าตัวเลขจะเป็นยาขมหรือขนมหวาน
สำหรับคุณ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณ
“เล่าเลขให้เป็นเรื่อง” เปลี่ยนสถิติแห้งแล้ง
ให้มีสีสัน และสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจความหมาย
เบื้องหลังตัวเลขได้อย่างแท้จริง
.
.
1.” แปลทุกอย่างด้วยตัวเลขที่เป็นมิตร”
ตัวเลขไม่ใช่ภาษาธรรมชาติ (natural language)
ของมนุษย์ ไม่ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น หรือที่ใดบนโลกก็ตาม
ถ้าคุณกำลังกรอกฐานข้อมูลอยู่แล้ว
การเขียนตัวเลขโดยไม่มีคำอธิบาย
คงไม่เป็นปัญหา แต่ทันทีที่คุณต้องการ
ใช้ตัวเลขในการอภิปรายหรือนำเสนอ
หน้าที่สำคัญของคนคือ การแปลตัวเลข
เหล่านั้นให้เป็นภาษาคน
.
เจค ฮอฟแมน (Jake Hofman) และ
แดน โกลด์สตีน (Dan Goldstein)
นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยไมโครซอฟท์
(Microsoft Research) เชื่อมั่นในแนวคิด
ดังกล่าว พวกเขาใช้เวลาร่วมทศวรรษ
เป็นหัวหอกในโครงการที่ชื่อว่ากลไกทัศนะ
( Perspectives Engine) โดยมีเป้าหมาย
เรียบง่ายคือการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้
มนุษย์เข้าใจตัวเลขได้ง่ายขึ้น
.
บิง (Bing) โปรแกรมค้นหาข้อมูลของไมโครซอฟท์
แสดงผลด้วยข้อเท็จจริงหลายล้านข้อความ
ในแต่ละวัน ทีมกลไกทัศนะของการหาคำตอบ
ว่าการเสริมบริบทด้วยประโยคเรียบง่าย
บางประโยคอาจช่วยให้มนุษย์เข้าใจ
และจดจำตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์
จากการค้นหาได้ดียิ่งขึ้นหรือไม่
.
การใส่วลีเสริมมุมมองเข้าไปจะช่วย
ลดอัตราความผิดพลาดได้ถึงครึ่งหนึ่ง
เมื่อคนเราพยายามย้อนนึกถึง
ข้อเท็จจริงที่เคยเจอ…
.
หากใส่ใจในรายละเอียดการแปลตัวเลข
อีกสักหน่อย ความแม่นยำจะเพิ่มขึ้น
เป็นเท่าตัวจนได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งขึ้น
.
จงหลีกเลี่ยงตัวเลข: การแปลที่ดีไม่ต้องมี
ตัวเลขเสมอไป
เคล็ดลับในการแปลตัวเลขแสนนั้นเรียบง่าย
คือหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข แต่พยายามแปล
สถิติเหล่านั้นให้เป็นข้อความที่จับต้องได้
นึกภาพออก และมีความหมายชัดเจน
จนไม่จำเป็นต้องใส่ตัวเลขอื่น
.
วิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจตัวเลขได้เร็วที่สุด
คือเริ่มด้วยอะไรที่เรียบง่ายและเป็นเพียง
ชิ้นส่วนเล็กๆ เช่น พนักงาน พลเมือง
หรือนักเรียน 1 คน,ธุรกิจ 1 อย่าง,งานแต่ง 1 ครั้ง,
การแข่งขัน 1 นัดหรือวัน 1 วัน
.
โดยเน้นไปที่ประสบการณ์ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
เช่น การเยี่ยมชมต้นแบบ 1 รอบ ระยะเวลา 1 วัน
หรือ 1 เดือนในไตรมาส
.
เรามาถูกดึงดูดให้เลือกใช้ตัวเลขที่เห็นแล้ว
น่าตื่นตาตื่นใจแบบ “โอ้โห! นั่นเยอะมากเลยนะ”
ตัวเลข 35,000 อ่านแล้วรู้สึกว่าเยอะสุดๆ
ส่วนตัวเลข 27 นั้นไม่ใช่ …
หรืออย่างน้อยก็ในแวบแรก
.
