Search
Close this search box.

ขายของออนไลน์ ภาษีออนแอร์

พี่คะ ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีอะไร
นี่คือคำถามที่ฮอตฮิตประจำเพจTAXBugnoms
.
ขายของออนไลน์ ภาษีออนแอร์
หนังสือเล่มนี้ จะเปิดเผยทุกความลับ
เรื่องภาษีขายของออนไลน์ให้คุณรู้ว่า
สิ่งไหนควรทำและสิ่งไหนไม่ควรทำ
เพื่อให้คนทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ต้องห่วงหน้า
พะวงหลังกับเรื่องภาษีอีกต่อไป
.
ทั้งหมดนี้ผ่านการเรียบเรียงจากประสบการณ์
จริง และอ้างอิงตามหลักกฎหมาย เพื่อที่จะได้
นำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกใจ
.
ยอมเสียเวลาทำความเข้าใจเรื่องภาษี
ดีกว่าเสียภาษีจนไม่เข้าใจว่า
ชีวิตนี้จะทำธุรกิจไปทำไม🤔
.
1.AUDITION : ปรับพื้นฐานกันก่อนนะ
📣 การขายของออนไลน์กับการเสียภาษี
สำหรับคนที่กำลังค้าขายอยู่บนโลกออนไลน์
รายได้ส่วนนี้ต้องเสียภาษีและการหลบหนี
ไม่จ่ายแปลว่าเราทำผิดกฎหมาย ที่สำคัญ
กรมสรรพากรได้พยายามตรวจสอบ
อย่างเคร่งครัดเพื่อจัดการกับคนหนีภาษี
กลุ่มนี้อยู่ตั้งแต่ปี 2555
.
สรรพากรได้ให้ความหมายของคำว่า
ผู้ประกอบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หมายถึงผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจ
ทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า
และบริการโดยผ่านคอมพิวเตอร์
และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือ
สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์💻
.
📣 ก่อนจะเข้าใจวิธีคำนวณภาษี
ขอให้ทำความเข้าใจตัวเองเสียก่อน
สิ่งสำคัญที่สุดเรื่องภาษีขายของออนไลน์
ไม่ใช่เรื่องภาษีแต่มันคือ บัญชีรายรับรายจ่าย
.
ทำไมถึงสำคัญ❓
✅ ถ้าคุณทำธุรกิจแล้วไม่รู้ว่ามีกำไรเท่าไหร่
คุณไม่ควรทำธุรกิจ
✅ ถ้าคุณถูกสรรพากรเรียกตรวจ =
คุณพิสูจน์หลักฐานไม่ได้
.
บัญชีรายรับ-รายจ่ายควรใช้โปรแกรมอะไร❓
⭕ โปรแกรมอะไรก็ได้ที่สามารถแปลงไฟล์
ออกมาเป็น Excel หรือพิมพ์หลักฐานออกมาได้
⭕ บันทึกรายได้ค่าใช้จ่ายเป็นประจำทุกวัน
เหมือนที่เราบันทึกรายรับ-รายจ่ายส่วนตัว
.
ที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
คือการแยกบัญชีธุรกิจออกมาจากบัญชีส่วนตัว
เพราะเราต้องแยกให้ชัดว่า อะไรคือรายได้
และรายจ่ายของธุรกิจ ถ้าแยกไม่ได้
จะมีปัญหาแน่นอน เพราะสรรพากรอาจ
ประเมินเงินที่เข้าในบัญชีเราเป็นรายได้
ทั้งหมด และยิ่งถ้าไม่ทำบัญชี และไม่มี
หลักฐานด้วย เราไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองได้
.
📣 จดทะเบียนพาณิชย์ VS จดทะเบียนภาษี
คนละเรื่องที่ไม่มีใครเคยบอก
การจดทะเบียนพาณิชย์ คือการจดทะเบียน
กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อยืนยันว่า
ธุรกิจเรามีตัวตน ถูกต้องตามกฎหมาย
เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ
.
