Search
Close this search box.
นักเขียน best seller

เสียดาย คนอยากเป็นนักเขียนไม่ได้อ่าน (เทคนิคการเขียนระดับ Best Seller ของคุณดังตฤน)

ใคร ๆ ก็อยากเป็นนักเขียน โดยเฉพาะในยุคที่นักเขียนทำเงินได้มากกว่านักขาย คำแนะนำในการเขียนมีอยู่มากมาย แต่ที่เปิดเผยเคล็ดลับอย่างละเอียดกว่านี้คงหาได้ยาก บทความสรุปจากหนังสือ เขียนให้คนเป็นเทวดา โดย นักเขียนระดับ Best Seller คุณดังตฤน เจ้าของผลงาน เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน

งานเขียนเกิดขึ้นเมื่อคุณนั่งลงแล้วเขียน ไม่มีวิธีใดง่ายและเร็วไปกว่านี้ ถ้าคุณพูดให้คนอื่นฟังเข้าใจได้ คุณก็เขียนให้คนอื่นอ่านเข้าใจได้ คนเราต้องเขียนอยู่แล้ว แต่นักเขียน เขียนสิ่งที่ตัวเองอยากเขียน ไม่ใช่เขียนเพราะต้องเขียน นั่งลงแล้วเขียน เขียนอะไรก็ได้ อย่าหยุดเขียน เขียนไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดกังวลว่าดีหรือไม่ดี เขียนไปสักห้านาที ปิดสมอง เปิดมือสัมผัสให้มันทำงานไป 

ถ้าพิมพ์สัมผัสไม่เป็น ไปหัดเสีย ไม่เกิน 7  วัน ชีวิตนักเขียนคุณจะง่ายขึ้น เพราะทักษะการพิมพ์ดีด จำเป็นมาก ๆ ถ้ามัวแต่คิด แล้วไม่เขียน (พิมพ์) ออกมา ก็จะกลายเป็นคนเพ้อเจ้อในท้ายที่สุดค่ะ การเขียนด้วยมือเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องยอมรับความจริงว่า อย่างไรเสีย คุณต้องพิมพ์ดีดให้เป็น และต้องทำให้อยู่ในระดับที่ใช้งานได้ดีเลยล่ะ เปิดสมอง แล้วให้มือเป็นเครื่องมือของสมอง บางคนพูดเก่ง แต่เขียนไม่ได้ เพราะระบบความคิดถูกรบกวนด้วย สิบนิ้วอ่อนหัด ถ้าคุณพิมพ์ได้เก่งพอควร งานเขียนคุณก็จะเหมือนการพูด ซึ่งมันง่าย

เขียนสักวันละห้านาที จะได้สิบบรรทัด
ร้อยวันคุณจะได้พันบรรทัด
นั่นคือหนังสือประมาณ
50 หน้า

ความต่อเนื่องคือสิ่งสำคัญ การเขียน ๆ หยุด ๆ ไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก ทางที่ดีควรมีระเบียบวินัยว่า จะเขียนตอนไหน จะเขียนกี่วัน จะเสร็จเมื่อไหร่ 

ทำไมต้องปรับแก้บทความ
หาข้อผิดหรือเติมสิ่งที่ตกหล่นหรือ
ตัดส่วนที่ไม่ใช่ออกไป
นักเขียนจะปรับแก้เพื่อให้งานเสร็จจริง
งานเสร็จจริงจะทำให้เป็นงานที่น่าสนใจ

การนั่งลงเขียนมั่ว ๆ ห้านาที
เหมือนการสร้างสายน้ำ
ที่มีทองคำซ่อนอยู่
นั่นคือในห้านาทีที่คุณนั่งเขียนมั่ว ๆ
ย่อมมีวรรคหรือประโยคดีดี
ที่เหมือนทองคำ ซ่อนอยู่
คุณต้องรู้จักการร่อนทอง