ความเข้าใจผิดคิดเอาเองนี้มีชื่อเรียกว่า
“ใหญ่นิยม” (big-ism) คนเรามักทำพลาด
โดยการเลือกสิ่งที่ฟังยิ่งใหญ่หรือเยอะกว่า
ทั้งที่จริงแล้วสิ่งที่เราต้องการคืออะไร
ก็ตามที่เรานึกออกว่ามันมีขนาดเท่าไหร่
.
การเล่าทีละ 1 หน่วยโดยใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย
แต่ละ “1” ในที่นี้ยังรวมถึงกรณีศึกษาทั่วไป
ซึ่งไม่ใช่ค่าเฉลี่ย แต่เป็นตัวอย่างอธิบายแบบ
เดี่ยวๆด้วย เพราะสมองของเราประมวลผล
เรื่องเล่าได้ดีกว่าสถิตินั่นเอง
.
วิธีที่จะแปลตัวเลขให้เป็นมิตรและหลีกเลี่ยง
ความผิดพลาดมีหลากหลายวิธี
.
ยิ่งง่ายยิ่งดีจงอย่าลีรอที่จะปัดเลข
ยิ่งจะต้องได้ยิ่งดี: หลีกเลี่ยงทศนิยม
เศษส่วน หรือเปอร์เซ็นต์ แต่ใช้จำนวนเต็ม
เพื่อกล่าวถึงวัตถุทั้งก้อน
ยึดถือกฎด้วยความยืดหยุ่น
.
.
2.”ปรับตัวเลขให้เข้าใจง่าย ด้วยอัตราส่วนที่คุ้นเคย
จับต้องได้ และอยู่ในสัดส่วนมนุษย์”
หากคุณอยากให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่คุณนำเสนอ
ได้อย่างรวดเร็วแล้ว คุณต้องเปลี่ยนวิธีการ
อธิบายแนวคิดของคุณเสียใหม่ในแบบที่
ผู้ฟังคุ้นเคยอยู่แล้วเป็นทุนเดิม
.
หลายอารยธรรมใช้วิธีเช่นนี้เพื่อคิดค้นมาตราวัด
มาหลายพันปี แทบทุกวัฒนธรรมทำให้เข้าใจ
หน่วยวัดผ่านร่างกายมนุษย์ซึ่งเปรียบเหมือน
ไม้บรรทัดที่ติดตัวเราไปทุกหนทุกแห่ง เช่น
ความยาวเมื่อยืนกางแขนสองข้าง
แล้ววัดตั้งแต่ปลายนิ้วฝั่งหนึ่งไปถึงอีกฝั่ง
นับเป็นมาตราวัดที่พบได้เกินกว่าครึ่ง
ของอารยธรรมทั้งหมดที่สำรวจ [ในภาษา
อังกฤษเรียกหน่วยวัดนี้ว่า “ฟาธอม” (fathom)]
.
โดยหนึ่งในสี่ของอารยธรรมเหล่านี้
มีหน่วยวัดที่ใช้วัดความยาวแขนท่อนล่าง
(forearm) เป็นตัวเปรียบเทียบ มีชื่อเรียก
ในภาษาอังกฤษยุคกลางว่า “คิวบิต” (cubit)
ส่วนคำว่า “ไมล์” มาจากภาษาลาติน
ที่แปลว่า “หนึ่งพันก้าว”
.
การเลือกมาตราวัดที่เหมาะสมจะช่วยให้
ประเด็นและตัวเลขของเราน่าตื่นเต้น
และน่าสนใจยิ่งขึ้น…
.
การใช้ฟาธอมที่ดีจะต้องกระตุ้นให้ผู้ฟัง
เกิดคำถามพร้อมกับจุดประกายบทสนทนา
ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับตัวเลขเหล่านั้น
และเมื่อคนอื่นเริ่มพูดคุยกันถึงตัวเลข
ที่คุณนำเสนอ ก็จะประสบความสำเร็จแล้ว
.