ซึ่งมีทั้งการจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดา (ออฟไลน์)
กับการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(ขายของออนไลน์)😀
.
การจดทะเบียนพาณิชย์ไม่ได้เกี่ยวกับการเสียภาษี
เพราะจะจดหรือไม่จด ถ้ามีรายได้…
เราก็ต้องเสียภาษีอยู่ดี🙂
.
สิ่งที่ต้องจดจริงๆในเรื่องภาษีคือ จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ถ้ามีรายได้ไม่ได้
รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 1.8 ล้านต่อปี
(รายได้ แปลว่ายังไม่หักค่าใช้จ่าย)
.
📣 ขายของออนไลน์เสียภาษีอะไรบ้าง
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือ ภาษีที่เรียกเก็บ
จากบุคคลธรรมดาได้แก่ คนธรรมดาอย่างเราๆ
และกลุ่มบุคคลอย่างคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน
สามัญที่มิใช่นิติบุคคล ที่มีรายได้จากการขายของ
ออนไลน์ ต้องนำเงินได้จากในส่วนนี้
ไปรวมกับเงินอื่นๆ(ถ้ามี)💰
.
เมื่อเรามีรายได้จากการขายของออนไลน์
เรามีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด 94
(ภาษีครึ่งปี) ภายในเดือนกันยายนของทุกปี
และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด 90 (ภาษีทั้งปี)
ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
.
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคือ ภาษีที่เรียกเก็บจาก
บุคคลตามกฎหมายเช่น บริษัทห้างหุ้นส่วน
ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือนิติบุคคล
ต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย
.
ถ้ามีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ
ต้องนำเงินรายได้จากการประกอบกิจการ
ในทุกๆที่มารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้
ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี
แห่งประมวลผลรัษฎากร
.
นิติบุคคลมีรายได้จากการขายของออนไลน์
ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภ.ง.ด 51 (ภาษีครึ่งปี) ภายใน2เดือนนับจาก
วันสุดท้ายของ6เดือนแรกของรอบระยะเวลา
บัญชี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด 50
(ภาษีทั้งปี) ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้าย
ของรอบระยะเวลาบัญชี
.
ภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่ง
ที่แยกออกจากภาษีทางตรง อย่างภาษีรายได้
บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล
.
โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือผู้ประกอบการ
ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ
หรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า
ที่มีรายได้มากกว่า 1,800,000 บาทต่อปี
จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย
รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษี
มูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
.
2.ONAIR : พร้อมลุยมานานแล้ว
📣 ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กรณีขายของออนไลน์ (ซื้อมา-ขายไป)
วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมี 2 วิธี
เรียกว่าเงินได้สุทธิกับเงินได้พึงประมาณ
⭕ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
เงินได้สุทธิ = รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน
และอัตราภาษีจะเป็นแบบก้าวหน้า (5 – 35%)
นั่นคือยิ่งมีรายได้มากยิ่งเสียภาษีมาก
⭕ เงินได้พึงประมาณ x 0.5%
เงินได้พึงประมาณ = เงินได้ทั้งก้อนก่อนหัก
ค่าใช้จ่าย สำหรับวิธีนี้จะเอารายได้มาคูณตรงๆ
โดยจะใช้วิธีนี้คำนวณภาษี เมื่อรายได้ที่ไม่ใช่
เงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ มาตรา 40(1))
เกิน 1 ล้านบาท💰
.
ส่วนค่าใช้จ่ายในกรณีที่เราทำธุรกิจ
ขายของออนไลน์ในรูปแบบซื้อมาขายไป
สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบคือ
✅ หักเหมา 60%
✅ หักค่าใช้จ่ายตามจริง
.
