Search
Close this search box.
อนาคตที่ AI ทำอะไรคุณไม่ได้

อนาคตที่ AI ทำอะไรคุณไม่ได้

รู้หรือไม่ว่า…? ในอนาคตอันใกล้จะเกิดพายุลูกใหญ่ที่ชื่อว่า “การปฏิวัติ AI” ซึ่งนำมาสู่การตกงานหมู่ครั้งใหญ่ระดับที่แทบจินตนาการไม่ออก

เพราะฉะนั้น ก่อนที่วันนั้นจะมาถึง เราจึงต้องรีบพัฒนาทักษะที่ไม่อาจถูก AI แทนที่ได้ เพราะคนที่ตระหนักว่า “สักวันงานที่ทำอยู่อาจไม่มีให้ทำแล้วก็ได้” คือคนที่จะอยู่รอด…วันนี้เราจะมาสรุปทักษะที่คุณต้องมีไว้…ก่อนที่ AI จะครองเมือง อนาคตที่ AI ทำอะไรคุณไม่ได้

3 เหตุผล ว่าทำไมถึงต้องพัฒนาทักษะเอาไว้ตั้งแต่ตอนนี้ 

เหตุผลข้อที่ 1 : ทักษะจะกลายเป็นสิ่งที่ตกยุคได้อย่างรวดเร็ว

คนส่วนใหญ่เชื่อว่าหากต้องการสร้างผลงานดี ๆ ให้ทุกคนยอมรับ สิ่งที่ต้องทำคือการพัฒนาทักษะความสามารถให้สูงขึ้น แต่ปัญหาคือโลกทุกวันนี้เป็นยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ทักษะที่ได้จากการฝึกฝนในวัยหนุ่มสาวจึงกลายเป็นสิ่งที่ตกยุค และไร้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม

เหตุผลข้อที่ 2 : วุฒิการศึกษาจะไม่มีความสำคัญอีกต่อไป

อนาคตในภายภาคหน้า การเป็นคนเรียนเก่งที่มี “วุฒิการศึกษาสูง” อาจไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าจะทำผลงานออกมาได้ดีอีกต่อไป ด้วยเหตุที่ว่าสังคมความรู้ระดับสูงเป็นสังคมที่มีนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันเป็นสังคมที่คนธรรมดาทั่วไปสามารถเชื่อมต่อกันเพื่อพูดคุยถึงความฝันและความมุ่งมั่นร่วมกันได้ สิ่งที่เป็นที่ต้องการจึงไม่ใช่องค์กรธุรกิจยักษ์ใหญ่ แต่เป็นคนที่สร้างเครือข่ายเป็น และมีความเป็นผู้นำมากพอที่จะหาพวกพ้องมาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมได้สำเร็จ พูดง่าย ๆ คือ ถ้าอยากเป็น 

“คนทำงานเก่ง” ของสังคมความรู้ระดับสูง เราต้องไม่พอใจอยู่กับแค่ “วุฒิการศึกษา” หรือความเป็น “คนเรียนเก่ง” แต่ต้องพยายามพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานของตัวเองอยู่เสมอด้วย จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมวุฒิการศึกษาถึงจะไม่มีความสำคัญอีกต่อไป และนั่นทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะของตนเองมากขึ้น 

เหตุผลข้อที่ 3 : การมาถึงของ AI

นี่คือเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้การพัฒนาทักษะกลายเป็นสิ่งสำคัญมาก จากนี้ไปเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะพัฒนาแบบก้าวกระโดด และส่งอิทธิพลต่อสังคมในวงกว้าง ผลกระทบที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ใน “ยุค AI” งานที่เคยเป็นหน้าที่ของมนุษย์ จะถูก AI เข้ามาแทนที่ ผลที่ตามมาคือ หากไม่พยายามพัฒนาทักษะที่ไม่อาจใช้ AI ทำแทนได้ติดตัวไว้เสียตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ช้าเราก็จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูก AI แย่งงานไปในที่สุด

READ  คิดแบบยิวทำแบบญี่ปุ่น

จากที่กล่าวมาด้านบนจะเห็นได้ว่า “ทักษะ” เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในสังคมความรู้ระดับสูง และมีอยู่ 5 ทักษะ ที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างยิ่ง

