หัวใจของการทำธุรกิจ คือการคิดเป็นภาพใหญ่
50 เฟรมเวิร์กที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพ
การตลาดทุกมิติ เพื่อจะทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ
ดูว่าต้องดูรั่วตรงไหน หรือขยายโอกาสเรื่องใดได้บ้าง
โดยคุณจิตติพงษ์ เลิศประดิษฐ์ นายกสมาคม
MarTech Association Thailand
.
Business frameworks วางหมุดหมาย
ธุรกิจชัดเจน
Product Strategy Frameworks
ทำสินค้าให้คนอยากซื้อซ้ำ
Branding Frameworks ปั้นแบรนด์
ให้ติดหูคนทั่วไป
Marketing Channels Frameworks
สื่อสารตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
Technology & Data Frameworks
อัปยอดขายด้วยดาต้า
.
1.50 Marketing Frameworks
เข็มทิศที่เวิร์กมากสำหรับนักการตลาด
.
ถ้ามี “Framework” หรือ “กรอบการตลาด”
ช่วยนำทางนักการตลาดทั้งมือใหม่และมือเก่า
เหมือนมีเข็มทิศการตลาดที่ทำให้เราทำงาน
ได้ตามเป้าที่วางไว้
.
Marketing Frameworks คือ แนวคิด ปรัชญา
กรอบการทำงานหรือชุดความคิดทางการตลาด
ที่ถูกออกแบบเพื่อช่วยกำหนดทิศทาง
การทำการตลาดได้ถูกต้อง
.
โดย Marketing Frameworks ส่วนใหญ่
จะถูกออกแบบในลักษณะของภาพ (Visual)
และแบบอย่าง (Model)
โดยลักษณะของ Visual ที่นิยมไปใช้งาน
ในการตลาดนั้นมีรูปแบบ ดังนี้
.
Overlap
Overlap Visual ส่วนใหญ่จะเลือกใช้
ภาพวงกลมตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปมาซ้อนทับกัน
โดยการใช้ Visual แบบนี้ ในบางทีก็จะถูกเรียกว่า
Venn Diagram และ Frameworke Visuals
.
รูปแบบนี้วงกลมแต่ละวงจะมีความหมาย
หรือนิยามของตัวเอง ส่วนพื้นที่ที่วงกลม
ซ้อนทับกันก่อให้เกิดความหมาย
หรือนิยามใหม่ขึ้นมา
Collective Action
Collective Action Visual รูปแบบเฟรมเวิร์กนี้
สะท้อนให้เห็นว่าแต่ละส่วนของกราฟิก
แทนด้วยหน้าที่การทำงาน และทั้งหมดล้วน
ต้องเคลื่อนไหวสอดประสานกันอย่างดี
.
โดยสามารถสื่อความหมายชัดเจนว่า
การที่จะขับเคลื่อนกิจกรรม เราต้องขับเคลื่อน
องค์ประกอบเล็กๆสิ่งใดบ้าง
.
Matrix
Matrix Visual บ่อยครั้งการแสดงผล
ในรูปแบบของตารางก็ทำให้สื่อความหมาย
เข้าใจง่าย โดยเฉพาะ Matrix ประเภท 2×2ช่อง
ที่ได้นำไปใช้แพร่หลาย
และ Matrix Frameworke ที่มีชื่อเสียง
โด่งดัง ได้แก่ Gartner’s Magic Quadrant
ที่คิดค้นโดยบริษัท Gartner
.
จุดเด่นของ Frameworks ประเภทนี้คือ
การแบ่ง Dimension ดูมิติตามบริบทต่างๆ
โดยแบ่งน้ำหนักมากน้อยตามทิศทาง
Ring Network
Ring Network Visual สื่อความหมายถึง
การทำงานต่อเนื่องกันทีละ Node
และแต่ละ Node ต้องทำงานได้ถูกต้อง
และเมื่อทำงานครบรอบกระบวนการ
ก็จะเริ่มต้นใหม่…
.