โดยการหักค่าใช้จ่ายตามจริง สิ่งที่มีคือ
หลักฐานเอกสารต่างๆที่พิสูจน์ได้ตามยอด
ค่าใช้จ่ายที่เอามาหักตามกฎหมาย
.
ส่วนค่าลดหย่อน เป็นอีกตัวจะช่วยให้เรา
ลดจำนวนเงินได้สุทธิลงได้ และทำให้เรา
เสียภาษีน้อยลง ถ้าเรามีค่าลดหย่อนเยอะ
หรือมีจำนวนที่สูง เราจะสามารถลดหย่อนภาษี
ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย😄
.
📣 ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการขายของออนไลน์
เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหลักการคือ ถ้าเรามี
รายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปีเมื่อไหร่เราต้อง
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทันที
.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่ผลักภาระให้กับผู้ซื้อ
หรือผู้บริโภคเป็นผู้ชำระแทนได้
.
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มมี 3 กลุ่มคือ
⭕ ผู้ขายสินค้า
⭕ ผู้ให้บริการ
⭕ ผู้นำเข้า
.
สำหรับคนทำธุรกิจวิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มคือ
✅ ภาษีขาย คือภาษีที่เราเรียกเก็บจากผู้ซื้อ
สินค้าหรือรับบริการ
✅ ภาษีซื้อ คือภาษีที่เราจ่ายให้ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ
.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าของธุรกิจมีหน้าที่ต้อง
คำนวณทุกเดือน หักภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ
ก็ให้จ่ายกรมสรรพากรหักภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย
ก็สามารถยกยอดไปได้ในเดือนต่อไป
หรือขอคืนได้ในแต่ละเดือน
.
แบบเข้าใจง่ายๆปัจจุบันอยู่ที่ 7%
แต่อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆอยู่ที่ 10%
.
ถ้าเอาแบบซับซ้อน ภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆคือ 6.3%
และเรายังต้องเสียภาษีอัตราท้องถิ่นอีก
1/9ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคือ 0.7%
สรุปว่าเราเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% นั่นแหละ
.
ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นเป็นรายเดือน
คำนวณยอดทุกเดือนเพื่อนำมาส่งสรรพากร
ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
.
📣 วางแผนเรื่องซื้อ/ค่าใช้จ่ายอย่างไรดี
เริ่มต้นแนวคิดนี้จากการแยกผู้ขาย
ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
⭕ กลุ่มที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วทำถูกต้อง
เราจะมีกำไร 100 บาท และนำภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วนต่างจำนวน 7 บาทให้กับสรรพากร
⭕ กลุ่มที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
เราจะมีกำไร 100 บาทเท่าเดิม แต่เพิ่มเติม
คือเราต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 14 บาท
ให้กับกรมสรรพากรแทน เพราะตอนซื้อมาเรา
ไม่มีภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
⭕ กลุ่มที่หนีภาษีมูลค่าเพิ่ม
เราจะได้ราคา 100 บาทมาเป็นต้นทุน
แต่ปัญหาคือไม่เอาภาษีมูลค่าเพิ่ม
ก็ย่อมที่จะไม่ออกบิล หรือหลักฐาน
การซื้อสินค้าให้ตามไปด้วย
.
นั่นแปลว่าเราจะไม่มีหลักฐานต้นทุน 100 บาท
มาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
(ค่าใช้จ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ =
ไม่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี)
.
ทำให้กำไรทางภาษีกลายเป็น 200 บาท
และถ้าเราขายแบบมีมูลค่าเพิ่มไป ก็ต้องนำส่ง
ภาษีให้กรมสรรพากรจำนวน 14 บาท
เหมือนกลุ่มที่ 2🙂
.
