Search
Close this search box.
ละเมิดลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย เรื่องใกล้ตัว ที่คุณจำเป็นต้องรู้…

ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและมีความละเอียดอ่อนอย่างมาก ถ้าหากทบทวนดูแล้วจะทราบได้เลยว่า มีผู้คนจำนวนมากที่เสี่ยงต่อการละเมิด ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ของผู้อื่น อย่างบางคนอาจจะรู้ข้อกฎหมายอยู่แล้ว แต่ก็ยัง ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือบางคนทำไปโดยไม่รู้ ก็ถือเป็นความผิดอีกเช่นกัน แล้วถ้าหากต้องการนำภาพมาใช้จริงๆต้องเลือกแบบไหนล่ะ ที่ถูกกฎหมาย ไม่เสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณเป็นเจ้าของภาพ แล้วถูกละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้นมา จะมีวิธีดำเนินการอย่างไร..

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ คือ ความคุ้มครองทางกฎหมายที่คุ้มครองผู้สร้างเนื้อหา, รูป, เพลง, วีดิโอ, งานเขียน จากการถูกผู้อื่นนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งสิ่งที่จะพูดถึงต่อจากนี้คือ เรื่อง ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย

ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย

ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย กฎหมายจะให้ความคุ้มครองทันที โดยที่ไม่ต้องจดทะเบียนใดๆ แต่ถ้าอยากจดแจ้งลิขสิทธิ์ สามารถไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อบ่งบอกว่างานชิ้นนี้ คุณเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมาก่อน หลังจากที่เจ้าของผลงานลงมือสร้างสรรค์งานตั้งแต่คิดค้น ออกแบบ ประดิษฐ์จนกลายเป็นงานชิ้นหนึ่งที่เสร็จสมบูรณ์ และเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน อีกทั้ง กฏหมายจะคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ผลงาน และคงอยู่ต่อไปอีก 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย

หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามต่อ แล้วถ้าถ่ายรูปไม่เป็นล่ะ จะนำภาพจากไหนมาสร้างสรรค์ผลงาน? หรือถ้ามีอาชีพเป็นช่างภาพอิสระ รับจ้างถ่ายนางแบบทั่วไป มีสิทธิ์นำรูปนางแบบไปใช้ได้ไหม และภาพนั้นจะเป็นของใคร ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพถ่ายนั้น ?…

กรณีที่ 1 คุณชอบถ่ายรูป แต่ไม่ได้ถึงขั้นรับจ้างถ่ายรูป เจตนาของคุณอาจจะถ่ายเพื่อเก็บไว้ หรือถ่ายเพื่อนำไปใช้สร้างสรรค์ผลงานของคุณเอง ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพจากกล้อง DSLR หรือกล้องมือถือ เมื่อคุณหรือใครก็ตามกดชัตเตอร์ นั่นก็หมายความว่า สิทธิ์นั้นจะเป็นของคุณหรือคนนั้นทันที แม้ว่ากล้องนั้นจะไม่ใช่ของคุณก็ตาม

กรณีที่ 2 คุณเป็นนายตนเอง มีอาชีพเป็นช่างภาพอิสระ รับจ้างถ่ายนางแบบ นายแบบที่มีชื่อเสียง ภาพที่คุณถ่ายนั้น ถือว่าคุณยังไม่มีสิทธิ์ในภาพนั้น คุณจะมีสิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อนางแบบหรือนายแบบ อนุญาตและเซ็นยินยอมเอกสาร(MR) Model release เท่านั้น หรืออีกในกรณีหนึ่ง หากคุณมีอาชีพเป็นนางแบบ มีคนนำรูปของคุณไปใช้ โดยที่คุณไม่ได้อนุญาต คุณก็สามารถฟ้องกลับได้ทันที

กรณีที่ 3 จะมีเรื่องของกรรมสิทธิ์เข้ามาร่วมด้วย หากคุณเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งช่างภาพให้กับบริษัทเกี่ยวกับข่าวกีฬาแห่งหนึ่ง นายจ้างสั่งให้คุณไปถ่ายภาพ เก็บบรรยากาศโดยรอบมา เท่ากับว่าผลงานชิ้นนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง นายจ้าง ทันที แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่มีสิทธิ์นำภาพไปใช้ แต่ถ้านายจ้างต้องการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ ตอนทำสัญญาจ้างช่างภาพ

