Search
Close this search box.
talk

การพูดคือทุกสิ่ง

50 กฏที่ไม่เคยเปิดเผย จากหนังสือ การพูด คือทุกสิ่ง จะช่วยเปลี่ยนวิธีพูดของผู้บริหารและประธานบริษัทกว่า 1,000 คน โดย “ครูสอนพิเศษที่บ้านในตำนาน” Bestseller จากญี่ปุ่นเล่มนี้ เป็นผลวิจัย และประสบการณ์จริง สรุปเป็นประเด็นสั้น เข้าใจง่าย สำคัญ ลึกซึ้ง และทำได้จริง นักเขียนสอนผู้บริหารมากกว่า 1,000 คน เป็นอดีตนักหนังสือพิมพ์ที่ได้สัมภาษณ์ผู้นำทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ

ผู้ถือดีกรีปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เคยเป็นนักวิจัยเรื่องการสื่อสารในยุอินเทอร์เน็ตจากสถาบันMIT และนักวิจัยเทคนิคการต่อรองที่ฮาวาร์ดลอว์สคูล ณ เมืองแมสซาชูเซตส์ฝึกการพูดในเวิร์คช็อปที่นิวยอร์ค จากที่เป็นคนประมาทจนเหงื่อแตก เมื่อต้องพูดนำเสนอ พลิกเป็นผู้สื่อสารได้สบายเหมือนแค่สูดลมหายใจ “แค่เปลี่ยนวิธีพูด ชีวิตก็เปลี่ยนด้วย” ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม

1.แม้จะลืม “เนื้อหาที่สนทนากัน” แต่ “ความประทับใจ/ความรู้สึก” ยังคงอยู่

เมื่อได้คุยกับผู้บริหารในต่างประเทศ มักจะตกใจกับความฉลาดของ “วิธีเริ่ม” บทสนทนา พวกเขาเข้าหาผู้ฟังด้วยรอยยิ้มที่สดใสและทักทายว่า “How are you?” แล้วคุยเรื่องส่วนตัว เช่น เรื่องครอบครัวอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้รู้สึกใกล้ชิดได้รวดเร็วและสร้างมิตรภาพได้

พวกเขาทราบดีว่าในการสื่อสารสิ่งที่สำคัญกว่า “การพูดอะไร” คือ “ทำให้ผู้ฟังรู้สึกอย่างไร” ไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดหรือสิ่งที่คุณทำ แต่ส่วนใหญ่พวกเขาจะจำว่า “รู้สึกอย่างไร” การคุยเล่นเป็นการ “คว้า”โอกาสที่จะสร้าง “ความรู้สึก/ความประทับใจ” และเป็น “ช่วงเวลาแห่งการดึงดูดใจคน”

2.การพูดคือการผละจากมุมมองของตัวเอง ผู้ฟังจะได้รับลูกที่รับได้ง่าย

การสื่อสาร (Commuunication) ที่มาจากภาษาละตินแปลว่า “การแบ่งปัน” เป็นการส่งและรับข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย เมื่อเกิด “ปฏิกิริยาทางเคมี” บางอย่าง จะสื่อถึงกันได้ และคนก็จะเคลื่อนไหว คนเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่รับเฉพาะ “ข้อมูลที่ตัวเองอยากฟังเท่านั้น” ถ้าคุณอยากเปิด “ประตูใจของผู้ฟัง”ก่อนอื่นต้องทำให้กุญแจซึ่งก็คือ ตัวคุณเข้ากับ “รูกุญแจ” ซึ่งก็คือผู้ฟังให้ได้

3.คนทั่วไปขยับ “ปาก” แต่คนชั้นแนวหน้ขยับ”ตาและหู”

คนเรามาคุยเรื่องตัวเองมากกว่าฟังเรื่องของคู่สนทนา บทสนทนาของคนเรา 60%จะคุยเรื่องตัวเอง ในสื่อโซเชียล80% ก็เป็นการคุยเรื่องของตัวเอง การคุยเล่นหรือการสนทนาไม่ใช่ “การคุย” แต่เป็นการ “ตั้งคำถาม” และการ “ฟัง” สรุปสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากกว่าการเปิดปากคือการเงี่ยหูฟัง หูกับตามีสองข้าง แต่ปากมีเพียงหนึ่งเดียวเราควรฟังและมองตาของคู่สนทนามากกว่าเวลาพูดสองเท่า