📣 สรุป…ขายของออนไลน์เสียภาษีอะไร❓
✅ หลักการเริ่มที่ “ภาษีเงินได้”
1. ภาษีเงินได้วิธีคำนวณที่ใช้ประจำคือ
เงินได้สุทธิ × อัตราภาษี
2. เงินได้สุทธิมาจาก
รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน
3. เราต้องรู้ว่า รายได้เรามีเท่าไหร่ = ต้องมีข้อมูล
4. เราต้องรู้ว่า ค่าใช้จ่ายเรามีหลักฐานไหม
หรือหักเหมา 60% ได้หรือเปล่า
5. เราต้องรู้ว่า เรามีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง
6. ยิ่งเงินได้สุทธิน้อย = เสียภาษีน้อย
7. เสียปีละ 2 ครั้ง ยื่นครึ่งปี กับ เต็มปี
.
✅ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
1. ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องเสียเมื่อรายได้
เข้าเงื่อนไข 2 ข้อนี้นั่นคือ
📍1.8 ล้านบาทต่อปี
📍ธุรกิจเราไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ขายของออนไลน์ส่วนใหญ่ต้องเสียภาษี
มูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ไม่ได้ยกเว้น
3. เริ่มจากภาษีขายคือ คิดเพิ่ม 7% จากยอดขาย
4. ถ้าเราบวกราคาเพิ่มให้ลูกค้าไม่ได้ แปลว่า
จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น
5. ถ้าจดภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เวลาซื้ออย่าลืม
ขอใบกำกับภาษี เพราะจะเอามาหักได้
6. เวลาเราซื้อ เราจะมีภาษีซื้อ เวลาขาย
เราจะต้องออกภาษีขาย
7. ทุกเดือนให้เราเอา ภาษีขาย – ภาษีซื้อ =
ยอดที่ต้องส่งสรรพากร
8. ถ้าเดือนไหนยอดภาษีซื้อมากกว่าขาย
ก็ขอคืนได้ หรือจะยกยอดไปใช้เดือนต่อไปได้
READ  เงียบให้ถูกจังหวะ คนชนะไม่พูดมาก
3.DECISION : ตัดสินใจไปต่อ
📣 ขายของออนไลน์ เริ่มต้นยังไงดี ถ้าไม่อยาก
ให้ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีให้สรรพากร
ธนาคารมีหน้าที่สรุปข้อมูลบัญชีทั้งหมด
ของลูกค้าที่ตัวเองมีในแต่ละปี ที่เข้าเงื่อนไข
ต่อไปมีให้กับสรรพากร
✅ ยอดเงินเข้า “ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป”
และยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป
✅ ยอดเงินเข้า “ตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
ไม่รวมจำนวนเงิน”
.
การไม่ถูกส่งข้อมูลให้สรรพากรไม่ได้แปลว่า
เราจะไม่ถูกตรวจสอบ การถูกส่งข้อมูล
ให้กรมสรรพากรนั้นมันไม่ได้แปลว่า
เราเสียภาษีไม่ถูกต้อง😱
.
📣 ถ้าหากค่าใช้จ่ายจริง ในการคำนวณ
ต้องทำอย่างไร
การหักค่าใช้จ่ายจริงในการคำนวณภาษีนั้น
สามารถใช้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
โดยทั้งสองกลุ่มต้องมีเงื่อนไขดังนี้
⭕ บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ประเภทที่ 5-8
ที่สามารถเลือกหักภาษีได้จริง บุคคลธรรมดา
ที่มีเงินได้ประเภทที่ 8 ที่กฎหมายไม่ได้ให้
ทางเลือกในการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาไว้
(การขายของออนไลน์โดยปกติจะถือเป็น
เงินได้ประเภทที่ 8 ตามกฎหมาย)
⭕ นิติบุคคลต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
จะกำไรสุทธิ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายจริง
ในการคำนวณภาษี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็น
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการและไม่เป็น
ค่าใช้จ่ายที่ต้องห้ามตามหลักของกฎหมาย
(มาตรา 65 ตรี)
.