เปลี่ยนตัวเลขนำมาทำให้จับต้องได้
ความเป็นรูปธรรมจะทำให้เราทำความเข้าใจ
ได้เร็วขึ้นและจดจำได้นานขึ้น
และมีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นเมื่อได้รับ
การถ่ายทอดจากคนหนึ่งสู่อีกคน
.
การแปรตัวเลขเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน
ยังสามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสอื่นๆ
ของผู้อ่านได้เช่นกัน
.
การเปลี่ยนตัวเลขเป็นระยะเวลาสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายสถานการณ์
สาเหตุเพราะโลกของเราถูกควบคุมด้วยเวลา
ดังนั้นเราจึงมีประสบการณ์ลดเหลือในการจัดการ
.
การเลือกวิธีเปรียบเทียบที่เหมาะสม
จะทำให้เห็นมุมมองใหม่และสร้าง
ความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
.
การเปรียบเทียบอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย
แต่การแปลงสัดส่วนแบบง่ายๆ ช่วยให้เราเข้าใจ
ภูมิศาสตร์โลกในระดับที่ค่อนข้างลึกซึ้ง
.
การเปรียบเทียบโดยสัดส่วนมนุษย์ที่เหมาะสม
คือการใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันที่ใครๆ
ก็นึกภาพออก จงเลือกใช้สิ่งที่จับต้องได้
และใกล้ตัวเสมอ
.
.
3.”เปลี่ยนวิธีคิดและทำของผู้ฟัง ด้วยตัวเลข
สะเทือนอารมณ์ ที่มีความหมายและคาดไม่ถึง”
ตัวเลขไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผู้ดูแลจัดการ
กองทัพวัย 34 ปีชื่อว่า ฟอเรนซ์ ไนติงเกล
(Florence Nighingale) ก่อนหน้านี้เธอทำงาน
อยู่ที่สถานพยาบาลสำหรับกุลสตรีชั้นสูง
(Care of Sick Gentlewomen in
Distressed Circumstances)
และ วิลเลียม ฟาร์ (William Farr)
เพื่อนของเธอซึ่งเป็นทั้งแพทย์และนักสถิติ
ผู้เข้าใจภาษาคณิตศาสตร์อย่างแตกฉาน
.
ไนติงเกลเข้าใจดีว่าสิ่งต่างๆไม่ได้เกิดขึ้นเพียง
เพราะผู้คนเข้าใจตัวเลขเหล่านั้น เราจำเป็นต้อง
แปลตัวเลขให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจูงใจ
ผู้มีอำนาจให้ตัดสินใจลงมือทำ ก้าวข้ามความ
เอื่อยเฉื่อยของระบบและหรือนโยบายที่เป็น
ต้นเหตุของหายนะในสงครามไครเมีย
.
ตัวเลขเหล่านั้นจำเป็นต้องถูกแปล
ให้ยิ่งทรงพลังและสะเทือนอารมณ์มาก
เสียจนกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
.
หลักการที่เธอใช้คือ
ใช้มาตราวัดขนาดเล็กและใช้ตะกร้า
ขนาดเดียวกัน
ใช้การเปรียบเทียบ
แปรตัวเลขให้จับต้องได้และแจ่มชัด
.
การทำตัวเลขให้เปี่ยมอารมณ์ความรู้สึก
อาจจะง่ายกว่าที่คิด คือความรู้สึกเกิดจาก
อารมณ์ ดังนั้นสิ่งต้องทำคือหาตัวอย่าง
เปรียบเทียบที่ฟังแล้วให้อารมณ์แบบ
ที่ต้องการจะสื่อ เสริมด้วยเลขหน้าเข้าไป
สนับสนุนว่าทำไมเราควรรู้สึกแบบเดียวกัน
.