4.การคุยเล่นต้องพัฒนาด้วย “พลังแห่ง “W”

ฝึกฝนการตั้งคำถามที่ขึ้นต้นด้วย “W” คำถามที่เริ่มต้นด้วย “6W1H” (What-อะไร, Who-ใคร, When-เมื่อไหร่, Where-ที่ไหน, Why-ทำไม, Which-แบบไหน, How-อย่างไร) ทั้งหมดนี้เป็น “คำถามปลายเปิด” ไม่ว่าคำไหนก็เป็นคำที่ขึ้นต้นด้วย “W” หากคุณจำแค่6คำถามนี้ก็เอาตัวรอดในการสนทนา 5 นาที 10 นาทีได้อย่างไม่ยุ่งยาก

5.ยิ่งใช้ “คำถาม 4 ประเภท” ซ้ำไปซ้ำมาบทสนทนาจะไม่ขาดตอน

  • คำถามเปิดการสนทนา เช่น สบายดีไหมเป็นคนที่ไหน
  • คำถามถามกลับ ถามด้วยเรื่องเดียวกับที่ได้ฟัง
  • คำถามต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คู่สนทนาพูด
  • คำถามเปลี่ยนเกียร์ ที่เปลี่ยนหัวข้อสนทนาไปเลย

ใช้วงจรแบบ ถาม-ฟัง-ถาม-ฟัง-เล่าเรื่องตัวเองวนไปเท่านี้ ทุกคนก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการคุยเล่นได้อย่างรวดเร็ว

6.หาเรื่องคุยที่ทำให้ผู้ฟังยินดีด้วย “กฏสินค้ายอดนิยม”

เคล็ดลับของการคุยเล่นหรือการสนทนาอย่างสนุกสนานคือ การเรียนรู้จาก “กฏยอดนิยม” คุณควรเลือกเรื่องสนทนาเกี่ยวกับ “สิ่งใกล้ตัว”เกี่ยวข้องกับ “ปัญหา” หรือ “กำไรขาดทุน” “สะดวก” และ “มีผลกระทบ”สำหรับคู่สนทนา

7.ตะครุบ “ความสนใจ”ของผู้ฟังด้วย “กฏข่าวเช้า”

  • ตามกระแส สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงฮิต
  • มีชื่อเสียง คนหรือบริษัทที่มีชื่อเสียง
  • ความยากลำบาก ความผิดพลาด ความขัดแย้ง
  • ความรู้สึก เรื่องที่สร้างความรู้สึกตกใจ โกรธ หรือดีใจ
  • สารภาพ ความลับ เรื่องที่เล่าเป็นครั้งแรก
  • ความเปลี่ยนแปลง อะไรบางอย่างใหม่ๆสิ่งที่เพิ่มและลด

8.สื่อสารว่า “คุณยอดเยี่ยมมาก” ไม่ใช่ “ฉันสุดยอดเลย”

ไม่ว่าใครก็อยากได้รับคำชื่นชมมากกว่าฟังคำโอ้อวดของคนอื่น พูดตรงๆก็คือผู้ฟังอยากฟังว่า “คุณยอดเยี่ยมมาก” ไม่ใช่ “ฉันสุดยอดเลย” ตอนที่คุณเล่าเรื่องตัวเองจึงไม่ควรจบแค่อวดตัวเองแต่ให้ถ่ายทอด “คุณค่าของคู่สนทนา” อย่างหนักแน่น เคล็ดลับของการคุยเล่นเพียงฝึก “วิธีชม”ให้เก่งความเป็นที่ชื่นชอบจะเพิ่มขึ้นทันที

9.ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีด้วยกฏ “เห็นรู้ยกรู้”

กุญแจสำคัญคือการชมที่รวม 4 สิ่งเข้าด้วยกันได้แก่

  • “เห็นชอบ(ยอมรับ)” สังเกตเห็น ยอมรับตัวตนและการกระทำของคู่สนทนา
  • “รู้สึกร่วม” การยอมรับ เห็นด้วย เห็นพร้อมกับความรู้สึกหรือความเห็นของผู้ฟัง
  • “ยกย่อง(ชื่นชม)” การชมจุดเด่น
  • “รู้สึกขอบคุณ” พูดขอบคุณ ตามความรู้สึก

10.ตอนชมให้ใช้ “ซุ-หงุ-คิ” ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้น

