คนเราทำอะไรภายใน 90 วินาทีได้บ้าง
สำหรับหลายคนแค่คิดก็หมดเวลาแล้ว
แต่ในความเป็นจริง 90 วินาทีคือ
เส้นคาบเกี่ยวระหว่างชีวิตเดิมๆ
กับความสำเร็จในฝันเลยทีเดียว
.
นิโคลัส บูธแมน นักจิตวิทยามือหนึ่ง
แห่งเกาะอังกฤษได้สรุปงานวิจัยออกมาว่า
เพียงคุณทำตัวให้เป็นคนน่าประทับใจ
ภายใน 90 วินาที ก็มากพอที่จะทำให้ชีวิต
ประสบความสำเร็จสูงสุดได้แล้ว
.
คุณจะกลายเป็นคนที่ใครๆต่างก็พา
กันหลงรัก ได้รับความช่วยเหลือ
จากทุกฝ่ายแล้วชีวิตก็ง่ายขึ้นเป็นกอง
ภายใน 90 วินาทีเท่านั้น
.
.
พบกันครั้งแรก
.
1.”พลังของผู้คน”
การปฏิสัมพันธ์คือ สิ่งที่บรรพบุรุษของเรา
ทำกันมาเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
การเชื่อมโยงคือ สิ่งที่สมองเราทำได้ดีที่สุด
มันรับรู้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่างๆของเรา
และประมวลผลด้วยการเชื่อมโยงข้อมูล
สมองเกิดความเพลิดเพลินและเรียนรู้
จากการเชื่อมโยงเหล่านี้มันเติบโต
เจริญงอกงามเมื่อมีการเชื่อมโยง
.
การเชื่อมสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชุมชน
ชุมชนคือ การเชื่อมความสัมพันธ์มากมาย
ที่รวมกันจนถึงจุดสูงสุด
.
เราต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น
เป็นเรื่องธรรมดา ในชุมชนมีผลประโยชน์
ร่วมกันที่แบ่งปันกัน แล้วจึงดูแลซึ่งกันและกัน
.
ชุมชนที่เชื่อมสัมพันธ์กันจะมอบความแข็งแกร่ง
และปลอดภัยให้แก่สมาชิกเมื่อเรารู้สึกแข็งแกร่ง
และปลอดภัย เราก็จะได้ใช้แรงที่ได้มา
เพื่อนำไปพัฒนาสังคม วัฒนธรรมและจิตใจ
.
เรายังได้รับประโยชน์จากผู้อื่นทางด้านอารมณ์
บางคนทำให้ร่างกายเรารู้สึกมีชีวิตชีวา
เรียกว่า “ความรัก”
.
เหตุผลที่เราต้องทำตัวให้น่าเข้าใกล้
ภายใน 90 วินาที หรือน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับ
สมาธิที่สั้นลงทุกวันของมนุษย์
.
คนทั่วไปตั้งสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ได้นานแค่ประมาณ 30 วินาทีเท่านั้น
คนเราต้องการความแปลกใหม่
ความเพลิดเพลิน ถ้าไม่มีอะไรใหม่หรือ
น่าตื่นเต้นให้จดจ่อ เราก็จะไขว้เขว
และล่องลอยไปหาสิ่งอื่นที่น่าดึงดูดกว่า
.
.
2.”ความประทับใจแรกพบ”
เป้าหมายหลักในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
มีหัวใจหลับอยู่ 3 ประการด้วยกัน
.
การพบปะ
ถ้าคุณสร้างความประทับใจได้โดนใจอีกฝ่าย
ภายใน 3-4 วินาทีแรก เขาก็จะรู้สึกได้ทันที
ว่าคุณเป็นคนจริงใจ ไม่มีพิษภัย และไว้วางใจได้
โอกาสที่จะเดินหน้าสร้างความสัมพันธ์ก็อยู่ไม่ไกล
การทำให้คนชอบ
คือ การสร้างความเหมือน สร้างพื้นที่สุขสบาย
ให้คนสองคนเชื่อมโยงกันทางจิตใจได้
เมื่อคุณทำให้คนชอบได้ พวกคุณแต่ละคน
ก็จะมอบบางสิ่งให้อีกฝ่าย เช่น ความใส่ใจ
ความอบอุ่น อารมณ์ขัน แต่ละคนก็จะได้รับ
บางสิ่งกลับมา เช่น อารมณ์ร่วม ความเห็นอกเห็นใจ
หรือบางทีอาจเป็นมุกตลกเจ๋งๆ
สิ่งเหล่านี้คือ สารหล่อลื่นที่ทำให้สังคมของเรา
ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
การสื่อสาร
การสื่อสารของคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่
ขึ้นอยู่กับตัวคุณ 100%
คุณเป็นคนส่งสารเองกับมือ และคุณคือ
ผู้รับผิดชอบที่จะทำให้มันได้ผล
ถ้าไม่ได้ผล ก็คุณที่ต้องเป็นคนเปลี่ยน
พฤติกรรมของตัวเองจนกว่า
จะได้สิ่งที่ต้องการในที่สุด
.