อยากเขียนบทความจริงจัง ทำเว็บเองเลยดีกว่า >>> WordPress Workshop

อาชีพนักเขียน

1. วิธีการฝึกมือใหม่ให้เขียนได้

1. นั่งเขียนมั่ว ๆ ห้านาที
อย่าคิดมาก ขอให้เขียนแบบไม่หยุด

2. คัดประเด็น และประโยค
ขุดหาวรรคทองที่ซ่อนอยู่

3. ย่อหน้าแรกคือสิ่งที่เรียกร้องความสนใจ
คัดประโยคน่าสนใจมาไว้ย่อหน้านี้

4. ย่อหน้าสุดท้ายคือสิ่งที่คุณต้องการสื่อ
ให้คนอ่านคิดตาม
 เห็นภาพตาม
เอาประโยคที่ชวนคิดมาไว้ย่อหน้านี้

5. เริ่มง่าย ๆ โดยเริ่มสร้างหน้าเปล่า
เอาประโยคในข้อ
1. มาตั้งไว้
แล้วไปเอาประโยคในข้อ
2. มาวางต่อ

6. เริ่มเขียนสิ่งที่เหลือ
สิ่งที่เชื่อมโยง
1 ไปยัง 2

7. ประเด็นไหนอ่านแล้วไร้สาระ
ไม่เกี่ยวข้อง ลบทิ้งไป อย่าเสียดาย

8. คัดประโยค อันไหนเห็นบ่อยจากที่อื่น
ให้เอาออก แล้วพยายามคัดแบบใหม่ ๆ
ที่ไม่ค่อยเห็นไว้ นั่นคือแนวของคุณ

9. เอาประโยคที่ได้ไปวางในย่อหน้าที่ว่างอยู่

10. เรียบเรียงเรื่องราว ต้น กลาง ปลาย

11. เว้นเวลาไว้สักชม.แล้วย้อนกลับมาอ่าน
อ่านในฐานะคนอ่าน แล้วแก้ไข
ให้อ่านได้เข้าใจชัดเจน

12.  พยายามเขียนให้เสร็จในวันเดียว

 

เทคนิคการเขียน

2. วิธีการตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ

นักเขียนที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องรู้จักการร่อนทอง อย่าเสียดาย ไม่มีการเขียนทิ้งเขียนขว้าง ช่วงเวลาที่เสียไปคือการฝึกให้คิดเป็นและคัดเป็น เมื่อคิดเป็นคัดเป็นคุณก็จะตั้งชื่อได้เช่นกัน การตั้งชื่อคือการค้นหาแรงปะทะให้เตะตาคนอ่านได้ในพริบตา ซึ่งจำเป็นต้องฝึก

1. วิธีคิดคือ การจงใจคิด
ให้แตกต่างและโดนใจ
โดยมีทิศทางและเนื้อหาอยู่ก่อนแล้ว

2. เมื่อได้คำหลักของเรื่อง ให้หาคำแวดล้อม
ทั้งคำนามและกิริยา ง่าย ๆ โดยการเข้ากูเกิล
หาคำที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดนั้น
รวบรวมมาเยอะ ๆ ทั้งคำนามและ
คำกิริยาที่เกี่ยวข้อง หาเป็นร้อยคำยิ่งดี
แล้วมาขยายกรอบความคิดของเรา

3. ถ้าเป็นบทความก็อาจเอาไปเขียนได้เลย
แต่ถ้าเป็นหนังสือ อาจต้องเขียนชื่อ
ตั้งเผื่อไว้เป็นสิบชื่อก่อนเลย

