เราไม่ใช่คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์
เราต้องการเวลาเพื่อทำตัวขี้เกียจ
และไม่ทำอะไรเลยบ้าง
.
Laziness Does Not Exitst
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้จะบอกให้เอาชนะความขี้เกียจ..
แต่จะบอกให้เราขี้เกียจอย่างไร้กังวล
การพยายามติ๊กจำนวนงานออก
จากรายการสิ่งที่ต้องทำ อาจไม่ใช่
คำตอบของชีวิตที่ดีอีกต่อไป
.
ดร.เดวอน ไพรซ์ จะพาทุกคนไปรู้จัก
กับโฉมหน้าที่แท้จริงและรากฐาน
ทางจิตวิทยาของ “ความขี้เกียจ”
รวมทั้งสาเหตุว่าทำไมเรายังรู้สึก “ไม่ดีพอ”
ทั้งที่ปัจจุบันคือยุคสมัยที่ผู้คนทำงาน
หนักมากเป็นประวัติการณ์
.
.
ความขี้เกียจลวง พยายามโน้มน้าวให้เราเชื่อ
ว่าความอยากพักผ่อนและผ่อนคลาย
ทำให้เราเป็นคนที่แย่มาก ทำให้เราเชื่อว่า
การไม่มีแรงจูงใจเป็นเรื่องน่าอับอาย
และต้องหลีกเลี่ยงให้ได้
.
ในความเป็นจริงความรู้สึกเหนื่อยล้า
และความเกียจคร้านคือ สิ่งที่ช่วยเหลือเราไว้
โดยส่งสัญญาณให้เรารู้ว่าเรากำลังต้องการเวลา
พักผ่อนอย่างมาก เมื่อเราเลิกกลัวความขี้เกียจ
เราก็จะสามารถหาเวลาเพื่อทบทวน
และชาร์จแบตตัวเอง เพื่อกลับไปหาผู้คน
และงานอดิเรกที่เรารักและเพื่อดำเนินชีวิต
ได้อย่างที่ตั้งใจและสงบกว่าเดิม
.
“ฆ่าเวลา” คือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
เมื่อเรายอมรับสิ่งนี้ได้แล้ว เราก็จะเลิกกลัว
“ความขี้เกียจ”ภายในตัวเรา และเริ่มต้นสร้างชีวิต
ที่สุขภาพดีมีความสุขและสมดุลได้
.
.
เปลี่ยนความคิดต่อความขี้เกียจ “ขี้เกียจ”
นั้นมักมีเหตุผลที่ฟังขึ้นอยู่บ่อยๆว่าทำไมพวกเขา
ถึงไร้พลังหรือขาดแรงผลักดัน
.
ถ้าเราเข้าใจว่าคนๆนั้นกำลังเผชิญอยู่กับใคร
แม้กระทั่งพฤติกรรมขี้เกียจที่ดูเหมือนทำลาย
ตัวเองอย่างที่สุดก็จะเริ่มดูมีเหตุผลขึ้นมา
.
ความขี้เกียจช่วยให้เรามีความคิดสร้างสรรค์
เมื่อเราพักผ่อนและทำตัวขี้เกียจเราก็จะเรียนรู้
สิ่งใหม่ๆเกี่ยวกับตัวเองหรือมีความเข้าใจลึกซึ้ง
อันแสนวิเศษที่จะไม่มีวันเกิดขึ้น
หากเรามัวจดจ่ออยู่กับงาน
.
ความขี้เกียจเตือนใจเราว่าอะไรบ้างที่สำคัญ
เมื่อเรามีภาระความรับผิดชอบล้นมือ
สัญชาตญาณเราอาจจะทำให้เตรียมตัวลุยงาน
กันยาวๆและพยายามให้เสร็จมากที่สุด
เท่าที่จะทำได้
.
.
คุณสมควรได้ทำงานน้อยลง
จะได้งานคุณภาพก็ต้องมีเวลาพักผ่อน
เมื่อเราทำงานหนักเกินไปและทำนานเกินไป
คุณภาพของงานเราก็จะเริ่มแย่ลง
เราก็จะยิ่งหงุดหงิดง่ายและสมาธิหลุดง่าย
จากสิ่งต่างๆ ความเหนื่อยล้าจากการทำงาน
ทำลายความคิดสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน
.