กรณีที่ 4 สำหรับในที่สาธารณะหรือร้านอาหาร บางครั้งอาจจะมีการถ่ายนอกสถานที่บ้าง ช่างภาพ นายจ้าง จำเป็นต้องขอเจ้าของสถานที่เสียก่อน ว่าที่ตรงนั้นสามารถถ่ายได้ไหม และถ้าคุณได้รับอนุญาตให้ถ่ายรูปได้แล้ว แต่คุณไปรบกวนคนบริเวณแถวนั้นหรือลูกค้าคนอื่นๆ คนที่ถูกรบกวน เขาก็มีสิทธิ์ที่จะฟ้องคุณได้เช่นกัน

กรณีที่ 5 หากคุณไม่ได้เป็นช่างภาพ ถ่ายรูปไม่เก่ง แต่ต้องทำงานที่ต้องใช้ภาพ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานของตนเองให้เสร็จ การก๊อปรูปมาจาก Google ก็ถือว่าผิด แม้จะนำมาดัดแปลง เปลี่ยนเป็นภาพ 3 มิติ หรือภาพนั้นติดโลโก้ของผู้อื่นมา และคุณครอปเพื่อเอาโลโก้ออก หรือแม้แต่คุณลบลายน้ำออก ก็ถือว่าผิดกฏหมายการละเมิด ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย อยู่ดี หากเจ้าของภาพนั้นรู้และต้องการจะเอาผิดคุณ คุณก็อาจถูกดำเนินคดีได้ วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ไม่เสี่ยงละเมิดลิขสิทธิ์

  • ถ้ารูปมันหายากนัก ก็ถ่ายรูปเองเสียเลย

แน่นอนว่าการที่คุณถ่ายรูปเองนั้น คุณเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสี่ยงโดนฟ้องอีกด้วย หรือถ้าถ่ายรูปไม่เก่ง คุณสามารถค้นหาวิธีการถ่ายภาพใน Google เพื่อเรียนรู้และยังพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เก่งขึ้นได้

  • ซื้อรูปจากเว็บไซต์ขายรูปเนี้ยแหละ ง่ายและประหยัดเวลา

เว็บไซต์ขายภาพ จะคอยรักษาผลประโยชน์ให้กับเจ้าของภาพถ่าย กรณีที่มีการละเมิด ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย หากคุณต้องการนำภาพมาใช้ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานของคุณ คุณก็ต้องชำระเงินตามที่เว็บไซต์นั้นกำหนด จากนั้นคุณก็จะมีสิทธิ์ในการใช้รูปนั้นได้ แต่ใช่ว่าโหลดรูปมาแล้ว คุณจะนำไปใช้ได้ในทุกกรณี หากคุณนำภาพ เพื่อใช้ในการค้า ให้สังเกตคำว่า “Royalty Free” (ใช้ทางการค้าได้)

ส่วนสำหรับใครที่กำลังถูกละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ มีวิธีดำเนินการดังนี้…

1.เก็บภาพผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์คุณให้ได้มากที่สุด

คุณสามารถเช็คภาพของคุณได้ที่ https://images.google.comซึ่งวิธีนี้ช่วยได้ในระดับหนึ่ง คุณสามารถทราบได้ว่า รูปภาพของคุณนั้นมีการนำไปใช้ที่ไหนบ้าง จากนั้น ให้คุณแคปภาพเก็บไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน ทั้งภาพที่นำไปใช้ ภาพโปรไฟล์ของผู้ที่นำไปใช้ ถ่ายวัน เดือน ปี เวลาไว้ด้วย

2.หาข้อมูลผู้ละเมิดลิขสิทธิ์

คุณต้องทราบชื่อ นามสกุลและเบอร์โทรศัพท์ ของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของคุณ ก่อนแจ้งความดำเนินคดี

3.เอกสารครบ แจ้งความได้ทันที

เมื่อคุณรวบรวมหลักฐานครบเรียบร้อยแล้ว สามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาหรือศาลแพ่งได้เลย จากนั้นก็เรียกร้องค่าเสียหายได้ตามต้องการ เพื่อให้เรื่องยุติ คุณอาจจะเรียกร้องค่าเสียหายเป็นล้านก็ได้ แต่ถึงอย่างไร ศาลจะเป็นผู้กำหนด อัตราเงินให้โจทก์อยู่ดี เมื่อตกลงกันได้แล้ว ถือเป็นอันเสร็จสิ้น แต่หากยังตกลงกันไม่ได้ จะมีการส่งคดีไปยังศาลในลำดับต่อไป..

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า