ทักษะที่ 1 : ทักษะพื้นฐาน

ทักษะพื้นฐานที่ว่านี้คือทักษะทั่วไปที่จำเป็นต่ออาชีพที่เข้าข่ายแรงงานทักษะสูง เช่น การจดจ่อ  การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง หรือ ความมุ่งมั่นทุ่มเท ในแง่หนึ่งจะเรียกว่าเป็น “ความทรหดทางปัญญา” ก็คงได้

ทักษะที่ 2 : ทักษะวิชาการ

ประกอบไปด้วย “ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล” และ “ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง” สิ่งที่เรียกว่า     “ความรู้” ของทักษะวิชาการในที่นี้คือ “Knowledge” ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นถ้อยคำและเรียนรู้ได้จากหนังสือรวมถึงสื่อต่าง ๆ มันจึงมีอีกชื่อว่า “ความรู้จากหนังสือ” 

ทักษะที่ 3 : ทักษะวิชาชีพ

คือทักษะต่าง ๆ ที่ช่วยให้เป็นคน “ทำงานเก่ง” เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการวางแผน ทักษะในที่ประชุม ทักษะการนำเสนอ ทักษะการขาย ทักษะการเจรจา และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ         “ทักษะการใช้สัญชาตญาณ” กับ “ทักษะการเรียนรู้จากประสบการณ์” ซึ่งเป็นสิ่งที่ต่างจากทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของทักษะวิชาการมาก ทั้งนี้เพราะความรู้ของทักษะวิชาชีพถือเป็น Wisdom (ภูมิปัญญา) ที่ไม่อาจเรียนรู้ได้จากหนังสือ และต้องซึมซับผ่านประสบการณ์เท่านั้น จึงเรียกได้อีกอย่างว่า “ความรู้จากประสบการณ์”

ทักษะที่ 4 : ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการสื่อสารในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่การพูดหรือนำเสนอเก่ง แต่ยังรวมถึงการเข้าใจมุมมอง ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น และสามารถทำให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อได้ กว่า 80% ของทักษะการสื่อสาร ไม่ใช่เรื่องของการพูดหรือการใช้ถ้อยคำ แต่เป็นการใช้ “ภาษากาย” อย่างการแสดงออกทางสีหน้า การสบตา หรือกิริยามารยาท ดังนั้นคนที่ “สื่อสารเก่ง” จึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนที่พูดเก่งเสมอไป 

ทักษะที่ 5 : ทักษะองค์กร

คือทักษะที่จำเป็นเวลาที่ต้องทำหน้าที่นำทีมหรือองค์กร ประกอบด้วย “ทักษะการบริหารจัดการ” และ “ทักษะความเป็นผู้นำ” เมื่อมองเผิน ๆ ทักษะเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทักษะการบริหารจัดการ และ ทักษะความเป็นผู้นำนั้น ต่างจากความเชื่อในอดีตมาก เพราะในอดีตทักษะนี้เป็นสิ่งที่ต้องมีอำนาจเข้ามารองรับ แต่ในสังคมความรู้ระดับสูงอย่างทุกวันนี้ ทักษะทั้งสองเป็นเรื่องของ “มนุษย์สัมพันธ์” ที่สามารถกระตุ้นให้คนอื่นหันมาร่วมมือกันเพื่อเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่หวังได้

ที่ผ่านมาแค่มี “ทักษะพื้นฐาน” กับ “ทักษะวิชาการ” ก็จะเป็นคนที่บริษัทอยากจ้างงานโดยอัตโนมัติ เพราะคนที่มีทักษะเหล่านี้จะถูกมองว่าเป็นคนหัวดี แต่ปัญหาคือเทคโนโลยีได้พัฒนามาจนถึงขั้นที่ AI สามารถทำงานที่อาศัย “ทักษะพื้นฐาน” กับ “ทักษะวิชาการ” แทนมนุษย์ได้แล้ว ดังนั้นคนที่มีแค่ 2 ทักษะนี้ จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูก AI แย่งงานในอนาคต

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นสาขาอาชีพไหน คนทำงานเก่งในยุค AI จะมีแค่ทักษะ 2 อย่างนี้ไม่ได้อีกต่อไป แต่จะต้องมีทักษะวิชาชีพ ทักษะการสื่อสาร และทักษะองค์กรด้วย

ความเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน สิ่งที่จะช่วยเราเอาไว้ได้ก็คือการ “ตระหนักถึงวิกฤตในเวลาที่ควรตระหนัก” และเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพราะคนที่มีทักษะทั้ง 5 ข้อนี้ จะยังคงเป็นที่ต้องการเสมอไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า