ขณะที่คอนเสิร์ตกำลังจะจบลง วงดนตรีก็ปล่อย
ก๊อกสอง โดยเล่นอีกเพลงตามคำเรียกร้อง
บางครั้งก็เป็นเพลงเดิมในท่วงทำนองใหม่
ทำให้ทุกคนนั่งไม่ติด และเดินทางกลับบ้าน
พร้อมความสนุกสุดเหวี่ยง หลังจากเต็มอิ่ม
กับการแสดงที่ดีตามคาด
.
หากเราต้องการให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจกับตัวเลข
เราสามารถทำอะไรบางอย่างคล้ายกับพวกเขาได้
.
แน่นอนว่าทุกคนคงไม่รู้สึกตื่นเต้นเท่ากับ
การไปฟังคอนเสิร์ต เพราะเราคงไม่ลุกขึ้นมา
โยกตัวเมื่อได้ยินคำว่าค่าฐานนิยม
นำวิธีเดียวนี้มาประยุกต์ใช้ได้
.
เราจะเฉยชาอย่างรวดเร็วหากถูกยัดเยียด
ข้อมูลจำนวนมากทั้งหมดในคราวเดียว
แต่เรานึกดูว่าถ้าเราสร้างความประทับใจ
ให้ผู้ฟังได้ โดยการนำตัวเลขแค่เพียง
บางส่วนแล้วเก็บหมัดเด็ดเอาไว้
ปล่อยก๊อกสอง เพื่อเพิ่มโอกาสที่ข้อมูล
ทั้งก้อนจะฝังลึกในความทรงจำของผู้ฟัง
.
เทคนิคก๊อกสองเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยม
ในการอธิบายตัวเลขที่เราไม่อาจรับรู้
โดยสัญชาตญาณให้เข้าใจง่าย เช่น
เหมือนถูกลอตเตอรี่ วลีติดปากที่ถูกนำมาใช้
บ่อยครั้งจนผู้คนหลงลืมไปว่า ความน่าจะเป็น
ที่อาจถูกลอตเตอรี่นั้นมากหรือน้อยแค่ไหนกัน
.
เทคนิคก๊อกสองยังนำไปใช้ผสมผสาน
กับวิธีการอื่นๆได้อย่างยอดเยี่ยม เช่น
การสาธิตด้วยสิ่งของหรือการเล่าทีละ 1 หน่วย
.
ถ้าสถิติของคุณเป็นรูปธรรมและน่าตื่นเต้น
อยู่แล้วเป็นทุนเดิม การเล่าแบบก๊อกสอง
จะทำให้ตัวเลขนั้นเป็นที่จดจำยิ่งขึ้น
.
ดึงความสนใจของผู้คน ด้วยการตกผลึก
แล้วทุบให้แตก เมื่อชีวิตเผชิญเรื่องผิดคาด
เราจะได้สัมผัสกับความรู้สึกที่ดึงดูด
ความสนใจได้ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก
นั่นคือความประหลาดใจ การนำเสนอตัวเลข
ที่น่าประหลาดใจย่อมทำให้คนจดจำได้
.
ผู้ฟังแต่ละคนมีพื้นความรู้และความคาดหวัง
ที่แตกต่างกันหลากหลาย เรียกเทคนิคนี้ว่า
“การทำลายผลึกความคิด”
.
ขั้นแรกคุณต้องเล่าเรื่องเพื่อให้ผู้ฟัง
ค่อยๆตกผลึกความคิดในหัว ก่อนจะทำให้
พวกเขาประหลาดใจโดยการถูกทำลาย
ความเข้าใจดังกล่าวเหมือนที่เราจะไม่เห็น
.
การเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง
จากสมมติฐานที่ผู้ฟังมีอยู่ในใจ
จะทำให้ขนาดสิ่งของที่คุณนำเสนอโดดเด่นขึ้น
อย่าลืมทำให้ผู้ฟังของคุณผลึกสมมติฐาน
เหล่านั้นเสียก่อนที่จะเปิดเผยสถิติ
ทุกครั้งที่มีโอกาส
.
