Search
Close this search box.

ครม.เยียวยากระทบโควิดจ่าย 5 พันเป็นเวลา 3 เดือนพร้อมขั้นตอนลงทะเบียนสำหรับลูกจ้างนอกระบบ

[responsivevoice_button voice=”Thai Female” buttontext=”กดฟัง”]

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาลฯ ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวมาตราการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ว่า รัฐบาลได้เตรียมมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19แล้ว ในระยะที่2 โดยจะสนับสนุนเงิน คนละ 5 พันบาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน

โดยมาตราการมีด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้

1.) 8 มาตรการระยะที่ 2 มาตรการดูแลและเยียวยา

1.1 สนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนายน 2563)

-มอบเงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในประกันสังคม จากการปิดที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราว จำนวน 3 ล้านคน

สำหรับผู้อยู่ในระบบประกันสังคม

-เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าใช้จ่ายโดย

1.กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงิน ไม่เกิน 180 วัน

2.กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน

1.2 สินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย

สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน 20,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. 20,000 ล้านบาท) วงเงินต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

1.3 สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย

สินเชื่อพิเศษ ผู้ที่มีรายได้ประจำ โดยมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

1.4 สนง.ธนานุเคราะห์รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ

เงินทุนดอกเบี้ยต่ำวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในนามของสำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) โดยคิด ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.10 ต่อปี และ สธค. คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.125 ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี

1.5 ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โดยเลื่อนเวลาการชำระภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2563 เพื่อบรรเทาภาระให้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น

1.6 หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับการหัก ลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

1.7 ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรทางการแพทย์

1.8 ฝึกอบรมมีเงินใช้

-ฝึกอบรม เพิ่มทักษะอาชีพหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้

-ขยายฝึกอบรมผ่านภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระทรวง อว. เป็นต้น

2.) มาตรการดูแลและเยียวยา “ผู้ประกอบการ” ซึ่งได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19

เพิ่มสภาพคล่อง

2.1 สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย

ลดภาระ

2.2 ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.3 ยืดการภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่นๆให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ

2.4 ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ

2.5 ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

2.6 ยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษา COVID-19

2.7 ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Non-Bank)

ส่วนวิธีการลงทะเบียน สำหรับแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม  รับเงินสนับสนุน 5,000 บาท เป็นเวลา 3เดือน จำนวน 3 ล้านคน มีวิธีลงทะเบียนรับเงินง่ายๆ ดังนี้

ขั้นตอนการลงทะเบียน

1.ลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com คาดว่าจะเปิด ใช้งาน วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563

2.เตรียมหมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลบริษัทนายจ้าง ข้อมูลปัญหาความเดือดร้อนและข้อมูลบัญชีพร้อมเพย์หรือบัญชีธนาคาร

3.สามารถรับเงินจำนวน 5,000 บาท 5 วัน หลังจากลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์

4.การจ่ายเงินจะโอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พร้อมเพย์ โอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

READ  'แพทย์จีน' ออกคู่มือป้องกันโควิด-19 ฉบับไทยอย่างละเอียด!
บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า