การเขียนคำโฆษณาเป็นเรื่องยาก แต่การเขียนคำโฆษณาเพื่อโน้มน้าวใจยากยิ่งกว่า”
31 กลยุทธ์เพื่อการเขียนคำโฆษณาเพื่อโน้มน้าวใจ
1. เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
การเลือกใช้คำหรือศัพท์เทคนิคมากเกินไป อาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน เพราะถ้าคนอ่านไม่เข้าใจ ก็ไม่สามารถโน้มน้าวใจพวกเขาได้
2. ใช้คำพูดเชิงบวก
หากคุณใช้คำพูดเชิงบวกจะสามารถโน้มน้าวใจได้ดีกว่าคำพูดเชิงลบ
3. ใช้คำเชื่อมโยง
การเชื่อมโยงช่วยเพิ่มความชัดเจนและการโน้มน้าวใจ ด้วย 2 วิธีคือ เพื่ออ้างอิงในประโยคก่อนหน้า และเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์
4. หลีกเลี่ยงคำซ้ำ
ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำและภาษาที่ซับซ้อน แต่ใช้คำที่เรียบง่ายและมีความหลากหลายให้มากขึ้น
5. ใช้การอุปมาอุปไมย
อุปมาอุปมัยเป็นสิ่งจับต้องไม่ได้ แต่ช่วยให้ผู้อ่านของคุณมองเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ช่วยเพิ่มผลกระทบและโน้มน้าวใจด้วยของข้อความของคุณ
6. อ้างเครดิตของบริษัทหรือรีวิวจากลูกค้า
ความน่าเชื่อถือจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและโน้มน้าวใจมากขึ้น เพราะคุณกำลังบอกเล่าด้วยข้อมูลที่เป็นจริง
7. ใช้ตัวเลขหรือสถิติ
เป็นการดึงดูดความสนใจ เพราะตัวเลขนั้นมาจากข้อมูลที่มีจริงๆ ไม่ใช่คิดขึ้นมาเอง
8. กระตุ้นอารมณ์
เพื่อดึงดูดและสร้างความคล้อยตามให้กับผู้อ่าน หรือที่เรียกว่า Call To Action (CTA) คือ การบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะได้สินค้า หรือบริการของคุณ
9. เล่าให้เห็นภาพ
เปลี่ยนความรู้สึกเป็นภาพที่จับต้องได้และมีประโยชน์ แนวโน้มที่จะชื่นชมคุณค่าของข้อเสนอของคุณก็จะเพิ่มขึ้น
10. ใช้รูปภาพประกอบ
โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลข การนำเสนอที่มีรูปภาพประกอบ สามารถช่วยโน้มน้าวใจได้มากขึ้น
11. รู้จักกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้ตรงกับความสนใจของผู้อ่านมากกี่สุด
12. ใช้คำสรรพนาม
ใช้คำสรรพนาม เช่น เรา, ของเรา จะกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์ที่ละเอียดอ่อน แสดงถึงการมีส่วนร่วมและเป็นบวกให้กับผู้อ่านของคุณ
13. ให้อิสระในการตัดสินใจ
ช่วยลดปฏิกิริยาทางจิตใจด้วยการให้อิสระแก่ผู้อ่าน เพื่อให้คำกระตุ้นการตัดสินใจของคุณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
14. ใช้จุดอ่อนให้เป็นประโยชน์
สามารถใช้กลยุทธ์นี้เพื่อทำการตลาดเป้าหมาย อธิบายว่าข้อเสนอของคุณไม่ได้รวมคุณลักษณะบางอย่างไว้ เนื่องจากมุ่งเน้นความสนใจไปที่อีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญกว่า ด้วยการเปลี่ยนให้ข้อเสียหรือจุดอ่อนของคุณหมุนไปในทางบวกนั่นเอง
15. เพิ่มทางเลือก
เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับคุณและคู่แข่ง
16. อย่ารีบร้อน
เพื่อไม่ให้ผู้อ่านรู้สึกหมดสนุกหรือทำให้เนื้อหาไม่น่าติดตาม ควรเริ่มต้นด้วยการกวนปัญหา อธิบายถึงสาเหตุหรือความเจ็บปวด จากนั้นค่อยเปิดเผยวิธีแก้ปัญหาของคุณ
17. บอกอ้อมๆ
ชวนให้ผู้อ่านอยากติดตามเนื้อหาต่อไป ประโยชน์ที่จะได้รับหรือวิธีการแก้ปัญหา
18. ขยี้ปมหรือจุดเจ็บปวด
แทนที่จะโน้มน้าวผู้อ่านด้วยประโยชน์ของการแก้ปัญหา แต่ให้เน้นการขยี้ปมปัญหาที่เกิดขึ้นแทน ผู้อ่านจะเริ่มเห็นอกเห็นใจกับคำอธิบายเหล่านั้น และจินตนาการว่าตัวเองกำลังประสบกับเหตุการณ์ดังกล่าว และหันมาสนใจวิธีแก้ปัญหาของคุณ