  • ซุ = ชมทันที (ทันทีหลังจากที่ทำบางอย่างที่เหมาะสม)
  • หงุ = ชมอย่างเป็นรูปประธรรม
  • คิ = ชมโดยใส่ความรู้สึกเข้าไปด้วย

ไม่ใช่แค่การชื่นชมเพียงอย่างเดียวยังใช้เมื่อคุณต้องการถ่ายทอดความรู้สึก “ยอมรับ” “รู้สึกร่วม” และ “รู้สึกขอบคุณ”

11.ชม 6 ดุ 1 คือ สัดส่วนที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

หากขาดการสื่อสารความรู้สึกนึกถึงและคุณค่าก็จะไม่เพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญคือการผสมผสาน”การชม” และ “การดุ” ในอัตราส่วนที่ดีที่สุด

12.วิธีดุที่ถูกต้อง

  • ตอนดุให้ลองใส่ ปัจจัย 4 ประการลงไป
  • ข้อเท็จจริงที่ควรดุ
  • ทำไมถึงเสียงนั้นถึงไม่ถูกต้องหรือ (เหตุผล)
  • ตัวเองคิดอย่างไรเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น(ความรู้สึกส่วนตัว)
  • ให้ระบุแนวทางแก้ไข

สิ่งที่ไม่ควรทำคือ การพร่ำบ่น ที่เอาแต่ยัดเยียดความคิดอยู่คนเดียวหรือการ “ตัดสิน” ที่สร้างแผลใจให้ผู้ฟัง

13.อย่างแรกคือต้องสร้างคำพูดที่สรุปแล้วไม่เกิน 13 คำ

ขั้นตอนการสรุปใจความสำคัญหรือข้อสรุปที่อยากบอกให้เป็นคำพูดสั้นๆอันทรงพลังเป็นขั้นตอนเดียวกับการพาดหัวข่าวในบทความตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารเพราะความยาวประมาณนี้จะ “ทำให้ผู้ฟังเห็น” มากกว่า “ทำให้ผู้ฟังอ่าน” และเข้าใจง่ายทันที

14.ขัดเกลา คำพูดทางจิตวิญญาณด้วย 3 ขั้นตอน

  • ประเมินคุณค่าของคำพูดเอาสิ่งที่อยากพูดออกมาจากชั้นวางหรือตู้เสื้อผ้าในสมองออกให้หมดแล้วลองจัดวางเรียงกันดู
  • คัดเลือกคำพูดสร้างความประทับใจคือแยกคำพูดที่ประเมินเราว่าดีและหยิบเอาเฉพาะคำพูดที่โดนใจเป็นพิเศษ
  • สรุปให้ไม่เกิน 13 คำ ต้องเป็นคำที่ดึงดูดความสนใจและเป็นคำพูดที่ทำให้หัวใจเต้นแรง

15.พื้นฐานสุด ๆ ที่ชาวเด็กอเมริกันต้องได้เรียน “กฎการพูดแบบแฮมเบอร์เกอร์”

ที่ระบุว่า ข้อสรุป-เนื้อหา-ข้อสรุป” ต้องเริ่มจากกำลังพูดเรื่องอะไร แล้วพูดเรื่องนั้นไป สุดท้ายก็ให้สรุปว่าพูดเรื่องอะไรไป

16.แผนกกลยุทธ์

เหตุผลก็คือที่เรียบง่ายและชัดเจนด้วย ” ข้อสรุป-เหตุผล-ตัวอย่าง-ข้อสรุป” หากคุณเชื่อมโยงสิ่งที่พูดด้วยคำว่า “เหตุผลก็คือ…” ไม่ว่าเรื่องแบบไหนก็ตามก็จะช่วยเพิ่มพลังโน้มน้าวได้เกินคาด

17.อธิบายขั้นสุดท้ายอย่างเรียบง่ายและชัดเจน “แผนกลยุทธ์มี 3 ข้อ”

เป็นวิธีกล่าวข้อสรุปและอธิบายว่า เหตุผลหรือประเด็นสำคัญมี 3 ข้อ เช่น จุดสำคัญเหตุผล ปัญหา