เมื่อเราทำงานมากเกินไป ภาวะหมดไฟ
เป็นสิ่งที่สร้างความเสียหาย เพราะมันลด
คุณภาพของงาน และมีผลกระทบต่อคุณภาพ
ชีวิตของผู้ที่อยู่ในภาวะนี้
.
ภาวะหมดไฟเป็นเหมือนกับการเปลี่ยนจากคน
ที่เห็นโลกเป็นสีสันกลายเป็นคนที่เห็น
แค่สีขาวดำ เราจะไม่สามารถรู้สึกถึงอารมณ์ได้
ทำลายความสัมพันธ์อย่างรุนแรง
จนไม่สามารถฟื้นกลับมาได้
.
ภาวะหมดไฟไม่ได้เป็นเพียงแค่ปัญหาแรงงาน
แต่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข
การทำงานมากเกินไปได้พรากสุขภาพที่ดี
ความสามารถทางด้านการรู้คิด
และความหลงใหลในการใช้ชีวิตไปจากเรา
.
การทำงานหนักเกินไปไม่ดีต่อตัวเรา
มันไม่ได้ทำให้เราโปรดักทีฟมากขึ้น
มันสร้างความเสียหายร้ายแรง เราสามารถ
ต่อสู้เพื่อสร้างชีวิตที่มีสุขภาพดี
และกลมกลืนกันดี รวมถึงให้ความสำคัญ
กับความขี้เกียจมากพอ…
พอกับให้คุณค่าการทำงานหนักได้
.
.
ความสำเร็จไม่ได้แสดงคุณค่าในตัวคุณ
ความสำเร็จคือสิ่งชั่วคราว
มันไม่ได้มีวันนำความพอใจอย่างแท้จริง
มาให้เรา ทันทีที่เราเข้าสู่เส้นชัย
และรับรางวัล ความปิติสุขของการวิ่งแข่ง
ก็สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น ไม่มีชัยชนะใด
ยิ่งใหญ่พอที่จะเอาชนะคำบัญชา
จากความขี้เกียจลวงได้
.
ความขี้เกียจลวงบอกว่าเราไม่ควรพอใจ
เลยด้วยซ้ำ เราต้องวิ่งไล่ตามโอกาสใหม่ๆ
ต่อไปเรื่อยๆไม่ว่าจะเคยได้รับชัยชนะ
มาแล้วกี่ครั้งก็ตาม
.
เมื่อเป็นเช่นนี้การหมกมุ่นกับความสำเร็จ
ก็ทำให้ชีวิตดูคุ้มค่าและน่ารื่นรมณ์น้อยลง
เพราะเราไม่เคยได้เพลิดเพลินหรือชื่นชม
อย่างแท้จริงกับสิ่งที่เราทำหรือสิ่งที่เราเป็น
.
กำหนดคุณค่าของชีวิตเรากันใหม่
ชีวิตควรมีอะไรมากกว่าการโปรดักทีฟ
และทำให้คนอื่นประทับใจ การไล่ตามเป้าหมาย
อย่างหมกมุ่นและพยายามได้รับการยอมรับ
จากสังคมอยู่ตลอดเวลาไม่อาจทำให้เรารู้สึก
พึงพอใจได้ มันอาจลดความสามารถ
ในการชื่นชมสิ่งดีๆในชีวิตจากเราไป
.
เราควรก้าวถอยหลังมาเพื่อพิจารณาถึงคุณค่า
ของเรากันดูใหม่ และเรียนรู้ที่จะมองว่าชีวิตเรา
มีคุณค่ามาจากภายนอก ไม่ว่าเรา
จะประสบความสำเร็จหรือไม่…
.
การเปลี่ยนกรอบความคิดของเราให้เป็น
แนวทางนี้นับว่ายาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อถูกความขี้เกียจลวงปลูกฝัง
ความเชื่อมานานนับปี…
.
.
ความสัมพันธ์ไม่ควรทำให้คุณเหนื่อยล้า
มนุษย์เราต้องพึ่งพากันและกัน
เราต้องการความสัมพันธ์ทางสังคมและชุมชน
เพื่อที่จะได้เติบโต หลายคนก็ใช้ชีวิตอยู่กับ
ความกลัวว่าจะทำให้คนอื่นผิดหวัง
.
