ภาพลวงตา เป็นภาพที่ชวนสงสัยและคิดตามว่า เป็นไปได้อย่างไร ตามที่สมาคมประสาทสัมพันธ์ (Neural Correlate Society) ได้จัดการประกวดภาพลวงตายอดเยี่ยมขึ้นในทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดด้านการวิจัยและสร้างความบันเทิง ซึ่ง 10 อันดับผลงานยอดเยี่ยมประจำปี 2020 มีดังนี้
ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1
Kokichi Sugihara จากมหาวิทยาลัย Meiji ประเทศญี่ปุ่น กับผลงานที่มีชื่อว่า “3D Schröder Staircase” หรือ “บันไดชโรเดอร์ 3 มิติ”
ซึ่งบันไดชโรเดอร์แบบดั้งเดิมจะเป็นภาพ 2 มิติที่มีการตีความสองแบบ สามารถมองเห็นได้เหมือนกันทั้งด้านบนและด้านล่างเพียงแค่พลิกภาพกลับหัว แต่วัตถุ 3 มิติในปัจจุบันยังมีการตีความสองแบบด้วยกันซึ่งทั้งสองแบบนี้เป็นบันไดที่มองเห็นได้จากด้านบนและการตีความจะสลับไปมาเมื่อเราหมุนวัตถุ 180 องศา
เป็นเคล็ดลับง่ายๆที่อาจดูเหมือนบันได แต่จริงๆแล้วเป็นเพียงพื้นผิวเรียบ แต่ใช้มุมและร่มเงาอย่างชาญฉลาดเพื่อหลอกสมองของคุณ เพื่อให้การรับรู้ภาพง่ายขึ้นและสมองของเราจะตั้งสมมติฐานได้อย่างรวดเร็ว โทนสีเข้มหมายถึงเงาจะบ่งบอกถึงความลึก เส้นที่มาบรรจบกันมักจะเป็นหน่วยวัดระยะทาง เมื่อถูกโยงเข้าด้วยกัน สมองคุณจะประมวณผลเข้ากับสิ่งที่คุ้นเคยและเพื่อให้เข้ากับรูปทรงที่มองเห็น นั่นคือบันไดนั่นเอง
ผู้ชนะอันดับ 2
Matt Pritchard จากประเทศอังกฤษ กับผลงานภาพลวงตาผ่านกระจกที่มีชื่อว่า “The Real Thing??”
วิดีโอแสดงภาพลวงตาของการรับรู้ภาพสะท้อนของกระป๋องโค้กในกระจก โดยที่ผู้ชมกำลังมองผ่านกรอบที่ว่างเปล่าเพียงวินาทีละกระป๋อง คำถามคือ “สิ่งไหนคือของจริง” แม้ว่าจะถอดองค์ประกอบที่ออกแบบมาหลอกลวงเพื่อโน้มน้าวผู้ชมออกไป แต่ภาพลวงตาของการมองเห็นกระจกก็ยังคงมีอยู่เมื่อดูในช่วงเวลาสั้นๆ การตรวจสอบอย่างรอบคอบจะเปิดเผยความคลาดเคลื่อนในที่เกิดขึ้น แต่ยังคงสร้างความสับสนให้กับระบบการมองเห็นอยู่นั่นเอง
ผู้ชนะอันดับ3
Daniël Maarleveld จากประเทศเนเธอแลนด์ กับผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “Impossible grid typography “
คุณมองเห็นภาพลวงตาตัวอักษรและตัวเลข 3 มิติหมุนตามเข็มนาฬิกาบนหน้าจอหรือทวนเข็มนาฬิกา เมื่อตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เราจะไม่สามารถถอดรหัสได้ว่ารูปทรงกำลังหมุนไปทางใดหรือแม้กระทั่งรูปทรงนั้นแข็งหรือยืดหยุ่น ผลลัพธ์ที่ได้คือชวนให้มึนงงและหลงใหลในการรับชม
ผู้ชนะอันดับ 4
Mark Wexler, Patrick Cavanagh, and Stuart Anstis นักวิชาการด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติกับมหาวิทยาลัยประเทศฝรั่งเศส แคนาดาและสหรัฐอเมริกา กับผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “Landloping ladybugs: Frame-induced position shift”
จากการแสดงตำแหน่งที่เกิดจากเฟรมที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพสูง ภาพลวงตาใช้เต่าทองแสดงให้เห็นว่าการรับรู้ของเราเกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุสามารถเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับกรอบและบริบทโดยรอบ ซึ่งภาพลวงตาแสดงให้เห็นว่า “แทนที่จะมองเห็นวัตถุในตำแหน่งที่แน่นอนเราจะเข้าใจว่าวัตถุเหล่านั้นอยู่ที่ไหนโดยสัมพันธ์กับจุดสังเกตอื่นๆที่มองเห็นได้”
เป็นแนวคิดอันชาญฉลาดที่ว่าเขาไม่ได้หลอกเรา มีแต่สมองเราที่หลอกเรา ถูกหลอกด้วยประสบการณ์ของตัวเองที่สมองเคยพบเห็นและจดจำ
ผู้ชนะอันดับ 5
Michael Karlovich & Pascal Wallisch จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา กับผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “The Sunray Illusion”