ความรู้สึกประหลาดใจเป็นสิ่งที่ทรงพลัง
เป็นเครื่องมืออันแข็งแกร่งที่สามารถโน้มน้าว
ความสนใจของผู้ฟังมาสู่สิ่งที่ถูกที่ควรได้
.
4.”สร้างโมเดลจำลอง”
เมื่อคุณเดินทางไปยังเมืองที่ไม่คุ้นเคย
ไม่ว่าจะเป็นกรุงลอนดอน กรุงลิสบอน
หรือกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สิ่งหนึ่งที่คุณต้องเจอ
คือแผนผังรถไฟใต้ดิน แผนผังเหล่านั้นเรียบง่าย
สีสันสดใส และไม่มีความแม่นยำทางภูมิศาสตร์
.
แผนผังนี้บอกเฉพาะสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้
คือวิธีเดินจากจุด A ไปจุด B โดยไม่จำเป็น
ต้องดูจากสภาพภูมิทัศน์ทั้งหมดเสียก่อน
.
สามารถนำกลยุทธ์เดียวกันนี้มาใช้อธิบายสถิติ
ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคย โดยระบุจุดสังเกต
สัก 2-3 อย่างเพื่อให้ผู้ฟังทำความเข้าใจ
ในบริบทได้ โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องรู้ข้อมูล
ราวกับเป็นผู้เชี่ยวชาญ
.
มนุษย์ทำความเข้าใจเรื่องเวลาด้วยสัญชาตญาณ
ได้อย่างยอดเยี่ยมตราบใดที่เราปรับอัตราส่วน
ให้เล็กพอ ต่อให้เราจะพยายามใส่จุดสังเกต
เข้าไปมากมายเท่าไหร่ในมาตราธรณีกาล
(geologic time scale)
.
เราก็ไม่มีทางเข้าใจได้อย่างถ่องแท้
เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้น
เป็นหน่วยชั่วโมง นาที และวินาทีในหนึ่งวัน
เราต้องประสบพบเจอทุกวัน
.
การเปรียบเทียบนี้คือกุญแจที่ช่วยให้เรา
ทำความเข้าใจว่าอารยธรรมมนุษย์ทั้งแสนสั้น
และตรงคุณค่าเพียงใด อีกครั้งยังมีข้อเท็จจริง
ทุกแบบในประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของโลก
ทำให้เราได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์
สิ่งมีชีวิต ดาวเคราะห์ และระบบภูมิปัญญา
ดีขึ้นกว่าเดิม
.
สร้างแบบจำลองที่คุณนำไปใช้ได้
แบบจำลองที่ดีจะช่วยสร้างความเข้าใจ
เชิงลึกให้แก่เราด้วย
.
การที่แบบจำลองหนึ่งทำให้เกิดคำถามอื่นๆ
ตามมาได้นั้นไม่ใช่ความบกพร่อง
ของแบบจำลอง ในวงการออกแบบเกม
เรียกลักษณะดังกล่าวว่า “ความยืดหยุ่น”
และ “ความสามารถในการต่อขยาย”
แบบจำลองพื้นฐานหรือฉากทัศน์แรก
จะเป็นแบบจำลองที่เรียบง่ายที่สุด
เพื่อให้คุณทำความเข้าใจคนพลวัตที่สำคัญ
บางประการ แต่หลังจากเข้าใจการทำงาน
ของแบบจำลองแล้วคุณก็สามารถลองใช้
ตัวแปรทุกแบบเพื่อสำรวจปัจจัยอื่นๆได้
.
ไม่ว่าเป็นวงการใดก็ตาม การทำแบบจำลอง
จะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อน
และช่วยให้เข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้ตัวเลข
ทั้งหมดฟังดูสมเหตุสมผลในคราวเดียว
.
แบบจำลองนี้จะกลายเป็นจุดเริ่มต้น
ของบทสนทนา และแบบจำลองนี้ทำให้
ตัวเลขที่ยากนักหนาสามารถเข้าใจได้