18.แผนกลยุทธ์แก้ปัญหาทั้งที่ประธานาธิบดีและรายการสินค้าทางโทรทัศน์ใช้กันมาก

การนำเสนอให้น่าสนใจโดยพื้นฐานใช้โครงสร้างที่เรียกว่า “Problem-Solution Fit (ปัญหา-วิธีแก้ไข)”เป็นเทคนิคการเปิดประเด็นที่หยิบยกปัญหาที่เป็นเรื่องกลุ้มใจหรือเป็นประเด็นขึ้นมาแล้วชี้ให้เห็นวิธีแก้ไข

19.ผู้นำที่ใช้ “รูปแบบอาจารย์” นั้นเก่าแล้ว

ให้ฝึกวิธีพูด “รูปแบบมีความรู้สึกร่วม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโซเชียลมีเดียที่ยึดถือการมีอารมณ์ร่วมและการกระจายข้อมูลในแนวระนาบ จำเป็นต้องเข้าใจความรู้สึกของคน และมีทักษะอยู่เคียงข้าง เปลี่ยนจากรูปแบบอาจารย์ ซึ่งชี้นิ้วสั่งและควบคุมจากเบื้องบนทางเดียวมาเป็นรูปแบบมีความรู้สึกร่วมที่ยืนอยู่ในระดับสายตาเดียวกับพนักงานและดึงพลังนั้นออกมา

20.สิ่งจำเป็นในการเป็นผู้นำที่เรียนรู้จักทรัมป์คือ “วิธีพูดที่ทำให้รู้สึกดี”

ตัวของทรัมป์นั้นไม่ใช่คนที่มีนโยบายแน่วแน่เพียงแต่ไวต่อการรับรู้ถึง “ความคิดและสิ่งที่ผู้สนับสนุนอยากฟัง” และเปลี่ยนถ้อยคำได้อย่างเชี่ยวชาญ

21.กฎการพูดแบบคำทำนายและ “นั่น-ไม่-ลำบาก-เข้าใจ”

ช่วยสะกิดต่อมความรู้สึกของผู้ฟังได้ ผู้ฟังจะรู้สึกว่ามีคนคอยอยู่เคียงข้างมีคนคอยเข้าใจฉัน วิธีพูดเช่นนี้จะช่วยเปลี่ยนจาก “ไม่ใช่อย่างนั้น” เป็น”นั่นแหละ ๆ “และเปลี่ยนจาก “ไม่ใช่หรอก”เป็น “ใช่เลย ๆ “ได้อย่างรวดเร็ว

22.ทำสัญญาณเตือนใจให้ดัง เพื่อให้ได้อารมณ์ร่วม

เป็นการกระตุ้นความรู้สึกของผู้ฟังสร้างอารมณ์ร่วมขึ้นมาระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง

23.แพร่กระจายอารมณ์ด้วย “กฎของ AHA”

วิธีตรวจสอบง่ายๆว่าการเล่าของคุณกระตุ้นจิตใจผู้ฟังได้แค่ไหน ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมหรือไม่คือ กฎ AHA (อ๊ะหา) ให้ลองจินตนาการว่าผู้ฟังอุทานออกมาเป็น “วรรคอะ” หรือ “วรรคฮะ” ได้แค่ไหน เช่น อ๊ะ ว้าว เหวอ! เอ๊ะ โอ้! เป็นต้น

24.สะกดใจผู้ฟังด้วยเวทมนต์ของ “เรื่องเล่า”

ในการเล่าเรื่องราวส่งผลให้เกิดการแฮ็กกิ้งสมองของผู้ฟัง เพราะฉะนั้นคนระดับหัวกะทิในโลก จึงใส่ความคลั่งไคล้ในการสร้างเรื่องราว เพราะคนเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอารมณ์ร่วมกับ “เรื่องเล่า”มากกว่า “ตรรกะ”ที่น่าเบื่อ

25.ลองสร้าง “เรื่องราว 30 วินาที” ที่ใส่ “before” “after” และ “ข้อคิด”

ลองค้นหาคอนเทนต์ที่ทรงพลังที่เป็น “เรื่องราวที่เปลี่ยนตัวเองหรือเปลี่ยนชีวิต”

READ  กลยุทธ์การพูดคุยกับคน เมื่อคุณไม่มีอะไรจะพูด

26.ให้คู่สนทนา “เห็นภาพ” ด้วย

“คำพูดที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า” การใส่รายละเอียดอย่างความหายาก เนื้อสัมผัส กลิ่น หรือรูปลักษณ์ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า ถ้าอยากกระตุ้นใจของคู่สนทนาให้ใส่ใจ กับคำพูดที่ “ทำให้เห็น “และ “ทำให้รู้สึก”