4. ย้ำอีกทีว่า … ให้ใช้หลักแตกต่าง
และสะดุดตา เป็นพื้นฐานการคิด

5. ชื่อเรื่องอาจเป็นคำตอบของคำถามผู้อ่าน
หรือจะลองเป็นคำท้าให้ทดลองทำ

6. สิ่งใดน่ารู้ สิ่งใดคือคำตอบที่คนค้นหา

7. วิธีคัด … จับสัญญาณความรู้สึกพิเศษ
ซึ่งมักมีคำพิเศษลอยมาด้วย
 
และมันอาจน่าสนใจมากพอเป็นชื่อหนังสือ

8.  เทคนิค คัดคำมาผสมกัน โดยไม่ได้ตั้งใจ
ในเวลาที่คุณไม่ได้คิด ไม่ได้นึกถึงมันเลย
แต่ต้องรู้จักคัดวรรคทองที่ลอยมาในหัว

READ  มือใหม่หัดเขียน จะเขียนอะไรดี

9.  เตรียมอุปกรณ์ที่ช่วยจดช่วยจำ
คำดี ๆ วรรคทองที่ผ่านเข้ามา จับมันไว้ให้ได้

10. คนเราลืมง่ายกว่าที่คิด จดไว้ดีกว่าครับ

11. ไม่ใช่คิดอาทิตย์ละครั้ง วันละครั้ง
แต่นักเขียนเก่ง ๆ จะคิดและคัดอยู่ตลอดเวลา

12. ความรู้สึกคือ แกนนำสำคัญ
ในการตัดสินว่าชื่อที่ได้ ใช่หรือไม่ใช่

13. คิดและคัด ไว้เผื่อเลือกมาก ๆ
แล้วใช้ความรู้สึก มาช่วยเลือกอีกที

14. พยายามคิดผสมคำแวดล้อม
แล้วหัดคัด ทำให้ได้สักห้าร้อยคำผสม
แล้วคุณจะได้ชื่อโดน ๆ แน่นอน

15. แม้เป็นบทความที่ดี ฟรีบนโลกออนไลน์
คนอ่านก็ยังต้องเสียเวลาอ่าน
ชื่อบทความไม่ดี จะหาคนอ่านได้หรือ

16. เนื้อหาดีที่สุดในโลก แต่ชื่อหนังสือ
ชื่อบทความไม่เตะตา ก็ไม่มีคนอ่าน

E book เขียนเพื่อขาย

3. วิธีสร้างจุดยืนในการเขียน

· เท้าของคุณยืนได้ถนัดที่สุดที่ตรงไหน
รองเท้าคู่ไหนใส่แล้วสบายที่สุด

· เขียนเรื่องสิ่งที่คุณถนัด แล้วคุณจะโยง
ทุกเรื่องเข้ากับจุดยืนของคุณได้

· อย่าเขียนในสิ่งที่ไม่รู้ อย่าคิดเองเออเอง
คิดแบบมีหลักฐาน มีมรดกทางความรู้
มีที่มาที่ไปรองรับ อย่ามั่วนิ่ม

· สัญญากับตัวเอง ถ้าไม่รู้ อย่าเขียน
เมื่อไม่รู้ให้บอกว่าไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องที่ผิด

· ความรู้มีสองแบบคือ จำเขามา
กับรู้ด้วยตนเอง เวลาเขียนต้องรู้จริง
ระลึกเสมอว่ารู้เองหรือจำมา

· พยายามคิดจากราก
แล้วต่อออกเป็นรากแก้วออกไป

· อย่าเขียนทุกสิ่งที่รู้
คนอื่นจะมองว่าอวดรู้ได้
ควรเลือกเฟ้นให้ชัดเจนว่า
อะไรควรเขียนในเวลานั้น

· อย่าเขียนแค่สิ่งที่เคยรู้
หรือแค่สิ่งที่เคยสำเร็จ
ควรค้นคว้าเพิ่ม ควรล้ำไปอีกขั้น

· จุดยืนคือ หลักการ
อุดมการณ์ ไม่ใช่จุดหยุดนิ่ง

· เมื่อรู้เพิ่มก็เขียนเพิ่มได้
การรู้เพิ่มเกิดได้จากการอ่านงานคนอื่น
การคิดเอง การมีประสบการณ์เอง