📣 วิธีสร้างหลักฐานค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง
ที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีและ
ไม่มีปัญหากับสรรพากร
แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมจากเอกสารสรรพากร
โดยตรงคือ คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการ
ลงบัญชี ที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้
เพราะคู่มือนี้จะระบุไว้ชัดเจน
.
หลักฐานที่กรมสรรพากรให้ถือว่าเป็นรายจ่ายนั้น
จะมีอยู่ 3 ประเภทคือ
⭕ ใบรับเงินหรือใบเสร็จรับเงิน
ที่ผู้รับเงินเป็นผู้ออกให้ เอกสารนี้ถือว่า
เป็นเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือที่สุด
เพราะเป็นหลักฐานที่ได้รับจากบุคคลภายนอก
ไม่ได้จัดทำขึ้นเองจากภายในธุรกิจ
⭕ ใบสำคัญรับเงิน
ที่มีหลักฐานลายเซ็นผู้รับเงิน โดยควรแนบ
สำเนาบัตรประชาชนที่ถูกต้องของผู้รับเงิน
ตรงนี้เป็นเอกสารอีกฉบับที่กรมสรรพากร
รับรองว่าเป็นหลักฐานค่าใช้จ่ายได้
⭕ ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน
เป็นเอกสารภายในกิจการ จัดทำโดยพนักงาน
ที่เอามาเบิกจ่ายและมีการอนุมัติโดยผู้เกี่ยวข้อง
อันนี้เป็นหลักฐานที่จัดทำขึ้นภายในเหมือนกัน
แต่เบิกเองโดยคนในไม่มีหลักฐาน
ที่ได้รับจากบุคคลภายนอก
.
องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้สามารถ
เป็นรายจ่ายที่สรรพากรยอมรับได้นั้นมีอยู่
3 องค์ประกอบสำคัญดังนี้
⭕ ชี้แจงได้ ว่าจ่ายให้ใคร(ผู้รับ) และใช้วิธีไหน
(การจ่ายผ่านธนาคาร โอนเงิน หรือ
เช็คที่น่าเชื่อถือกว่าเงินสด)
⭕ จ่ายถูกต้อง หักภาษีไว้ไหม เป็นประเด็นแฝง
คือเงินที่จ่ายครบถ้วนถูกต้อง และผู้จ่าย
ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไหมตามหน้าที่
ที่กฎหมายกำหนด(ในกรณีที่ต้องมีการหัก
ภาษี ณ ที่จ่ายไว้)
⭕ หลักฐานพิสูจน์การจ่าย ต้องหามาให้ได้
เพื่อพิสูจน์การได้รับเงินและจ่ายเงินจริง
.
📣 กำไรเท่านี้จดบริษัทเลยดีไหม
แนวคิดเพื่อการตัดสินใจเปลี่ยนจากรูปแบบ
บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล
⭕ รายได้ธุรกิจเราเยอะไหม❓
รายได้มาก สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาคือ
รายได้เยอะยิ่งควรจะจดบริษัทหรือ
เป็นนิติบุคคล เพราะมันมีผลกระทบ
ทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ ความน่าเชื่อถือ
และจำเป็นที่เราต้องมีข้อมูลบัญชีที่ถูกต้อง
ในการตัดสินใจ🤔
⭕ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดมีหลักฐานไหม❓
การทำธุรกิจของเราไม่มีหลักการค่าใช้จ่าย
ต่างๆเนื่องจากธุรกิจเราทำกับรายย่อย
และเราอาจจะมองว่าไม่คิดจะเติบโต
สร้างระบบมากกว่านี้เพื่อให้มีเอกสารหลักฐาน
แถมยังมองว่าการเป็นบุคคลธรรมดา
เราสามารถเลือกหักภาษีค่าใช้จ่าย 60%
แบบเหมาได้ด้วย แบบนี้เห็นได้ว่าการเป็น
บุคคลธรรมดาเหมือนเดิมอาจเป็น