Ring Network Framework ที่โด่งดัง
และถูกใช้แพร่หลายได้แก่ Lean Startup Cycle
ที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนคือ
Build-Measure-Learn ที่ใช้ Ring Network
ในการอธิบายว่าการทำธุรกิจสตาร์ตอัป
ตามแนวคิดนี้ต้องเริ่มจาก
Build การเริ่มสร้างสินค้า และการนำออกสู่ตลาด
Measure การกำหนดวิธีวัดผลการทำธุรกิจ
Learn วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากความสำเร็จ
และความผิดพลาด
Conentric Circle
Conentric Circle Visual คือ
รูปแบบเฟรมเวิร์กที่สื่อว่าวงกลมในแต่ละชั้น
ล้วนเป็นส่วนประกอบของวงกลมที่ใหญ่กว่า
โดยวงกลมด้านใน (Core) ถือเป็นแกนสำคัญ
ส่วนวงกลมอื่นๆล้วนต่อยอดมาจากวงด้านในทั้งสิ้น
.
2.แบ่งประเภทการทำการตลาดหลากหลายรูปแบบ
การตลาด คือการนำสินค้าและบริการ
เข้าสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการรับรู้ของสินค้า
และบริการ โดยอาจเริ่มที่ทำให้ลูกค้าเห็นสินค้า
และเกิดการจดจำ อาจมีการให้ความสำคัญ
กับการสร้างตราสินค้าให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
(Unique)
.
เพื่อให้สินค้านั้นเป็นที่จดจำและนึกถึง
(Recognition) มีการใช้ช่อทางการตลาด
ที่หลากหลายรูปแบบ (Channels)
มีการโน้มน้าว (Convincing) ทำให้เกิดการ
ซื้อสินค้าด้วยเนื้อหาหลากหลายรูปแบบ
อาจมีบริการหลังการขาย (Aftersaes Service)
เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในสินค้า (Trustworthy)
มีกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า
เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ภักดีกับสินค้าเรา (Loyalty)
.
กรวยการตลาด (Marketing Funnels หรือ
Customer Stages) เราสามารถสร้าง
การสื่อสารหลากหลายรูปแบบผ่านช่องทางต่างๆ
มากมายตลอดทั้ง Customer Journey
.
โดยในแต่ละ Stage จะมีจุดเชื่อมต่อกับลูกค้า
หรือ Touchpoint ผ่านสื่อต่างๆได้ ดังนี้
.
การพยายามขยายการตลาดให้ครอบคลุมวงกว้าง
การพยายามให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์กับเรา
ปิดการขายผ่านทางดิจิทัลหรือคนช่วยปิด
การขาย
สื่อสารกับลูกค้าเก่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้าง
ความประทับใจและความภักดีในแบรนด์
.
ช่องทางการตลาด (Marketing Channels)
หมายถึงช่องทางให้แบรนด์ หรือเจ้าของสินค้า
และบริการ เชื่อมต่อกับผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมาย
.
ซึ่งในปัจจุบันการเชื่อมต่อการระหว่าง
กลุ่มเป้าหมายกับแบรนด์มักจะเป็นในรูปแบบ
ฝ่ายทิศทาง หรือที่เรียกว่า Omni-Channels
และมักจะเป็นช่องทางที่สามารถปฏิสัมพันธ์กัน
ได้ทั้งไปและกลับ หรือ 2 Ways Communication
.
จุดประสงค์การตลาด หรือ Marketing Objectives
ที่สำคัญในปัจจุบันได้แก่
Brand Awareness การเพิ่มการเรียนรู้
ในแบรนด์สินค้า
Traffic การเพิ่มอัตราเข้าชมเว็บไซต์
Branch Visitor การเพิ่มจำนวนผู้ชม
หน้าร้านหรือสาขา
Lead Generation การเก็บข้อมูล
กลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
Sales Value การให้ความสำคัญกับ
ยอดขายเป็นสำคัญ
Decrease Acquistion Cost การลดค่าใช้จ่าย
ในการหาลูกค้าใหม่
Maximize CLV (Customer Lifetime Value)
การทำให้มูลค่าที่ได้รับตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น
Increase Market Share การเพิ่มส่วนแบ่ง
ทางการตลาดในกลุ่มสินค้าเดียวกัน
Increase Social Followers การเพิ่ม
ผู้ติดตามใหม่ช่องทาง Social Network
Churn Prevention การป้องกันลูกค้าเก่า
หยุดหรือยกเลิกใช้บริการ
.