· ไม่มีใครเห็นจุดยืนตนเองอย่างแจ่มชัด
ก่อนลงมือเขียนแต่จะเห็นได้เมื่อเริ่มเขียน

·  จุดยืนที่คุณค้นพบ
ไม่ใช่แค่จุดยืนในงานเขียน
แต่เป็นจุดยืนในชีวิตคุณเลยทีเดียว

สิ่งที่คุณตกผลึกออกมาเป็นงานเขียน
สุดท้ายจะกลายเป็นตัวตนของคุณเอง

4. เขียนให้เอาไปใช้ได้จริง

1. เขียนให้ผู้อ่านได้แง่คิด
เฉลียวใจ ฉุกใจ คิดใหม่

2. เขียนให้อ่านแล้วเข้าใจ
รู้เหตุ รู้ผล ที่มาที่ไป ได้คำตอบ

3. เขียนให้ข้อปฏิบัติ
ขั้นตอนต่าง ๆ  วิธีเอาชนะอุปสรรค

 การปรับปรุงทักษะการเขียน

5. วิธีเขียนเรื่องยากให้อ่านง่าย

1. เขียนออกจากมุมมอง
ของคนที่เห็นครอบคลุม

เหมือนอ่านแผนที่
ที่ทำให้เห็นภาพรวมเสียก่อน

2. กระตุ้นให้เกิดความสงสัยใคร่รู้
สร้างความอยากรู้ในใจคนอ่าน
แล้วเรื่องยากจะง่ายเอง

3. ฝึกอธิบายให้เห็นภาพ
คำตอบแบบไหน คำแบบไหน
ก่อให้เกิดภาพได้ เขียนตามภาพนั้น

· ฝึกเปรียบเทียบกับตัวอย่างง่าย ๆ
ที่คนทั่วไปเคยสัมผัสมาแล้ว

· ใช้แผนภาพมาช่วยบอกเล่า

· ทำแบบฝึกหัดยาก ๆ
ลองอธิบายเรื่องต่าง ๆ รอบตัว

· ลองคิดว่าทุกคนโง่เหมือนกันหมด
แล้วลองอธิบายให้เข้าใจ

 

6. วิธีทำความรู้จักตัวเอง

1. หัดเขียนเถียงตัวเอง

2. หัดเขียนจาระไนความรู้สึกฝ่ายตรงข้าม

3. หัดเขียนเพ่งโทษตนเอง

 

7. วิธีจัดระเบียบเนื้อหา

สามารถแบ่งหนังสือหรือบทความเป็นสามช่วง คือ ช่วงต้น ช่วงกลาง สรุปท้าย นักเขียนลำดับเรื่องไม่ได้เพราะ ระบบความคิดขาดระเบียบ เคยไหม รู้เรื่องดีหมดแล้ว แต่ไม่รู้จะเริ่มตั้งต้นอย่างไร นี่คือปัญหาที่ว่าที่นักเขียน จอดป้ายตั้งแต่ยังไม่ได้ออกเดินทางในเส้นทางนักเขียน เพราะเหมือนกับรู้เยอะนะ แต่พอให้นั่งเขียน กลับเขียนออกมาไม่ได้ คุณดังตฤนสอนเคล็ดลับไว้ คือให้ฝึกมองไปที่รากของความคิดเรื่องหนึ่ง ๆ แล้วค่อยๆต่อยอด แตกกิ่ง ก้านใบ ออกไป 

ลองมองหาเสียก่อนว่า แก่นของเรื่องที่เรากำลังจะเขียน แท้จริงแล้ว มันคืออะไร เรากำลังต้องการเขียน เพื่อที่จะสื่อ สาร ใด ออกไปให้ผู้อ่านกันแน่ ทุกคนเป็นนักเขียนได้ ถ้า อยาก เป็น มาก พอ 

 หลักสูตรแนะนำ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า