คำตอบที่ตามหาก็ได้🙂
⭕ อนาคตธุรกิจเติบโตแค่ไหน❓
ถ้ามั่นใจว่าเติบโตและยิ่งใหญ่แบบนี้ก็
จดนิติบุคคลไปเลย เพราะยังไงก็ต้องจดอยู่ดี
ข้อดีของการจดนิติบุคคลไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
จะทำให้เราเห็นภาพรวมตั้งแต่การเริ่มต้น
จนเติบโต ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของภาษี
ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น😄
⭕ มีหุ้นส่วนไหมหรือตั้งใจจะมีอยู่แล้ว❓
ถ้าสมมุติว่ามีหุ้นส่วนที่ช่วยกันทำมา
การทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา
น่าจะมีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะแบ่งสรร
กันลำบาก กระจายรายได้อาจจะโดนสรรพากร
ตรวจสอบได้ ถ้าจะเลือกเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
แบบบุคคลธรรมดา อาจจะมีปัญหาเรื่อง
แบ่งกำไรเสียภาษีซ้ำซ้อนด้วย
⭕ พร้อมเข้าระบบอย่างถูกต้องไหม❓
ถ้าพร้อมเข้าระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง
การเป็นนิติบุคคลมีประโยชน์มากกว่า
จากนโยบายรับส่วนใหญ่ที่ให้การสนับสนุน
ในช่วงที่ผ่านมา เช่น นโยบายบัญชีเดียว
หรือแม้แต่เรื่องของการได้รับสิทธิ์หักค่าใช้จ่าย
ต่างๆที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอด
ไปถึงเรื่องการลงทุนขอสินเชื่อต่างๆ
ง่ายกว่าบุคคลธรรมดา
⭕ เจ้าของธุรกิจเข้าใจหน้าที่และหลักการ
หรือยังเจ้าของธุรกิจเข้าใจหน้าที่
และหลักการหรือยัง❓
ข้อสุดท้ายนี้เป็นสิ่งที่ย้ำว่าถ้าเจ้าของธุรกิจ
เข้าใจหน้าที่ของตัวเองที่เกี่ยวข้องกับภาษี
ว่ามีอะไรบ้าง รูปแบบที่ต่างกันมีอะไร
ต้องจัดทำเพิ่มบ้าง และหลักฐานต่างๆ
ที่เราใช้พิจารณาเพื่อเลือกสถานะว่าจะเป็น
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดีกว่ากัน
.
📣 เปรียบเทียบครกจบที่เดียว!! ระหว่าง
“ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” กับ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล”
✅ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะใช้การคำนวณ
2 วิธี เปรียบเทียบกันแล้วเสียภาษีตามวิธี
คำนวณได้มากกว่าคือ
📍 เงินได้สุทธิ = (เงินได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน)
×อัตราภาษี
📍เงินได้พึงประเมิน = เงินได้ทุกประเภทรวมกัน
(ไม่รวมเงินได้ประเภทที่ 1)× 0.5%
✅ ภาษีเงินได้นิติบุคคล วิธีคำนวณภาษี
ของนิติบุคคลมีหลายแบบ แต่สำหรับนิติบุคคล
ปกติที่จดทะเบียนในไทย หรือบริษัท
ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
จดทะเบียน จะใช้วิธีการคำนวณที่เรียกว่า
“กำไรสุทธิ”มาจาก(รายได้-ค่าใช้จ่าย)×อัตราภาษี
.
ประเด็นสำคัญที่ต้องระวังคือ “รายได้” และ
“ค่าใช้จ่าย” ที่ว่าจะต้องเป็น “รายได้และ
ค่าใช้จ่ายทางภาษี”
.
โดยจะใช้วิธีการปรับปรุงจากกำไรทางบัญชี
ที่ได้มา แล้วค่อยนำมาคูณอัตราภาษี
.