3.แบ่ง Marketing Frameworks ตามประเภทการตลาด
“Market Research Frameworks”
เข็มทิศวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค
ขั้นตอนสำคัญการเริ่มดำเนินธุรกิจ
และก่อนการดำเนินกิจกรรมการตลาดคือ
ขั้นตอนวางแผน (Planning) และกิจกรรม
การตลาดสำคัญในขั้นตอนวางแผนนี้คือ
การวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภคหรือ
Market Research
.
โดยกระบวนการคือการวิเคราะห์ความสามารถ
ในการแข่งขันในตลาดกับคู่แข่ง
วิเคราะห์ความต้องการผู้บริโภค วิเคราะห์วิธี
การสร้างรายได้ และเปรียบเทียบความสามารถ
ในการแข่งขันกับคู่แข่ง
.
“BCG Matrix Modle ออกแบบโดย
Boston Consultiog Group”
BCG Matrix Modle หรืออาจจะเรียกว่า
Growth-Share Matrix เป็น Frameworke
ที่ออกแบบโดย Boston Consultiog Group
บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการและธุรกิจ
จากประเทศสหรัฐอเมริกา
.
สำหรับ BCG Matrix Modle ประกอบไปด้วย
กล่องสี่เหลี่ยม 4 กล่อง โดยแต่ละกล่องแทนที่
ด้วยสัญลักษณ์ที่สะท้อนลักษณะของธุรกิจนั้นๆ
โดยแต่ละกองทุนจัดเรียงตามแกนดังนี้
.
แกนนอน แทนที่ด้วยส่วนแบ่งตลาด
เชิงเปรียบเทียบ (Relative Market Share)
แกนตั้ง แทนที่ด้วยโน้มน้าวการเติบโต
ของตลาด (Market Growth Rate)
.
“PESTEL Analysis”
เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยประเมิน
โอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจในแง่มุมต่างๆ
ดูอักษรแต่ละตัวประกอบไปด้วย PESTEL
ที่ย่อมจาก
————————————————
Political ปัจจัยทางการเมือง
Econmics ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
Social ปัจจัยทางสังคม
Technological ปัจจัยทางเทคโนโลยี
Environmental ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
Legal ปัจจัยทางกฎหมาย
.
การเขียน PESTEL Analysis จะสะท้อน
ให้เห็นว่าธุรกิจนั้น มีวิสัยทัศน์และมีความสามารถ
ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางภายในและภายนอก
ได้อย่างดีแค่ไหน
.
“The Pragmatic Frmework ออกแบบโดย
Pragmatic lnstitute”
Pragmatic lnstitute เป็นสถาบันด้าน
การตลาดและดาต้าที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 1993
โดยทาง Pragmatic ได้ออกแบบเป็น
เฟรมเวิร์กที่แบ่งออกเป็น 2 แกนสำคัญ
ได้แก่ แกนซ้าย กลยุทธ์ (Strategy)
และแกนขวา การปฏิบัติงาน (Execution)
โดยมีหมวดหมู่เรียงจากซ้ายไปขวา
.
“Mosaic™B2B Market Research
Framework ออกแบบโดย B2B international”
บริษัท B2B international เป็นบริษัท
วิจัยทางการตลาดหรือ Market Research Firm
สำหรับ Mosaic™B2B Market Research
Framework จะช่วยให้เราวางแผนการดำเนิน
กิจการทางธุรกิจตามขั้นตอนที่เหมาะสม
.
“Ansoff Matrix ออกแบบโดย Igor Ansoff”
Igor Ansoff นักคณิตศาสตร์และที่ปรึกษา
ทางธุรกิจชาวรัสเซียเป็นผู้ได้รับการยอมรับว่า
เป็นบิดาแห่งวงการบริหารธุรกิจ
.
Igor Ansoff คิดค้น Matrix เพื่อวางกลยุทธ์
การเจริญเติบโตทางธุรกิจ (Growth Strategy)
อย่างมีแบบแผน
.
“Porter’s Five Forces ออกแบบโดย
Michael E.Porter”
Michael E.Porter หรือ Michael Eugene Porter
ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
และนักกลยุทธ์ทางธุรกิจ
โดยไมเคิลได้คิดค้น Five Forces Model
.