คุณจะได้เรียนรู้วิธีวางตัวให้เหมาะสม
สอดคล้อง กับสัญญาณที่ผู้อื่นส่งให้คุณ
เพื่อให้พวกเขารู้สึกสบายใจ เมื่ออยู่ใกล้คุณ
.
นอกจากนี้ความสำคัญของน้ำเสียง
ถือว่ามีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึก
ที่เราต้องการสื่ออีกด้วย
.
.
ทำให้คนชอบใน 90 วินาที
.
3.”คนๆนี้มีบางอย่างที่ฉันชอบมาก!”
ความดึงดูดมีอยู่ทั่วทุกที่ในจักรวาล
ไม่ว่าคุณจะอยากเรียกมันว่าแรงดึงดูด
ขั้วแม่เหล็ก ไฟฟ้า หรือเสน่ห์ มันก็ยังเป็น
ความดึงดูดอยู่ดี ที่เป็นต้นทุนของทุกสิ่ง
.
เราดึงดูดและชื่นชอบคนที่เหมือนกับเรา
โดยธรรมชาติ แม้จะแทบสังเกตไม่เห็น
สำหรับบางคน แต่กับบางคนกลับชัดเจนมาก
.
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราอาศัยในชุมชน
เป็นเรื่องปกติและไม่แปลกที่ผู้คนเข้ากันได้ดี
มากกว่าทะเลาะกัน
.
แต่ที่น่าขำคือสังคมกลับสร้างเงื่อนไขให้เรา
ต่างก็หวาดกลัวกันและกัน
สร้างเขตแดนระหว่างตัวเรากับผู้อื่นขึ้นมา
เราอาศัยอยู่ในสังคมที่เสแสร้งว่า
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นถูกส่งผ่าน
ความรัก แต่ในความเป็นจริงกลับมาจาก
ความหวาดกลัว
.
.
4.”ทัศนคติคือทุกสิ่ง”
ทัศนคติกำหนดคุณภาพและอารมณ์
ของความคิด น้ำเสียง รวมถึงถ้อยคำที่พูด
ที่สำคัญที่สุดยังควบคุมสีหน้า
และภาษากายของคุณด้วย
.
จินตนาการคือ พลังที่แข็งแกร่งที่สุดที่คุณมี
แข็งแกร่งยิ่งกว่าความมุ่งมั่นของคุณเสียอีก
จินตนาการแสดงให้คุณพบเห็นประสบการณ์
ผ่านทั้งทางรูปแบบของภาพ เสียง
ความรู้สึก และรสชาติ
.
จินตนาการของคุณบิดเบือนความจริง
มันทำประโยชน์ให้คุณหรือต่อต้านคุณก็ได้
ทำให้คุณรู้สึกดีหรือหดหู่ได้อีกเหมือนกัน
.
ดังนั้นยิ่งคุณมีจินตนาการดีเท่าไหร่
คุณก็จะจัดการกับความคิด ทัศนคติ
ท้ายที่สุด ชีวิตของคุณได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น
.
.
5.”การกระทำสำคัญกว่าคำพูดจริงๆ”
ภาษากายหลายคนชอบคิดว่ามันหมายถึง
ท่าทางตั้งแต่คอลงมา แต่สารที่เราส่งไป
และสิ่งที่ผู้อื่นใช้ประเมินตัวเรามาจากคอขึ้นไป
เสียมากกว่า สีหน้า การพยักหน้า และเอียงคอ
มีความหมายเท่ากับสิ่งที่ร่างกายต่างจากคอ
ลงมาแสดงออก หรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำ
.
สีหน้าและภาษากายต่างก็มีหน้าที่
ปกป้องดูแลศูนย์กลางของอารมณ์
และความรู้สึกนั่นคือ “หัวใจ”
.
เราแบ่งภาษากายออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
.