นำเสนอด้วยรูปทรงคล้ายวงแหวนที่ตัดกัน คนส่วนใหญ่จะเห็นแสงจ้าที่มาจากจุดศูนย์กลางคล้ายกับสิ่งที่พวกเขาจะเห็นเมื่อมองไปที่ดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามรังสีที่ส่องแสงเหล่านี้เป็นภาพลวงตาที่ไม่มีอยู่จริง แนวโน้มในการรับรู้รังสีลวงตาจะมีมากขึ้นหากมีจุดตัดกันมากขึ้นในรูปทรงเหล่านี้และหากมีการจัดตำแหน่งที่ดีขึ้นจะทำให้สมองของเราเชื่อมต่อจุดต่างๆซึ่งก่อให้เกิดรังสีขึ้น ภาพลวงตานี้เป็นตัวอย่างของการที่สมองของเราตีความข้อมูลในแบบที่เป็นไปได้มากที่สุดเช่นการเปรียบเปรยกับดวงอาทิตย์ที่มีแสงสะท้อนออกมา
ผู้ชนะอันดับ 6
Kento Imai and Kenri Kodaka จากมหาวิทยาลัย Nagoya ประเทศญี่ปุ่น กับผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “XRAYSCOPE”
ปัจจุบันในปี 2020 พบว่าเทคโนโลยีการมองเห็นผ่านผิวหนังโดยใช้รังสีเอกซ์นี้ทำได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ฉายแสงบนมือเพียงแค่มีอุปกรณ์ ได้แก่ กระจกใสครึ่งบานและไฟสองดวงเพื่อเพิ่มความสว่างให้กับช่องว่างสองช่องรวมทั้งวัตถุคล้ายกระดูกที่เป็นแท่งๆที่คุณชื่นชอบ (เช่น ปากกา, แปรงสีฟัน หรือแท่งแครอท เป็นต้น)
ผู้ชนะอันดับ 7
Masashi Atarashi จากโรงเรียนมัธยม Gojo ประเทศญี่ปุ่น กับผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “Subtitles Illusion”
ในทีวีหรือวิดีโอเช่น YouTube เมื่อคำบรรยายแสดงด้วยความเร็วต่างๆคำบรรยายที่เร็วจะยิ่งมองใกล้ ในขณะที่คำบรรยายที่ช้ากว่าจะมองไกลออกไป
ผู้ชนะอันดับ 8
Blaise Balas and Benjamin Balas จากโรงเรียนมัธยมต้น Benjamin Franklin ประเทศสหรัฐอเมริกา กับผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “Transparent Knife Illusion”
ภาพลวงตาที่มีดธรรมดาดูโปร่งใสเมื่อวางไว้ตรงกลางซี่ส้อม แม้ว่ามีดจะสะท้อนวัตถุอื่นๆที่อยู่ใกล้ๆ แต่ลักษณะของส้อมก็ยังคงทำให้ตัวมีดดูเหมือนจะมองทะลุได้ หากคุณลดมีดลงในตำแหน่งระหว่างซี่ส้อมจากด้านบนดูเหมือนว่ามีดจะเปลี่ยนจากวัตถุสะท้อนแสงเป็นแบบโปร่งใส
ผู้ชนะอันดับ 9
Aya Nishii, Masaki Ohno, Masashi Nakatani จากมหาวิทยาลัย Keio ประเทศญี่ปุ่น จากผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “The Tapioca Tactile Illusion”
ถ้าคุณเจาะกระดาษวาดเขียนเป็นรูโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. แล้วสอดนิ้วเข้าไปในรูจากทั้งสองด้านคุณจะรู้สึกได้ถึงผิวสัมผัสที่เรียบเนียนและอวบอิ่มเหมือนผิวมันสำปะหลัง ใช้พลาสติกคล้ายกระดาษแทนกระดาษวาดเขียนหรือเปลี่ยนขนาดของรูที่จะทำและเพลิดเพลินไปกับความรู้สึกต่างๆ
ผู้ชนะอันดับ 10
Russell D. Hamer and Christopher W. Tyler นักวิชาการจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ กับผลงานภาพลวงตาที่มีชื่อว่า “Illusory ‘Misty’ Contours”
เป้าหมายหลักของการมองเห็นคือการระบุวัตถุในฉากอย่างมีประสิทธิภาพและจัดระเบียบให้เป็นภาพ 3 มิติ เป็นการสร้างรายละเอียดที่น่าประหลาดใจ เช่น “เมฆเบลอ” สามารถมองเห็นได้ในส่วนสีขาวเมื่อชิ้นส่วนที่ตัดออกจากภาพวาดมีการทำซ้ำและจัดเรียง และใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันเสริมของสมองในการชดเชยข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริง
ผ่านไปทั้งหมด 10 อันดับ เพื่อน ๆ ชอบอันไหนบ้างครับ เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า แม้กระทั่งเรื่องภาพลวงตา ยังไม่การศึกษาและประกวดกันอย่างจริงจัง และที่สำคัญคือ อย่าเพิ่งเชื่อ ในสิ่งที่ตาเห็น พิสูจน์แล้วด้วยเรื่องลวงตาระดับโลกทั้ง 10 เรื่องนี้