Competitive Rivalry Force ภาวะการแข่งขัน
Threat of New Entry Force ภัยคุกคาม
จากคู่แข่งขันรายใหม่
Bargaining Power of Suppliers Force
อำนาจการต่อรองกับซัปพลายเออร์
Bargaining Power of Buyers Force
อำนาจการต่อรองกับผู้บริโภค
Threat of Substitute Products or
Services Force การทดแทนของสินค้าในตลาด
.
4.Business Frameworks เข็มทิศการทำธุรกิจให้เติบโต
.
หลังจากวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภคแล้ว
การเริ่มดำเนินธุรกิจก็ควรมีการวางกรอบ
การดำเนินธุรกิจเป็นขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น
การหารายได้ การจัดการซัพพลาย
และการจัดการพาร์ตเนอร์ธุรกิจ
ทุกสิ่งล้วนสำคัญกับความก้าวหน้า
ทางธุรกิจ โดยไม่อาจขาดสิ่งใด
สิ่งหนึ่งไปได้…
.
เฟรมเวิร์กที่ช่วยทำให้เรากำหนดกรอบ
การดำเนินธุรกิจ (The Value Proposition)
การหาคุณค่าที่สำคัญทางธุรกิจ
การใช้แผ่นแคนวาส เพื่อสื่อสารโครงสร้าง
การดำเนินธุรกิจให้ผู้รับสารเข้าใจได้โดยง่าย
.
การใช้เฟรมเวิร์คเพื่อช่วยปรับโครงสร้างองค์กร
(Transformation) ในยุคดิจิทัลได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ และการใช้เฟรมเวิร์ค
เพื่อกำหนดทิศทางใดได้ขององค์กร
โดนเฟรมเวิร์คที่เหมือนเข็มทิศสำคัญ
ในการกำหนดทิศทาง
5.Product Strategy Frameworks
เข็มทิศการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์
.
กลยุทธ์การพัฒนาสินค้า ถึงเป็นหัวใจสำคัญ
ของการทำธุรกิจที่จะมีผลกระทบ
กับการทำการตลาดในอนาคต
.
เฟรมเวิร์กที่ช่วยให้เราพัฒนาสินค้าและบริการ
ตรงใจผู้บริโภค ทำให้เราวิเคราะห์ความต้องการ
และพฤติกรรมผู้บริโภคได้ลึกซึ้ง
.
ก่อให้เกิดความสามารถในการสร้างสินค้าใหม่ๆ
ที่ตอบสนองความต้องการที่ไม่เคยถูกค้นพบ
มาก่อน (Unmet Needs)
.
การเลือกเฟรมเวิร์คในการวางแผนพัฒนาธุรกิจ
สินค้าให้เหมาะสม จะทำให้สินค้าของเรา
ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและผู้บริโภค
สามารถต่อยอดสร้างความแข็งแกร่งให้สินค้า
ด้วยการวางแผนการสร้างตราสินค้า
(Branding) ได้
.
6.Branding Frameworks เข็มทิศการสร้างตราสินค้า
ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การพัฒนา
แบรนด์หรือตราสินค้า เพราะในปัจจุบันผู้บริโภค
ไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าจากการดูแค่ว่า
สินค้านั้นราคาถูกที่สุด หรือดีที่สุด
แต่ผู้บริโภคบางส่วนตัดสินใจซื้อสินค้านั้น
เพราะความเชื่อมั่นในแบรนด์ หรือความรู้สึก
ภาคภูมิใจในการใช้สินค้าแบรนด์นั้น
.
การวางกลยุทธ์ตราสินค้าหรือการทำแบรนดิ้ง
ยังคงมีความสำคัญต่อการทำการตลาด
การสร้างสินค้า และการดำเนินธุรกิจ
ทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็น และเกิดการรับรู้
ต่อแบรนด์ของเราไปในทิศทางที่เราคาดหวัง
และสามารถเลือกวิธีการทำการตลาด
และช่องทางการทำการตลาด
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
7.Digital Marketing Frameworks
เข็มทิศการทำการตลาดดิจิทัลให้มีระบบ
.
การทำการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัล
ได้รับการยอมรับว่าเป็นช่องทางหลักในการ
สื่อสารกับผู้บริโภค แต่การทำการตลาด
ผ่านช่องทางนี้มีความท้าทายมากมาย
ไม่ว่าเป็นความหลากหลายในการเชื่อมต่อ
กับลูกค้า การแข่งขันกันอย่างรุนแรง
หรือการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของแพลตฟอร์ม
ที่เราทำการตลาด
.
เฟรมเวิร์กจะช่วยทำให้เราออกแบบกลยุทธ์
(Strategy) ยุทธวิธี (Tactics) ได้อย่างมีระบบ
แบบแผน มีการวางขั้นตอนเป็นระบบ ช่วยทำให้
เห็นกรอบการสื่อสารการตลาดให้เหมาะสม
.
การตลาดดิจิทัล หรือ Digital Marketing
เข้าไปเกี่ยวโยงกับการตลาดมากมาย
สิ่งสำคัญต่อไปก็คือ การกำหนดกลยุทธ์
ในแต่ละช่องทางการตลาดให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
.
8.Marketing Channels Frameworks
เข็มทิศการดูแลช่องทางการสื่อสารการตลาด
.
การดูแลช่องทางการสื่อสารการตลาด
เป็นสิ่งสำคัญในความสำเร็จธุรกิจ
เพราะช่องทางการสื่อสารการตลาด
เป็นตัวกลางที่ช่วยสื่อสารข้อมูล แนะนำสินค้า
หรือบริการของแบรนด์ ไปยังกลุ่มเป้าหมาย
ของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
โดยการมีกลยุทธ์การดูแลช่องทางการตลาด
ที่ดีจะช่วยส่งเสริมธุรกิจดังนี้
.
ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
ได้มากขึ้น โดยที่กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึง
หรือค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
ของแบรนด์ได้ง่ายขึ้น และสามารถตอบกลับ
ได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยให้วางแผนการสื่อสารการตลาด
แต่ละช่องทางให้เหมาะสม
วัดผลการทำการตลาดในช่องทางต่างๆ
ได้อย่างละเอียด
ทำสื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้งบประมาณการตลาดน้อยลง
โดยที่ยอดขายเพิ่มขึ้น
ดูแลกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าเก่าได้อย่างต่อเนื่อง
.
การเข้าใจและเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสม
กับแต่ละช่องทางการตลาด เพื่อจะดูแลและ
สื่อสารกับลูกค้าได้ราบรื่นไร้รอยต่อ
.
9.Technology & Data Frameworks
เข็มทิศการใช้เครื่องมือและข้อมูลเพื่อการตลาด
.
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเติบโตรวดเร็ว
และจะยิ่งพัฒนาความสามารถได้ก้าวกระโดด
ในอนาคตอันใกล้
.
การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้กับการทำธุรกิจ
และการตลาดจะมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้น
มากเรื่อยๆดังนี้
.
สร้างประสบการณ์ลูกค้า
เช่น การใช้โปรแกรมและโมดูลในการสร้าง
สิ่งต่างๆเพื่อเพิ่มความสนใจและความพึงพอใจ
ของลูกค้า…
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มีประสิทธิภาพ
การใช้เทคโนโลยีช่วยทำให้เราเข้าถึง
กลุ่มเป้าหมายรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ช่องทางต่างๆ เช่น
โซเชี่ยลมีเดีย อีเมล หรือโฆษณาทางออนไลน์
เพื่อเพิ่มโอกาสเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์ข้อมูลได้มีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีช่วยให้รวบรวมข้อมูลมากขึ้น
และทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารและการเชื่อมต่อลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังสื่อสารกับลูกค้าได้รวดเร็ว รวมถึง
มีการสื่อสารและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
.
เครื่องมือด้านการตลาด (Martech)
และเครื่องมือจัดการข้อมูล (Data Platforms)
มีมากกว่า 10,000 เครื่องมือ ในปี 2022
และจะยิ่งมีเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆจาก
ความก้าวหน้าด้าน Cloud Computing
และการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก
มากขึ้นเรื่อยๆ…
.
นักธุรกิจหรือนักการตลาดสมัยใหม่
จะต้องศึกษากลยุทธ์การนำ Technology & Data
มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
.