ภาษากายแบบเปิด
ร่างกายของคุณโกหกไม่เป็น มันสื่อความคิด
และความรู้สึกของคุณด้วยภาษาของมันเอง
ไปที่จิตใต้สำนึกของผู้อื่น
โดยปราศจากการชี้นำของคุณ และผู้อื่น
จะเข้าใจภาษากายของคุณอย่างถ่องแท้
ความขัดแย้งใดๆก็ตามในภาษา
อาจขัดขวางการสร้างมิตรภาพได้
ภาษากายแบบปิด
คนเราปิดกั้นตัวเองค่ะท่าทางที่ปกป้องร่างกาย
และป้องกันหัวใจ เราจะพบเห็นการกอดอก
บ่อยที่สุด การกอดอกปกป้องหัวใจและปกปิด
ความรู้สึกของคุณเอาไว้
.
บางครั้งท่ากอดอกจะทำให้คุณผ่อนคลาย
แต่การกอดอกแบบผ่อนคลาย และแบบ
การป้องกันตัวนั้นมีความแตกต่างที่ชัดเจน
.
ท่าทางแบบปกป้องตัวเองเกิดขึ้นเร็ว
และอยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใต้สำนึก
ร่างกายของคุณมีความคิดของมันเอง
และถูกควบคุมโดยทัศนคติที่เป็นประโยชน์
หรือไร้ประโยชน์
.
ท่าทางแบบป้องกันตัวเองที่เห็นได้ชัดที่สุด
คือการหลบสายตาอีกฝ่าย
การอยู่ไม่สุขคือ ท่าทางในแง่ลบอีกอย่าง
ซึ่งแสดงให้เห็นความหงุดหงิด
หรือกระวนกระวายได้เช่นกัน
.
ภาษากายสำคัญที่สุดมันเป็นหน้าตา
ของการสื่อสารก็ว่าได้ ทั้งท่าทางของเรา
การแต่งกาย การเคลื่อนไหว อิริยาบถ และอื่นๆ
.
.
6.”เราชอบคนที่เหมือนตัวเอง”
เราทำตัวให้กลมกลืนเหมือนกับคนอื่น
โดยไม่รู้ตัวมาตั้งแต่เกิด จังหวะการทำงาน
ในร่างกายของทารกถูกปรับให้พร้อมเพรียง
กับของแม่ อุณหภูมิของเด็กอ่อนได้รับอิทธิพล
จากอารมณ์ของพ่อ เด็กเลือกของเล่นโปรด
ให้เหมือนของเพื่อนสนิท รสนิยมของวัยรุ่น
จะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เท่เก๋ไก๋
และความชอบของผู้ใหญ่ได้รับอิทธิพล
จากคู่ครอง เพื่อน และสังคม
.
เราทำตัวให้กลมกลืนกับคนที่อยู่รอบข้าง
ตลอดทั้งวัน เรามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ของกันและกันเสมอ ทุกวินาทีที่เราอยู่กับผู้อื่น
เราก็จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง
ทีละเล็กละน้อยและผู้อื่นก็ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมของพวกเขาให้เข้า
กับเราด้วยเช่นกัน
.
การทำทัศนคติกลมกลืน ต้องปรับเปลี่ยน
ตามบรรยากาศและสถานที่เป็นสำคัญ
เรามาทำให้ทัศนคติกลมกลืน
เพื่อสนับสนุนคนอื่น จับความรู้สึกของคนอื่น
เคลื่อนไหว หายใจ และแสดงสีหน้า
ให้เหมือนพวกเขาขณะที่คุณ “ใกล้ชิด”
กับพวกเขา….
.
จงปรับตัวให้เข้ากับอารมณ์ในน้ำเสียง
ของพวกเขาและสะท้อนมันกลับไป
.
การทำภาษากายให้กลมกลืนมีอยู่ 2 วิธีใหญ่ๆ
คือ การทำเหมือนหมายถึง ทำสิ่งเดียวกับอีกฝ่าย
และการสะท้อนหมายถึง เคลื่อนไหวราวกับ
คุณกำลังมองอีกฝ่ายในกระจก
.
ทำเสียงให้กลมกลืน เสียงมีส่วนอยู่ 38%
ในการสื่อสารแบบเผชิญหน้า
สะท้อนให้เห็นว่าคนหนึ่งรู้สึกอย่างไร
หรือพูดอีกอย่างว่ามันสะท้อนทัศนคติ
ของอีกฝ่าย คนที่สับสนจะฟังดูสับสน
คนที่อยากดูอยากเห็นจะฟังดูอยากรู้อยากเห็น
คุณสามารถเรียนรู้ที่จะทำสิ่งให้กลมกลืน
กับผู้อื่นได้
.
.
เคล็ดลับของการสื่อสาร
7.”อย่าเอาแต่พูดให้ฟังด้วย”
การสนทนาสู่วิธีที่สำคัญมากในการสร้าง
ไมตรีจิตและเร่งให้เกิดความผูกพันฉันมิตร
.
การสนทนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญเท่าๆกัน
คือ การพูดและการฟัง หรือการถามและฟัง
อย่างตั้งอกตั้งใจ
.
คุณอาจเคยอยากพูดคุยกับใครสักคน
แต่จู่ๆก็พูดไม่ออกเสียอย่างนั้น
สิ่งแรกคือ การทำให้อีกฝ่ายพูดจากนั้น
ก็หาว่าเขาหรือเธอสนใจอะไร
และทำตัวให้สอดคล้องกลมกลืน
.
นี่คือการพูดคุยสัพเพเหระ หรือการล่ามิตรไมตรี
คือเวลาที่คุณจะค้นหาความสนใจร่วมกัน
และค้นหาวิธีอื่นๆในการก้าวไปสู่ความสัมพันธ์
.
การเริ่มสนทนาคือ เริ่มด้วยหัวข้อที่เกี่ยวกับ
สถานที่หรือวาระจากนั้นจึงถามคำถามเปิด
ใช้คำพูดแบบเปิด..
.
การสนทนาที่ดีเป็นเหมือนการเล่นเทนนิส
แบบสบายๆ โดยใช้ถ้อยคำถูกตีไปมา
ตราบเท่าที่ควบคุมอย่างมีความสนใจร่วมกัน
.
การฟังคือเหรียญอีกด้านของการสนทนา
ในฐานะนักฟังที่ดีคุณจะต้องแสดงให้เห็นว่า
คุณสนใจอีกฝ่ายอย่างแท้จริง
.
การฟังต่างกับการได้ยิน การฟังอย่างตั้งใจ
คือการพยายามจับใจความ ทำความเข้าใจ
ข้อเท็จจริงและรู้สึกที่ซ่อนอยู่
ในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด
.
การฟังอย่างตั้งใจหมายถึง การโต้ตอบต่อ
ความรู้สึก ต้องตอบด้วยภาษากาย
ใช้ภาษากายแบบเปิดและให้กำลังใจ
พยักหน้าแสดงความเห็นด้วย
สบตาบ่อยครั้งแต่อย่าจ้อง มองไปทางอื่น
อย่างครุ่นคิด หรือโต้ตอบอะไรก็ได้
ที่เหมาะสมกับสิ่งที่อีกฝ่ายพูด
ซึ่งเกิดจากทัศนคติที่เป็นประโยชน์
อย่างแท้จริงของคุณ
.
.
8.”ทำความเข้าใจประสาทสัมผัส”
ปี 1970 ริชาร์ด แบนด์เลอร์ และจอห์น กรินเดอร์
ผู้คิดค้นวิชาโน้มน้าวใจด้วยภาษาจิตประสาท (NLP)
.
เราแบ่งคนออกได้ 3 แบบขึ้นอยู่กับว่าพวกเขา
รับรู้โลกผ่านประสาทสัมผัสใด
โดยทั้ง 3 แบบนี้ประกอบไปด้วย
.
คนที่รับรู้ทางตา
คนที่รับรู้ทางหู
คนที่รับรู้ทางความรู้สึก
.
เรารับเอาข้อมูลจากโลกภายนอกเป็นภาพ เสียง
และความรู้สึก เราจึงถูกกระตุ้นด้วย 3 วิธี
.
จากสิ่งที่เราเห็นภายนอก หรือจินตนาการ
ภายในจิตใจ
จากสิ่งที่เราได้ยินทั้งภายนอก
และจากสิ่งเล็กๆภายใน
จากสิ่งที่เรารู้สึกหรือสัมผัส
.
.
9.”ค้นหาประสาทสัมผัสที่ผู้อื่นชอบใช้มากที่สุด”
คนต่างกลุ่มย่อมมีพื้นฐานทางร่างกาย
และจิตใจที่แตกต่างกันอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
.
ความแตกต่างเหล่านี้ไม่ได้ตายตัว
บอกได้คร่าวๆเท่านั้น มีอยู่ 3 กลุ่ม
.
คนที่รับรู้ทางตา
คนที่รับรู้ทางตาจะใส่ใจว่าสิ่งต่างๆ
มีลักษณะเป็นอย่างไร พวกเขาอยากเห็น
เครื่องพิสูจน์หรือหลักฐานก่อนจะจริงจัง
กับเรื่องใดก็ตาม บางครั้งก็ใช้มือแตะภาพ
ที่พวกเขาเห็นขณะพูด พวกเขาประมวลภาพ
ที่ตาเห็นอย่างรวดเร็ว จึงสามารถคิดได้
อย่างกระจ่างชัดเจน
.