4.ENCORE : กรณีศึกษา
📣 เน็ตไอดอล อินฟลูเอนเซอร์เสียภาษีอย่างไร🤔
✨เน็ตไอดอลเสียภาษีอย่างไร
📍รายได้จากการเขียน: ส่วนใหญ่จะเป็น
งาน Review หรือ Advertorial หรือ
Sponser post ในแฟนเพจ ทวิตเตอร์
อินสตาแกรม ต่างๆ ถือว่าเป็นรายได้
ประเภทที่ 2 ตามกฎหมาย (คืองานรับจ้าง
เหมือนกับฟรีแลนซ์ทั่วไป)
📍รายได้จากการขาย: แนวขายของ ครีม
ยา อาหารเสริม วิตามิน โดยปกติจะถือเป็น
รูปแบบของการซื้อมา-ขายไปมากกว่า
ประเภทอื่น ถือเป็นรายได้ประเภทที่ 8
ตามกฎหมาย และใช้วิธีคำนวณภาษี
เหมือนกับการขายของออนไลน์
📍รายได้จากการโชว์: แนวอีเวนต์หรือ
ออกงาน ต้องแยกให้ดีว่าเป็นงานโชว์
ประเภทไหน ถ้าไปร่วมงานธรรมดา
หรือโชว์ตัวทั่วไป แบบนี้ถือเป็นรายได้
ประเภทที่ 2 ตามกฎหมาย(งานจ้าง)
หลักการคำนวณจะเหมือนกับ
รายได้จากการเขียน
.
มีบางกรณีสำหรับเน็ตไอดอลที่โด่งดัง
หรืองานใหญ่ขึ้น จนกลายสภาพเป็นนักแสดง
สาธารณะ แบบนี้เป็นรายได้ประเภทที่ 8 แทน
.
📣 ยูทูบเบอร์ เสียภาษีอย่างไร🤔
⭕ เรามีรายได้จากการทำงาน ต้องเสียภาษี
อยู่แล้ว ถามต่อว่ารายได้ที่ว่านั้น
เป็นประเภทไหนตามกฎหมาย❓
⭕ หลักการเขียนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บ้านเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาชีพที่เขาทำ
เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ลักษณะของ
รายได้ที่ได้มามากกว่าเป็นประเภทไหน
ตามกฎหมายกำหนดไว้
⭕ ยูทูบเบอร์จะมีรายได้หลักๆ 2 ทางคือ
1. Google Adsense รายได้โฆษณา
แนวทางการตีความตอนนี้คือ เงินได้ประเภท
ที่ 8 ตามกฎหมาย ที่ต้องหักค่าใช้จ่าย
ตามจริงได้เท่านั้น
2. สำหรับงานอื่นๆเช่น Advertorial
งานจ้าง งานเขียนรีวิว ก็ใช้หลักการเดียวกัน
กับเน็ตไอดอลตามวิธีการคำนวณข้างต้น
คือ เป็นเงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 8 ก็ได้
ขึ้นอยู่กับลงทุนลงแรงในการทำงาน
.
สิ่งสำคัญของกรณีนี้อยู่ที่การพิสูจน์ต้นทุน
ในการทำงาน หากเรามีต้นทุนที่ทำให้
กรมสรรพากรเชื่อได้ว่ามีการลงทุนลงแรงจริง
และมีหลักฐานการใช้จ่ายที่พิสูจน์ได้
ตรงนี้จะทำให้เราหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
.
หรือถ้ามองว่ามีรายได้เยอะมาก ก็เลือกทำธุรกิจ
ในแบบนิติบุคคลแทน ซึ่งจะสามารถหักค่าใช้จ่าย
ต่างๆได้เป็นระบบมากกว่า ยูทูบเบอร์หลายๆ
คนในประเทศก็เลือกวิธีนี้🙂
.
คู่มือภาษีของคนขายออนไลน์ทุกคนควรอ่าน
เคลียร์ชัดทุกประเภทรายได้ออนไลน์ที่คุณมี😄
บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า