19. ตั้งคำถาม
เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่านอยากหาคำตอบและมีส่วนร่วม
20. อ้างอิง
ช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องของปัญหา ซึ่งจะทำให้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นคำว่า “คุณ” หรือ “ของคุณ”
21. แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อผู้อื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางลบ เป็นผลกระทบที่ทรงพลังและสามารถโน้มน้าวใจได้ดีอีกทางหนึ่ง
22. สร้างตัวตนให้ผู้อ่าน
หากคุณเป็นบล็อกเกอร์แทนที่จะขอบคุณผู้อ่านที่ทำบางสิ่งบางอย่าง (เช่น การอ่านเนื้อหาของคุณ) ให้ขอบคุณพวกเขาที่เป็นบางสิ่ง (เช่น เป็นแฟนเพจของคุณ) เพราะจะสร้างผลกระทบต่อทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาของคุณมากขึ้น เหมือนพวกเขามีตัวตนสำหรับคุณนั่นเอง
23. ใช้ตัวเลขและหน่วยวัดให้เหมาะสม
ใช้หน่วยขนาดใหญ่เพื่อขยายการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และหน่วยขนาดเล็กเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลบ เช่น ในการจัดส่งสำหรับการซื้อทางออนไลน์ ในระหว่างขั้นตอนการซื้อ ลูกค้าจะจดจ่ออยู่กับตัวเลข ดังนั้นคุณควรใช้ตัวเลขให้น้อยที่สุด (เช่น 1-3 สัปดาห์) หลังจากนั้นเมื่อลูกค้ากำลังรอการจัดส่ง พวกเขาจะมุ่งเน้นไปที่ระยะเวลา ดังนั้นคุณควรลดหน่วยวัดให้เล็กลงจากสัปดาห์เป็นวัน (เช่น 7-21 วัน)
24. สร้างความคลุมเครือ
เพื่อให้ผู้อ่านอยากรู้อยากเห็นและมีส่วนร่วมให้ทำตามขั้นตอนที่คุณต้องการต่อไป
25. สื่อสารให้ตรงใจ
เมื่อทราบว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร การเลือกใช้คำกระตุ้นในการตัดสินใจให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รวมทั้งประโยชน์หรือสิ่งที่พวกกเขาจะได้รับต้องตรงกับความต้องการพอดี
26. หลีกเลี่ยงคำถามที่ไม่สร้างสรรค์
เลี่ยงคำถามในแง่ลบเพราะจะลดการโน้มน้าวใจในข้อเสนอของคุณ เช่น คำถามที่คุณเป็นฝ่ายถูกเสมอ, คำถามในเชิงสั่งให้ทำ, คำถามสองแง่สองง่าม หรือคำถามดูถูกผู้อ่าน เป็นต้น
27. ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
เพราะการตัดสินใจอาศัยความถูกต้องและรวดเร็วเป็นหลัก เนื้อหาที่ยาวและใช้คำฟุ่มเฟือยเกินไปจะสร้างความน่าเบื่อและลดทอนความน่าสนใจลงได้
28. บอกจุดแข็งตั้งแต่แรก
อย่ามองข้ามลำดับในข้อความของคุณ วางผลประโยชน์ที่ชัดเจนไว้ที่จุดเริ่มต้นเสมอ
29. ใช้การเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับการตัดสินใจของผู้อ่านมากขึ้น
30. เร่งการตัดสินใจ
มีหลายวิธี เช่น กำหนดเวลาแบบเร่งด่วน, แสดงให้เห็นว่าสินค้ากำลังจะหมด, ใช้หลักความขาดแคลน, ให้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาถ้าหากพลาดการตัดสินใจในครั้งนี้ และอาจจะกระตุ้นเพิ่มเติมด้วยคำพูดที่ใช้เร่งรัดการตัดสินใจ หรือ FOMO (Fear Of Missing Out) เช่น ด่วน!! มีจำนวนจำกัด เดี๋ยวนี้! เป็นต้น
31. รู้จริง
หากคุณศึกษาเรื่องการเขียนคำโฆษณาอย่างถ่องแท้ มีระบบและขั้นตอนที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆในคำโฆษณา สามารถสร้างผลกระทบอย่างมากต่อการโน้มน้าวใจด้วยข้อความของคุณ การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้งานเขียนของคุณน่าสนใจมากขึ้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่า เพราะยังไงงานเขียนก็คือ ศิลปะ นั่นเอง
Resource: https://www.nickkolenda.com/copywriting-tips/