27.ผู้นำเก่ง ๆ เป็น “พ่อมดแห่งตัวเลข”

สร้างแรงดึงดูดจาก “ตัวเลขที่ไม่ใช่เลขกลม ๆ ” ถ้าคุณใช้ตัวเลขได้เก่ง ก็จะได้คำพูดที่ “ทำให้เห็น” “ทำให้รู้สึก”ได้ ไม่ใช่แค่ให้ “ตัวเลขคร่าวๆ” แต่จงสร้างอิทธิพลและความรู้สึกด้านขนาดด้วย “ตัวเลขที่ถูกต้องและไม่เป็นตัวเลขกลมๆ”

28.ตัวเลขช่วยให้เห็น “เชิงสัมพัทธ์” และบอกความหมาย

ใช้ตัวเลขที่กระตุ้นจิตใจได้ด้วยสเกลที่ผิดธรรมดาความหายาก หรือความเปลี่ยนแปลงอย่างมากของตัวเลขนั้นแทนการใช้ตัวเลขเฉยๆ ให้ระบุ “เชิงสัมพัทธ์” และทำให้เห็น “ความหมาย” ของตัวเลขเพิ่มมากขึ้น

29.พูดถึงสิ่งที่แคบลงอีกขั้นหนึ่งด้วยกฏ “หน้าของคนหนึ่งคนดีกว่าล้านคน”

การมองเห็นหรือไม่เห็นหน้าช่วยสร้างความแตกต่างอย่างมากในการดึงพลังจินตนาการหรืออารมณ์ร่วมของคนได้ให้คุณลองจำกัดขอบเขตของสิ่งที่พูดถึง เนื้อหาให้แคบลงอีกขั้นหนึ่ง ก็ยิ่งจินตนาการภาพได้ง่ายและเพิ่มพลังโน้มน้าวได้มากขึ้นเท่านั้น

30.เปรียบเปรยด้วย “คำพูดที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน”

โดยเปรียบเทียบกับคำคนละประเภทเป็นที่รู้กันว่าการเปรียบเทียบ เพียงอย่างเดียวที่มีอิทธิพลต่อความคิดคนอย่างมาก ช่วยสร้างความรู้สึกทางกายประดุจคนฟังสัมผัสกับสิ่งนั้นจริงๆพูดง่ายๆคือ การอุปมาเป็นอาวุธพิสัยไกลที่ได้ผลที่สุดในการโน้มน้าวใจผู้ฟัง ซึ่งกระตุ้นสมองได้ในชั่วพริบตา

31.เปิดสวิตช์ “อันนี้ต้องฟัง” ฝึกฝนถ้อยคำแห่งมนตรา”

เปลี่ยนคำพูดเพียงนิดเดียวก็ช่วยเพิ่มพลังการโน้มน้าวได้ทันที สิ่งสำคัญคือหลังจากพูด “ถ้อยคำแห่งมนตรา”คือ การเว้นจังหวะเล็กน้อย การเว้นจังหวะนี้สร้าง “ความกระวนกระวายใจ” ทำให้ตื่นเต้นและเรียกความสนใจต่อเนื้อหาที่พูดหลังจากนี้

32.ฝึก “แก่นแท้ที่ไม่ตื่นเต้น” ในการนำเสนอ

ไม่มีอะไรดูแย่เท่ากับการพยายามวางมาดพูดอีกแล้ว”ทำตัวบ้าบอซะ” “เลิกวางมาด” นี่แหละเป็นก้าวแรกของการพัฒนาการนำเสนอ

33.กระเทาะ “เปลือก” ตัวเองออกด้วย “กฎของยู้ฮู”

การฝึกนี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพลังงานและอารมณ์ ในการพูดจริงให้ส่งเสียงว่า “ยู้ฮู ยู้ฮ ยู้ฮู” ในใจแทน

34.สร้างความเชื่อมโยงทางใจกับผู้ฟังด้วย “การจับมือเสมือนจริง”

ในการนำเสนอ 30 วินาทีแรก เป็นกุญแจที่สร้าง “ความเชื่อมโยงทางใจ”กับผู้ฟังการโต้ตอบว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ”เหมือนเป็นการจับมือเสมือนจริงกับผู้ฟังความรู้สึกจะสื่อออกไปถึงใจผู้ฟังและสมอง ก็จะคลายความตื่นเต้น