สิ่งนี้ทำให้พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่พูดเร็วที่สุด
ในหมู่พวกเรา หรือบางครั้งก็ชอบพูด
ด้วยน้ำเสียงราบเรียบ
.
คนที่รับรู้ทางตาชอบทำงานประเภท
ที่ต้องใช้ความมั่นใจและการตัดสินใจ
ที่รวดเร็ว หรืองานที่มีขั้นตอนการทำงาน
เฉพาะเจาะจง พวกเขาอยากเป็นผู้ควบคุม
เพราะพวกเขาวาดภาพไว้แล้วว่าสิ่งต่างๆ
ควรเป็นเช่นไร ศิลปินนักวาดจำนวนมาก
เป็นคนในกลุ่มนี้
คนที่รับรู้ทางหู
คนที่รับรู้ทางหูตอบสนองต่อเสียงอย่างเปี่ยม
ไปด้วยอารมณ์
.
คนที่รับรู้ทางหูจะกรอกตาไปมาระหว่างพูด
และออกท่าทางน้อยกว่าคนที่รับรู้ทางตา
หรือบ่อยครั้งพวกเขาจะขยับจากข้างหนึ่ง
ไปอีกข้างหนึ่งเช่นเดียวกับ
การเคลื่อนไหวของดวงตา
.
คนที่รับรู้ทางหูทำงานในที่ที่มีการใช้เสียง
อยู่ทั่วไป นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์
ครูอาจารย์ นักกฎหมาย ผู้ให้คำปรึกษา
และนักเขียนเป็นต้น
คนที่รับรู้ทางความรู้สึก
เป็นคนอ่อนไหวสิ่งต่างๆต้องเป็นรูปธรรม
มีโครงสร้างมั่นคง และให้ความรู้สึกที่ใช่
เพื่อให้พวกเขาคอยตามได้
.
พวกเขาพูดด้วยเสียงทุ้มต่ำและให้บรรยากาศ
สบายๆ คนที่รับรู้ทางความรู้สึกบางคนพูดช้า
อย่างเหลือเชื่อ และชอบใส่รายละเอียดเล็กๆ
ที่อาจทำให้คนรับรู้ทางตาและหู
อยากตะโกนว่า “เข้าเรื่องซะที ขอร้อง!”
.
การแสดงความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด
ใช้เวลานานกว่าการเปลี่ยนภาพหรือเสียง
ให้เป็นคำพูด เมื่อคนที่รับรู้ทางความรู้สึกพูด
พวกเขาจะมองรถไฟที่ความรู้สึกของตัวเอง
พวกเขาเพลิดเพลินกลับรสสัมผัสของสิ่งต่างๆ
.
คนที่รับรู้ทางความรู้สึกมี 2 ประเภท
กลุ่มหนึ่งคือพวกนักกีฬา นักเต้นรำ
คนที่ทำงานด้านบริการฉุกเฉินและการค้า
คนอีกประเทศที่แข็งแรงมาก ซึ่งการสัมผัส
เป็นสิ่งสำคัญที่สุด อีกกลุ่มหนึ่งเป็นคนอ่อนไหว
ผ่อนคลาย ติดดิน ใจกว้าง ซึ่งอาจมีร่างกาย
ที่โตกว่าคนอื่น
.
.
นักสื่อสารที่ประสบความสำเร็จไม่ได้ออกไป
เผชิญโลกทุกวันพร้อม กับแบบทักษะและกลวิธี
มากมายไปด้วย พวกเขาออกไปเผชิญโลก
โดยทำตัวตามสบาย
.
การ “ไม่ยึดติด” ทำให้ผู้คนสิ่งต่างๆ
และเหตุการณ์ในชีวิตของคุณดำเนินไป
อย่างเป็นธรรมชาติ นี่คือความแตกต่าง
ระหว่างคนที่พยายามแต่ไปไม่ถึงไหน
กับคนที่ดูเหมือนทำน้อยแต่ได้ทุกสิ่ง
.
ยิ่งคุณปฏิบัติตามสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากหนังสือ
เล่มนี้มากเท่าไหร่ คุณก็จะสร้างความสัมพันธ์
กับผู้อื่นได้ง่ายดายมากขึ้นเท่านั้น
และคุณต้องฝึกฝนด้วย ในไม่ช้า
ก็จะเป็นธรรมชาติเหมือนกับ
การขี่จักรยานหรือว่ายน้ำ
ซึ่งเป็นทักษะที่คุณทำสำเร็จได้
ในวันที่คุณปล่อยตัวตามสบายและกังวล