Search
Close this search box.
ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น แค่หยิบเรื่องคุยเล่นเพียง 30 วินาที

ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น แค่หยิบเรื่องคุยเล่นเพียง 30 วินาที

มนุษย์เราใช้ชีวิตแต่ละวันไปพร้อมกับการคุยเล่น พูดง่าย ๆ ว่าเราสื่อสารกับคนอื่นด้วยการคุยเล่นกับเกือบ 100% เลยทีเดียว แต่ช่วงหลัง ๆ นี้กลับมีคนที่คุยไม่เก่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทักษะการพูดคุยของพวกเขาไม่สมดุล เวลาคุยกับเพื่อน พวกเขาจะคุยกันอย่างออกรส แต่ถ้าคนที่คุยด้วยมีสถานะต่างจากตัวเอง เป็นคนต่างวัย หรือมีพื้นเพต่างกัน หลังจากคุยไปได้ไม่เท่าไหร่ การสนทนาจะสะดุด

คุณอาจคิดว่า “แค่พูดเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญได้ก็น่าจะพอแล้วไม่ใช่เหรอ” ซึ่งก็ไม่ผิดอะไรหรอกครับ แต่การพูดได้แค่เรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญ ไม่อาจทำให้เราเอาตัวรอดในโลกใบนี้ได้ เรามาจัดให้เรื่องสำคัญ ๆ เช่น เรื่องงาน การทำ สัญญา การเจรจาธุรกิจ การติดต่อ หรือการรายงานอยู่ในหมวดหมู่ “การพูดคุยที่จริงจัง” แล้วกันครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรื่องที่เราพูดคุยกันจะเป็น “เรื่องที่ไม่มีความหมาย” หรือ “เรื่องไร้สาระ” เสียมากกว่า ซึ่งก็คือการคุยเล่นนั่นเอง

 

หลักข้อ 1 การคุยเล่นแบบ “ไม่มีสาระ” นั้นมีความหมาย

หากคุณคิดว่า “การคุยเล่น = เรื่องไร้สาระที่มีแต่เรื่องที่ไม่จำเป็น” อันนี้ผิดมหันต์เลยครับ เพราะความสำคัญของมันอยู่ตรงที่มัน “ไม่มีเนื้อ” นี่ล่ะครับ จะว่าไปแล้วการพูดคุยของคนเราก็มีแค่ 2 แบบเท่านั้น คือ “การพูดคุยเรื่องสำคัญ” กับ “การพูดคุยเรื่องไม่สำคัญ” ซึ่ง “การคุยเล่น” จัดอยู่ในแบบหลัง
เพราะการคุยเล่นมีไว้สำหรับสร้างบรรยากาศดี ๆ เพื่อให้คนที่อยู่ในสถานที่นั้นได้สัมผัสบรรยากาศดังกล่าวร่วมกัน การคุยเล่นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสื่อสาร ซึ่งจะช่วยให้ความสัมพันธ์ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด

 

หลักข้อ 2 การคุยเล่นประกอบด้วย “คำทักทาย+ลูกเล่น”
การทักทายคือวิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นการคุยเล่น ถึงอย่างนั้นก็อย่าลืมว่ามันเป็นเพียง “จุดเริ่มต้น” เท่านั้น แต่ยัง “ไม่ใช่การคุยเล่น” ที่แท้จริง การทักทายตามมารยาทจะพัฒนาเป็น “การคุยเล่น” ได้หรือไม่นั้น ต้องดูหลังจากที่ทักทายกันเสร็จแล้ว

ถ้าคุยกันแค่นี้ก็ยังถือเป็นเพียงการทักทายธรรมดา หากอยากจะต่อยอดให้เป็นการคุยเล่น คุณต้องใส่ “ลูกเล่น” เข้าไปด้วย เพียงเท่านี้ ขอแค่เพิ่มลูกเล่นสักนิดหลังกล่าวคำทักทาย แม้จะเป็นการพูดคุยสั้น ๆ แค่ 5-10 วินาที แต่การเพิ่มลูกเล่นเข้าไปอีกแค่ 5 วินาทีนั้น จะทำให้ความรู้สึกที่ทั้งสองฝ่ายมีต่อกันเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล ทั้งคู่จะเริ่มรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นและคิดว่า “เป็นคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจดีนะ” และความรู้สึกที่อีกฝ่ายมีต่อเราก็จะเปลี่ยนไปโดยอัตในมัติ

ความรู้สึกของคนเราก็เป็นแบบนี้ล่ะครับ แค่คุยเล่นกันนิดหน่อยก็สามารถเปลี่ยนจากคนที่ “เคยเห็นหน้าค่าตา” ให้กลายเป็นคนที่สนิทสนมกันมากขึ้นได้ แถมยังรู้สึกสบายใจหรือถึงกับเชื่อใจเลยด้วย การทักทายจะพัฒนาไปเป็น “การคุยเล่น” ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่ามี “ลูกเล่น” ต่อท้ายด้วยหรือเปล่า

 