10.CRM Frameworks เข็มทิศเพื่อสร้าง
ความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยั่งยืน
.
CRM ย่อมาจาก “Customer Relationship
Management” เป็นกระบวนการการทำงาน
กลยุทธ์การดูแลลูกค้า หรือรูปแบบกิจกรรม
การตลาดที่มีเป้าหมายเพื่อบริหารจัดการ
ความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
.
ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาในระบบ ไปจนถึงลูกค้า
เก่าที่เคยซื้อสินค้าและบริการแล้ว สื่อสารข้อมูล
ข่าวสารกับกลุ่มเหล่านี้ได้ต่อเนื่อง
โดยประโยชน์ของการทำ CRM ที่สำคัญมีดังนี้
.
Centralize Customer Data
การจัดเก็บข้อมูลลูกค้าในระบบศูนย์กลาง
จะช่วยให้พนักงานทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
ติดตามการสื่อสารโต้ตอบระหว่างเรากับลูกค้า
และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
.
การบริการลูกค้าเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
ส่งผลให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้ามากขึ้น
Increased Sale Efficiency
ในการใช้ระบบ CRM เพื่อติดตามการขาย
ที่เรียกว่า Sale Pipeline พนักงานขาย
กำหนดกิจกรรมการขายล่วงหน้าลงในระบบ
เช่น การโทรติดตามผลการเตรียมนัดกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อนำเสนอสินค้า การส่งกลุ่มเป้าหมายให้
พนักงานขายท่านอื่น และระบบ CRM ส่วนใหญ่
ก็มีความสามารถในการแจ้งเตือนกิจกรรม
ในที่ต้องทำเมื่อใกล้ถึงกำหนดได้โดยอัตโนมัติ
Improved Team Efficiency
การใช้ระบบ CRM ทำให้ส่งผ่านขั้นตอน
การทำงานได้ เช่น การป้อนข้อมูล การนัดหมาย
การติดตามลูกค้า การรายงานผลการขาย
ให้ผู้บังคับบัญชาและการสร้างแดชบอร์ด
รายงานประจำเดือน ทำให้ประหยัดเวลา
และทรัพยากร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ของทีมงาน
Sales Analytics
การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูล
การขายลึกขึ้น สามารถนำมาปรับปรุงกลยุทธ์
การตลาดและการขายได้แม่นยำ ช่วยให้ตัดสินใจ
เชิงธุรกิจได้ด้วยข้อมูลนำไปสู่การเติบโต
ทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
Data Policy & Security
การมีระบบ CRM ทำให้บริหารจัดการข้อมูล
ของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย
และปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ลดปัญหา
การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต
ลดการสูญหายของข้อมูลสำคัญ จัดการสิทธิ์
การเข้าถึงข้อมูลแก่ผู้ใช้งานระบบได้เหมาะสม
และให้ลูกค้าใช้สิทธิ์ในการเข้าถึง แก้ไข
หรือลบข้อมูลตัวเองได้ตามกฎหมาย
Increased Reputchase & Retention
การนำ CRM มาใช้เพื่อให้เห็นข้อมูลเชิงลึกต่างๆ
มาปรับปรุงการทำการตลาดช่วยรักษาลูกค้าเดิม
ให้ยั่งยืนและสร้างความภักดีในระยะยาว
โดยสร้างยอดขายสินค้าจากลูกค้าเก่า
ที่กลับมาซื้อซ้ำ หรือรักษาลูกค้าเก่าที่จ่ายค่า
บริการรายเดือนหรือรายปี ให้ใช้สินค้ากับเรา
ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มปริมาณรายได้ที่ได้รับจาก
ลูกค้าคนหนึ่งในระยะเวลาหรือ
Customer Lifetime Value
.
การทำธุรกิจแต่ละขั้นตอนก็เหมาะกับ
การเลือกใช้เฟรมเวิร์กที่ไม่เหมือนกัน
และธุรกิจแต่ละประเภท (เช่น B2B และ B2C)
ที่ต้องการการมีส่วนร่วมของลูกค้าในระดับ
แตกต่างกัน (Level of Involvement)
ทำให้ต้องให้ความสำคัญกับ
แต่ละเฟรมเวิร์กไม่เท่ากัน