35.กฏแห่งใช่ไหมนะ ที่จะเปลี่ยนให้นำเสนอได้อย่างมีอารมณ์ร่วม

การสอบถามหรือตั้งคำถามเป็นการดึงผู้ฟังเข้ามาร่วมด้วย จึงช่วยเพิ่มความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความมีชีวิตชีวามากกว่าตั้งท่านำเสนออยู่ฝ่ายเดียว

36.แค่เปลี่ยน “.” เป็น “?” ก็ได้ผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่

แค่หนึ่งตัวอักษรก็จะเปลี่ยนจาก “การคุยกับตัวเองทางเดียว”เป็น “การพูดโต้ตอบกับผู้ฟัง” จนทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีกับคุณได้

37.ห้ามเริ่มจาก “แนะนำตัว” และ “กล่าวขอบคุณ”

เวลาสำคัญตอนขึ้นต้นการนำเสนอนั้นอย่าเริ่มต้นด้วยขอบคุณหรือการแนะนำตัวเพราะว่าตอนเปิดการนำเสนอสิ่งสำคัญที่สุดคือ “แรงดึงดูด” การนำเสนอตัดสินกันด้วย “ความประทับใจ 30 วินาทีแรกตอนเริ่ม”

38.ตอนเริ่มนำเสนอให้กุมหัวใจผู้ฟังด้วย 5 รูปแบบ

  • อารมณ์ขัน มีมุกเด็ดสักมุก
  • ความประหลาดใจ ความเกินคาดประทับอยู่ในความทรงจำอย่างเด่นชัด
  • เรื่องราว แค่เรื่องราวเบาๆก็ทำให้ใกล้ชิดกับผู้ฟังมากขึ้น
  • คำถาม วิธีที่พบบ่อยที่สุดในการเปิดเรื่อง
  • การสารภาพ “จริงๆแล้วฉัน…” เพียงเท่านี้ก็จับกุมใจผู้ฟังได้อย่างน่าสนใจ

39.เพิ่มพลังยิ่งขึ้นด้วย “การกุมหัวใจอีก 5 รูปแบบ”

  • กิจกรรมที่ทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม
  • ให้ดูคลิปวีดีโอ
  • เริ่มต้นด้วยบทพูด ข้อความดังหรือคติพจน์
  • ประกาศด้วยความบ้าบิ่น
  • พูดว่า “ลองจินตนาการดูสิครับ”แล้วบรรยายบรรยากาศ

การกลุ้มใจผู้ฟังไม่ใช่เฉพาะตอนต้นเท่านั้นเพื่อเหนี่ยวรั้งหัวใจคนสมัยนี้ที่เบื่อง่ายจำเป็นต้องใช้คำที่ ทำให้สนุก ทำให้ประหลาดใจทำให้คลั่งไคล้ ตลอดการนำเสนอด้วย

40.ความประทับใจแรกของคนเราตัดสินด้วยน้ำเสียง

ถึง 40% น้ำเสียงจะต้องมี “จังหวัดจะโคน”มากกว่า “ความดัง” ความประทับใจแรกของคนเราแบ่งคร่าวๆออกเป็นภาพลักษณ์ 50% น้ำเสียง 40% และคำพูด 10% ซึ่งเป็นกฎของเมห์ราเบียนสิ่งสำคัญของเสียงไม่ใช่ความดัง ดังนั้นการใช้น้ำเสียงเรียบๆก็เหมือนกับการปราศรัยริมถนนของนักการเมือง

41.น้ำเสียงที่ดี ออกเสียงได้ง่าย ๆ ด้วยการเคลื่อนไหว

พื้นฐาน 3 ประการเสียงคือการหายใจ

  • สูดลมหายใจเข้าทางจมูกเต็มที่ แล้วกักอากาศไว้ใน “ช่องว่างในท้อง”
  • พ่นลมหายใจออกทางปาก แล้วแขม่วช่องท้องราวกับบีบหลอดยาสีฟัน
  • ขณะพ่นลมหายใจก็ให้เปิดปากกว้าง ๆ และเป็นเสียงออกมา