หลักข้อ 3 การคุยเล่นไม่จำเป็นต้องมี “ข้อสรุป”
พูดง่าย ๆ ก็คือ การคุยนี้ไม่มีข้อสรุปและไม่มีประเด็น เพราะการคุยเล่นก็คือการคุยเล่น ไม่ใช่การโต้เถียงกันอย่างจริงจัง ในเวลาแบบนี้ ข้อสรุปจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ เพราะไม่มีใครต้องการหรอก (ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ “ไม่มีใครต้องการ” นี่ล่ะครับ)

ดังนั้น เคล็ดลับการคุยเล่นให้ได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่องก็คือ ไม่ต้องสรุปเนื้อหาสาระ อย่าพูดถึงข้อเท็จจริงที่ทำให้คุยต่อไม่ได้ คุยไปเรื่อย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องพยายามจบเรื่อง เมื่อรู้สึกว่าเรื่องที่คุยใกล้จะได้ข้อสรุปก็ให้รีบเปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่นที่ชวนให้รู้สึกดีแทน (บางครั้งก็อาจต้องเปลี่ยนแบบปุบปับ)

 

หลักข้อ 4 : การคุยเล่นต้องตัดจบได้
สิ่งที่น่าทึ่งของการคุยเล่น อยู่ตรงที่เราสามารถเปลี่ยนเรื่องคุยได้สบาย ๆ โดยไม่ต้องหาข้อสรุปให้เรื่องที่คุยค้างไว้ แต่ก็มีคนจำนวนมากที่ตัดบทเพื่อเปลี่ยนเรื่องคุยหรือจบการพูดคุยอย่างราบรื่นไม่ได้ นอกจากจะคุยเล่นไม่เก่งแล้ว ยังจบการสนทนาไม่เป็นอีกต่างหาก แน่นอนว่าเหตุการณ์แบบนี้ชวนให้อึดอัดใจมาก

ดังนั้น “วิธีตัดบทการพูดคุย” จึงถือเป็นเคล็ดลับสำคัญอย่างหนึ่งของการคุยเล่น คำว่า “แค่นี้นะ” และ “แล้วเจอกัน” เป็นวลีเด็ดในการสร้างความรู้สึกดีขณะคุยเล่นกัน ไม่ต้องมีข้อสรุป แต่ต้องจบได้อย่างสวยงาม นี่คือเงื่อนไขของ “การคุยเล่นที่ดี” ครับ

 

หลักข้อ 5 : แค่ฝึกฝนไม่ว่าใครก็คุยเล่นเก่งได้
ทักษะการคุยเล่นไม่ใช่ “เทคนิคการพูดอย่างคล่องแคล่ว” ถ้าจะให้ชัดเจนขึ้นก็ต้องบอกว่า การคุยเล่นไม่ใช่การมีวาทศิลป์หรือเทคนิคการพูดคุย ในการคุยเล่น เราไม่จำเป็นต้องใช้วิธีใด ๆ เพื่อประดิษฐ์คำพูดให้ออกมาดูดีเลย อย่างการตบท้ายด้วยมุกตลกเรียกเสียงหัวเราะ (แต่ถ้าทำได้ก็ถือว่ายอคเยี่ยมทีเดียว) การคุยเล่นคือ เทคนิคในการสร้างบรรยากาศดี ๆ ด้วยการพูดคุย

คนที่คุยเล่นเก่งจึงเป็น “คนที่รู้จังหวะ” หรือ “คนที่มีอะไรอยากเล่าให้ฟัง” ไม่ใช่คนที่มีวาทศิลป์เป็นเลิศ สรุปคือการคุยเล่นเป็นเรื่องของ “การคบค้าสมาคม” มากกว่าการสนทนา

 

ดังนั้น นิสัยหรือลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนสามารถสื่อออกมาทางการคุยเล่นได้ สิ่งสำคัญคือคุณต้องถ่ายทอดนิสัยและบุคลิกของตัวเองออกมาเป็นคำพูด แล้วใช้มันสร้างความสนิทสนมกับคู่สนทนา เมื่อทำแบบนั้น คุณก็จะสามารถโบกมือลาความเงียบ ความเบื่อหน่าย และความอึดอัดได้ทันที

ทั้งยังสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรให้กับคนรอบข้างได้ด้วยบางคนถึงจะพูดไม่เก่ง แต่ก็คุยเล่นได้อย่างออกรสออกชาติ บางคนที่พูดจาที่อ ๆ หรือไม่ค่อยพูดแต่ก็ทำให้วงสนทนาคุยเล่นกันได้อย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ ยังมีคนประเภทที่ทำให้การพูดคุยครึกครื้นขึ้นมาได้ทั้งที่แทบไม่พูดอะไรเลย แค่ตอบรับเออออไปตามเรื่อง

ดังนั้น การคุยเก่งจึงต่างจากการพูดเก่ง “คนที่พูดหรือคุยไม่เก่งน่ะเป็นอย่างนั้นมาตั้งแต่เกิดแล้วและทักษะการคุยเล่นก็ไม่ใช่เรื่องที่ฝึกกันได้ง่าย ๆ” นี่เป็นความเชื่อที่ผิดมหันต์เลยครับ เพราะการคุยเล่นไม่ใช่ความสามารถที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดคุณไม่จำเป็นต้องคุยเรื่องที่มีสาระ แค่กล่าวคำทักทาย + ลูกเล่นอีกเล็กน้อยก็เพียงพอแล้วครับ

 

READ  ที่...หัวมุมถนน
บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า