Fake news คือ อะไร? เห็นเขาแชร์ เห็นเขาโพสต์กัน บนโลกออนไลน์หรือโซเซียลมีเดียต่างๆ แล้วข่าวนั้นเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอมกันแน่ บางครั้งเรายังไม่สามารถแยกแยะได้ การโพสต์ควรพคิดพิจารณาก่อนว่าสิ่งนี้เป็นจริงหรือไม่ ข้อสงสัยนี้แหละครับที่เขาเรียกว่า Fake News เมื่อไม่นานมานี้มีตัวอย่าง Fake News ดังตัวอย่างครับ
เพื่อป้องกันการเกิดความเข้าใจผิด และแชร์ Fake News นั้นออกไป จึงขอแนะนำทุกท่านให้รู้จักสังเกตข่าวด้วยตัวเอง 9 ข้อสังเกต Fake News มาดูกันครับ
1. อย่าอ่านแค่พาดหัวข้อข่าว Fake News
มักมีข้อความพาดหัวที่น่าสนใจและที่สะดุดตา หากหัวข้อข่าวฟังดูเกินจริงและไม่น่าเป็นไปได้ เมื่อกดเข้าไปแล้วเนื้อหาข่าวก็อาจจะไม่ตรงกับหัวข้อ
2. ตรวจสอบแหล่งข่าวด้วยตนเอง ก่อนแชร์ควร
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรื่องราวข่าวนั้นเขียนขึ้นโดยแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือ และมีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลมากน้อยเพียงใด เพื่อความแน่ใจให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” ของเพจแหล่งข่าวนั้นเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลิงก์นั้น ๆ
3. การตรวจสอบลิงก์และ URL ให้ดี
ลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ดูคล้ายลิงก์จริง อาจมีข้อความต่างกันเล็กน้อย นั่นก็เป็นสัญญาณเตือน เว็บไซต์ Fake News ชอบเลียนแบบแหล่งข่าวจริง คุณสามารถตรวจสอบที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบลิงก์นั้นกับลิงก์ของแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือได้
4. รูปภาพ
ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวีดีโอที่ถูกบิดเบือน หลายครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริงแต่เนื้อข่าวไม่เกี่ยวข้องเลย โดยสามารถตรวจสอบที่มาของรูปภาพได้จาก Google รูปภาพ ครับ
5. การตรวจสอบวันที่ Fake News
อาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
6. ตรวจสอบหลักฐาน
ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียน ข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่อ อาจชี้ให้เห็นว่าข่าวดังกล่าวเป็น Fake News
7. เป็นเพียงมุกตลกหรือไม่
ดูว่าเรื่องนั้นมาจากแหล่งที่มาที่ขึ้นชื่อเรื่องล้อเลียน และเสียดสีข่าวหรือไม่ พิจารณารายละเอียดข่าว เมื่อฟังดูแล้วเป็นไปเพื่อความสนุกสนาน
8. บางเรื่องก็จงใจสร้างขึ้นให้เป็น Fake News
ควรแชร์เฉพาะข่าวที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น
9. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่นๆ
อาจจะดูช่องข่าวอื่นเพิ่มเติมเพื่อเปรียบเทียบครับ
บทความนี้เราได้ชี้ให้เห็นว่า Fake news คือ อะไร หากอ่านข่าวแล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวจริง/ Fake News แนะนำว่าอย่าแชร์ดีกว่านะครับ เพราะจะทำให้ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ได้ และจะได้ไม่เป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ไปให้เกิดความเข้าใจผิดต่อบุคลอื่นอีกด้วย