42.เคล็ดลับของ “วิธีพูด” ทางออนไลน์ 6 ประการที่เรียนรู้จากยูทูปเบอร์

  • การแสดงสีหน้าหลากหลาย
  • การเคลื่อนไหวเยอะเกินจริง
  • ให้เห็นของจริงเพื่อดึงดูดความสนใจ
  • ใช้เสียงเอฟเฟกต์อย่างหนัก
  • ใส่ตัวอักษรบรรยายภาพ
  • ใช้ภาษาพูดแบบพูดคุย

43.กระตุ้นต่อมความรู้สึกของผู้ฟัง “จากตา” “จากหู”

การสื่อสารเป็นโลกที่ขับเคลื่อนอารมณ์อย่างยิ่งยวดที่อินสตาแกรมหรือสติ๊กเกอร์ ไลน์ได้รับความนิยมก็เพราะถ่ายทอดความรู้สึกทางภาพได้ ชาวเน็ตที่คุ้นเคยกับเครื่องมือดิจิทัลดังกล่าวคงไม่ประทับใจการอธิบายอย่างไม่มีจังหวะจะโคน หรือการนำเสนอที่มีแต่ตัวอักษรอัดแน่น ขอให้ระลึกว่าในการนำเสนอต้องกระตุ้นต่อมความรู้สึก “จากตา จากหู”

44.ถ้าเปลี่ยนได้เพียงข้อเดียวต้องเป็น “การสบตา”

การสบตากันช่วยส่งผ่านความรู้สึกทำให้เกิดอารมณ์ร่วมได้ง่าย แค่คุณสบตากันอย่างเป็นธรรมชาติเหมือนคุยกันอยู่ก็พอ

45.ใช้เวลามากกว่า 70% ของการนำเสนอในการมองผู้ฟังแล้วพูด

คนที่รู้สึกตื่นเต้นตอนสบตาคน ให้มองหว่างคิ้วของผู้ฟังก็ได้ เทคนิคที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันกับผู้ฟังในชั่วพริบตาได้นั่นก็คือ “การสบตา”

46.ความมั่นใจเริ่มต้นจาก “การแสร้งมีความมั่นใจ”

แค่ทำตัวให้มีพลังเต็มเปี่ยม ก็จะมีพลังเต็มเปี่ยมจริง ๆ หากคุณแสร้งทำตัวมั่นใจ ความมั่นใจก็จะตามมาเอง

47.ที่จริงต้องระวัง “ท่ามาตรฐานนั้น” ของคนญี่ปุ่น

การยืดอกพูดให้ผึ่งผายที่จริงแล้วมีเหตุผลสำคัญมาก ช่วยปกปิดจุดสำคัญ = ไม่มั่นใจในตัวเองและแอบซ่อนความกังวลไว้ ต้องยืดไหล่ผึ่งผาย ทิ้งแขนสองข้างลงจากไหล่ที่แผ่กว้างหรือประสานสองมือไว้เหนือสะดือนี่เป็นท่าพื้นฐาน

48.ภาวะผู้นำอยู่ใน “การใช้คำ” แบบไม่อ้อมค้อม

ลองลด “การพูด 2 อย่างนั่นคือ “คิดว่า…” “กำลังคุ้นคิดว่า…”ผู้นำที่แท้จริงไม่ใช้คำพูดสิ้นเปลืองภาวะผู้นำอยู่ในคำลงท้ายแบบไม่อ้อมค้อม

49.ยิ่งมีเสน่ห์เท่าไหร่ ต้องยิ่งใช้ “ความเงียบชั่วคราว”

เรียกว่า Pause (การหยุดชั่วคราว) ในตอนที่จะ”ต่อจากนี้ฉันจะพูดเรื่องสำคัญละนะ”ก็ให้เว้นไว้หนึ่งจังหวะซึ่งเรียกว่า Pregnant Pause(เว้นจังหวะแบบตั้งครรภ์) เป็นการส่งสัญญาณว่า “ต่อจากนี้สิ่งสำคัญกำลังจะเกิดนะ”

50.ใส่ “อารมณ์” และ “พลัง” ลงในคำพูดจูงใจผู้คนด้วย

พลังที่มองไม่เห็นยิ่งเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมเท่าไหร่ก็ยิ่งควบคุมอารมณ์และความเร่าร้อนและขยับเขยื้อนผู้คนด้วยพลังงาน ภาษากายไม่ใช่การเคลื่อนไหวตามความตั้งใจแต่เป็นพลังงานที่สื่อออกมาจากภายใน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า