Search
Close this search box.
จ่ายภาษี

ไม่อยากจ่ายภาษีเยอะ..ค่าลดหย่อน ช่วยคุณได้

 

หลายคนหลีกเลี่ยงการ จ่ายภาษี ในปริมาณจำนวนเงินที่มากๆ ด้วยการนำค่าลดหย่อนมาหักลบกับภาษี ซึ่งค่าลดหย่อนนั้น นอกจากจะช่วยให้คุณ จ่ายภาษี ได้น้อยลงแล้ว ยังสามารถได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยสิทธิค่าลดหย่อนภาษี 2564 สำหรับผู้ จ่ายภาษี มีด้วยกัน 5 กลุ่ม

กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท (จะหักได้ทันทีที่ยื่นแบบแสดงรายได้)
  • ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท (สามี-ภรรยา ต้องจดทะเบียนสมรสเท่านั้น และอีกฝ่ายต้องไม่มีเงินได้หรือมี แต่ต้องคำนวณภาษีพร้อมกัน ไม่ได้ต่างคนต่างยื่นภาษี)
  • ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท (ไม่จำกัดจำนวนบุตร แต่บุตรจะต้องอยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 20 ปี ในปีภาษีนั้น ถ้าบุตรมีอายุระหว่าง 21-25 ปี ในปีภาษีนั้น ต้องกำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป ถ้าบุตรมีอายุ 25 ปีขึ้นไป ในปีภาษีนั้น ต้องเป็นผู้ที่ไร้ความสามารถ และบุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป)

หมายเหตุ กรณีที่เป็นบุตรตามกฎหมาย สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่จำกัดจำนวนบุตร แต่ถ้าหากเป็นบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน แต่ถ้าคุณมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน แต่ถ้าหากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่จำนวน 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้

  • ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร หักค่าใช้จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท (ค่าตรวจครรภ์, รับฝากครรภ์, ค่าบำบัดทางการแพทย์, ค่ายา, ค่าเวชภัณฑ์, ค่าทำคลอด, ค่ากินอยู่ในโรงพยาบาล)

หมายเหตุ กรณีคลอดบุตรแฝด คุณสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์คราวเดียว และไม่ว่าทารกที่คลอดจะมีชีวิตหรือไม่มีนั้น ก็สามารถหักค่าลดหย่อนภาษีได้ พร้อมเตรียมหลักฐานอย่างใบรับรองแพทย์ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรให้แก่สถานพยาบาล

  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา–มารดาของตนเอง อายุ 60 ปีขึ้นไป ได้คนละ 30,000 บาท (หากมีลูกหลายคนจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียวเท่านั้น)
  • ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อคน

หมายเหตุ ต้องเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายและผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • ประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝาก ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิต และเงินฝากแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

หมายเหตุ บุตรที่จะใช้สิทธิต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้น บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิได้ ถ้ามีบิดา-มารดา มีบุตร 2 คน ร่วมกันซื้อประกันสุขภาพให้บิดา จำนวน15,000 บาท บุตรทั้ง 2 คน สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ต้องเฉลี่ยคนละครึ่ง

  • ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund) หรือ กองทุนรวม SSF (สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท)
  • กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (Super Savings Fund Extra) หรือ กองทุนรวม SSFX (เพิ่มจากวงเงินเดิมอีก 200,000 บาท )
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF) หักลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท

หมายเหตุ หากเงินเกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
  • กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
  • กองทุนการออมแห่งชาติ ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท

กลุ่มค่าลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

หมายเหตุ ถ้ากู้ร่วมหลายคน ต้องแบ่งดอกเบี้ยเท่ากัน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน

กลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
  • เงินบริจาคสถานพยาบาลของรัฐ, สนับสนุนการกีฬา, และการพัฒนาสังคม สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

​​​​​กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • ช้อปดีมีคืน ลดหย่อยตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท หรือซื้อสินค้าโอทอป (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ระบุว่าเป็นรายการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

จากที่กล่าวมาข้างต้น ในเรื่องของค่าลดหย่อนภาษี  จะเห็นได้ว่า ถ้าเรานำค่าลดหย่อนในส่วนต่างๆ มาใช้ลดหย่อนภาษี ก็ยิ่งทำให้เราจ่ายภาษีได้น้อยลง ซึ่งบางคนจากที่จะต้องจ่ายภาษี พอนำค่าลดหย่อนต่างๆมาช่วย กลับกลายเป็นว่า ไม่ต้องจ่ายภาษีก็มี ซึ่งหลายคนคงอยากทราบกันแล้วว่า.. ถ้าหากเรานำค่าลดหย่อนภาษีต่างๆมาช่วยในส่วนนี้ ค่าภาษีจะเหลือเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งวิธีการคำนวณไม่ยากเลย ..

ตัวอย่าง มนัสนันท์ เงินเดือน 50,000 บาท เงินโบนัสอีก 100,000 บาท เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว เหลือ 500,000 และมีค่าลดหย่อน ดังนี้

  • สิทธิลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ประกันสังคม 9,000 บาท
  • อุปการะดูมารดา 30,000 บาท
  • ลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท

ค่าลดหย่อนของมนัสนันท์ คือ ( 60,000+9,000+30,000+30,000 = 129,000)

จากนั้น นำเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว – ค่าลดหย่อนทั้งหมด = เงินได้สุทธิ (500,000 – 129,000 = 371,000 บาท เสียภาษี 10 %)

จากนั้น เราจะคิดแบบขั้นบันได เงินได้สุทธิของมนัสนันท์ คือ 371,000 บาท สิ้นสุดที่ขั้นบันไดที่ 3 ก็คือ >300,001- 500,000

เมื่อได้ผลลัพธ์ทั้ง 3 ขั้นบันไดแล้ว นำมารวมกัน (0 + 7500 + 7100) = 14,600 บาท สรุป มนัสนันท์ ต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวน 14,600 บาท

READ  “ภาษี” เรื่องสำคัญ..ที่คุณจำเป็นต้องรู้

ถ้าไม่จ่ายภาษี จะเป็นอะไรไหม ?

มีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบว่า เมื่อตนเองเริ่มมีรายได้ นั่นเท่ากับว่า คุณต้องยื่นภาษี และถ้าหากเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็จำเป็นต้องจ่ายภาษีตามที่ภาครัฐกำหนดไว้ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักละเลยในส่วนนี้

หรือบางคนทราบดีอยู่แล้วว่า ตนเองต้องจ่ายภาษี แต่ไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง ก็จะเกิดคำถามตามมาว่า “ถ้าไม่จ่ายภาษี จะโดนค่าปรับอะไรไหม ถ้าไม่จ่ายภาษีได้หรือเปล่า” เราได้รวบรวมข้อกฎหมายที่ภาครัฐกำหนดไว้ ดังนี้

1.ไม่ชำระภาษีภายในวันเวลาที่ภาครัฐกำหนด

ผู้เสียภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน จนถึงวันชำระภาษี

2.พนักงานออกหมายเรียก แต่ผู้เสียภาษีไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ หรือชำระภาษีต่ำไป

ผู้เสียภาษีจะต้องชำระเงินเพิ่ม และเสียเบี้ยปรับอีก 1 – 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ

3.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในเวลาที่กำหนด

ผู้เสียภาษี ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

4.ผู้เสียภาษีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จ ฉ้อโกง

ผู้เสียภาษี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท – 200,000 บาท

5.ผู้เสียภาษีมีเจตนาไม่ยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร

ผู้เสียภาษีมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rd.go.th/publish/309.0.html

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า