จนเรายอมประนีประนอมเรื่องคุณค่าของตัวเอง
พร้อมละทิ้งสุขภาวะของตัวเองไปด้วย
ความขี้เกียจลวงคอยกระตุ้น
การลบตัวตนของเราอยู่เสมอ
.
เมื่อเราเลิกพยายามดิ้นรน
เพื่อทำตามความคาดหวังของคนอื่น
ในที่สุดเราก็จะสามารถมองเห็นตัวเราเอง
และคุณค่าของเราได้อย่างชัดเจน
และเมื่อเราเริ่มต้านข้อเรียกร้องที่คนอื่น
มีต่อเราได้ เราก็จะสามารถละทิ้งข้อเรียกร้อง
อันใหญ่มหึมาทั้งยังส่งผลกระทบอย่างมาก
ที่สังคมบังคับให้เรายอมรับได้ด้วยเช่นกัน
.
.
ยักไหล่ใส่สิ่งที่สังคมมองว่า”ควร”
ความขี้เกียจล้วงอยากให้เราเชื่อว่า
หนทางแก้ไขปัญหาสังคมทั้งหมดคือ
ทิ้งความขัดข้องใจเหล่านั้นไปแล้ว
.
ลงมือทำงาน ยิ่งคนคนหนึ่งสามารถลด
ความไม่สมบูรณ์แบบเล็กๆน้อยๆเหล่านั้นออกไป
และกลายเป็นคนเรียบๆไม่มีลักษณะพิเศษ
อีกทั้งยัง “ดูปกติธรรมดา”ได้มากที่สุด
.
คนๆนั้นและทุกคนรอดตัวก็จะเพิกเฉย
ต่อปัญหาเชิงระบบ…
และสนใจแต่ความโปรดักทีฟเท่านั้น
.
แต่มันก็เป็นเช่นเดียวกับคำสัญญาหลอกลวง
อื่นๆที่ความขี้เกียจลวงให้ไว้กับเรานั่นคือ
มันเป็นกับดักที่ทำลายตัวเราเอง
.
.
ความกรุณาพิฆาตความขี้เกียจลวง
การต่อสู้กับความขี้เกียจลวงไม่อาจหยุด
เพียงแค่ส่งเสริมให้คนทำงานประจำ
แต่เวลาผ่อนคลายสักเล็กน้อย
และหยุดพักให้มากขึ้น
.
การบีบบังคับให้ต้องทำงานหนักคือ
องค์ประกอบสำคัญของความขี้เกียจลวง
และการต่อต้านมันเป็นสิ่งสำคัญ
.
วิธีแก้ไขคือความกรุณาอย่างไม่มีสิ้นสุด
ถ้าเราต้องการรื้อถอนความขี้เกียจลวง
และปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ
.
เราต้องตั้งคำถามต่อการตัดสินทั้งหมด
สำหรับ “ความขี้เกียจ” ที่สังคมสอนให้เราทำ
รวมถึงความคิดที่เราจะละทิ้งได้ยาก
.
ถ้าคุณมีสิทธิ์จะได้รับช่วงเวลาสำหรับพัก
มีสิทธิ์เป็นคนไม่สมบูรณ์แบบ ขี้เกียจ
และเฉื่อยชา รวมถึงคนที่เป็นซึมเศร้า
และคนที่ติดยาเสพติดด้วย
.
ถ้าชีวิตคนนั้นมีคุณค่าไม่ว่าคุณจะเป็น
คนโปรดักทีฟมากน้อยแค่ไหน
เช่นนั้นชีวิตของมนุษย์คนอื่นๆ
ก็มีคุณค่าเหมือนกัน
.
การเรียนรู้เพื่อต่อต้านความขี้เกียจลวง
ต้องใช้ความพยายามจากภายใน
อย่างต่อเนื่อง ขอให้ฝึกความกรุณา
ต่อตัวเองกับความอ่อนโยนอย่างสม่ำเสมอ
และขอให้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้น
อย่างปุบปับ
.
เส้นทางข้างหน้าไม่ได้เป็นเส้นตรง
และไม่มีถ้วยรางวัลเพื่อคนที่ต่อสู้
ได้เก่งที่สุดให้พิชิต..คุณยังต้องเรียนรู้ต่อไป
คุณจะไม่มีวันสมบูรณ์แบบ ซึ่งก็ไม่เป็นไร
คุณเป็นตัวคุณเองอย่างนี้ก็ดีแล้ว
และคนอื่นๆก็เช่นกัน