ขายดี เพราะขึ้นราคา เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับ เรื่องการตั้งราคา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการทำธุรกิจแต่หลายคนมักมองข้ามไป ทำให้ขายเท่าไหร่ก็ไม่มีกำไร หรือยิ่งขายยิ่งขาดทุนนั้นเอง หนังสือเล่มนี้จะพาไปพบกับเคล็ดลับ หรืออาจจะไม่ใช่เคล็ดลับก็ได้นะครับ เพียงแต่ว่าพวกเรามักจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป.
บทนำ ทำไมถึงควรขึ้นราคา
บทที่ 1 สิ่งแรกที่ต้องทำคือขึ้นราคา
บทที่ 2 เมื่อขึ้นราคากลุ่มลูกค้าจะเปลี่ยนไป
บทที่ 3 ยิ่งเพิ่มคุณค่าก็ยิ่งเพิ่มราคา
บทที่ 4 ทำไมพอขึ้นราคาแล้วยิ่งมีคนซื้อเพิ่ม
บทที่ 5 การนำเสนอสำหรับกลยุทธ์ขายแพง
บทที่ 6 เป้าหมายของการขึ้นราคาคือเวลาว่าง
ในบทนำนั้นเขาจะกล่าวถึงว่า การขึ้นราคา เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องทางธุรกิจเลย เพราะว่าถ้าคุณทำธุรกิจไปแล้ว แต่ไม่มีกำไรนั่นอาจจะเป็นเพราะ คุณตั้งราคาต่ำเกินไป
การขึ้นราคาทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น
แถมยังมีวิธีการแค่ 4 ขั้นตอน
1 ขึ้นราคา
2 เปลี่ยนฐานลูกค้า
3 ใส่ข้อมูล
4 ขยายธุรกิจ
ฐานลูกค้าของคุณจะเปลี่ยนไป จากลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับราคา กลายมาเป็นลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ นี่คือฐานลูกค้าชั้นเยี่ยมที่ทุกธุรกิจมองหากัน
- การขายสินค้าราคาถูก
อาจกลายเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผล
สำหรับบริษัทขนาดใหญ่
แต่บริษัทขนาดกลางและเล็ก
ไม่ควรทำอย่างยิ่ง - หลังจากใช้กลยุทธ์ขายถูก
จนสามารถผูกขาดตลาดได้แล้ว
บริษัทขนาดใหญ่ก็มักขึ้นราคาสินค้า
เพื่อทำกำไรมากขึ้นเช่นกัน - ตัวอย่างสินค้าอย่าง Uniqlo
ทำไมถึงใช้กลยุทธ์ขายถูกได้
ก็เพราะเขารอที่จะไปขึ้นราคา
สินค้าบางตัวในอนาคตนั่นเอง - เป้าหมายของบริษัทขนาดใหญ่
คือการบีบให้คนอื่นถอนตัวจากตลาด
ด้วยกลยุทธ์ขายในราคาถูก
จากนั้นตัวเองค่อยขึ้นราคาในภายหลัง - ผู้บริโภคไม่ได้ชอบแต่ของถูกเสมอไป
ในบางกรณีถ้าไม่ใช่ของที่ดีจริง
ก็จะไม่ซื้อเป็นอันขาด
คุณอาจคิดว่าผู้บริโภคแบบนี้
มีจำนวนจำกัดแค่กลุ่มคนที่มีรายได้สูง
ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงแล้วคนธรรมดาทั่วไป
ที่พร้อมจะซื้อของแพงก็มีจำนวนไม่น้อยเลย - นอกจากคนที่มีรายได้สูงแล้ว
คนธรรมดาทั่วไปเองก็พร้อมจ่ายแพงขึ้น
เพื่อแลกกับของที่มีคุณค่า
หรือประสบการณ์ล้ำค่าเช่นกัน
ความคิดที่ว่าขายถูกเป็นการทำเพื่อลูกค้า เป็นแค่การคิดไปเองเท่านั้น
เลือกหัวข้ออ่าน
บทที่ 1 สิ่งแรกที่ต้องทำ
คือการขึ้นราคา
- ถ้ามั่นใจว่าสินค้าหรือบริการ
ของคุณดีจริง ๆ ทำไมถึงขายถูก ๆ - ทำไมถึงขายสินค้าและบริการที่ดี
ในราคาที่ต้องการไม่ได้ล่ะ - การขายถูกนั้นนอกจากจะทำให้
กำไรของสินค้าต่อชิ้นลดลงแล้ว
ยังทำให้ต้นทุนด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้กำไรโดยรวมลดลงไปอีก - งานที่แท้จริงของผู้บริหาร
คือการสร้างอนาคตให้กับบริษัท
การขายสินค้าโดยขึ้นกับราคา
เป็นการบังคับให้ผู้บริหาร
ไม่สามารถออกจากหน้างานได้
จำเป็นต้องออกตลาดและ
เกาะติดกับเรื่องราคาตลอดเวลา - ถ้ากำไรต่อชิ้นเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
แค่ขายสินค้าให้ได้ครึ่งหนึ่ง
ของยอดขายที่เคยขายได้
ก็ได้กำไรเท่าเดิมแล้ว - บริษัทส่วนใหญ่มากคิด
แต่จะเพิ่มจำนวนลูกค้า
แต่ยังมีวิธีที่ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง
ถ้าขึ้นราคาจำนวนลูกค้าจะลดลง
จำนวนของที่ขายลดลง สต๊อกลดลง
แต่กำไรยังเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นได้ - ราคาขายยังส่งผลต่อความมั่นใจ
ความภาคภูมิใจของคนทำงาน
เพราะถ้างานมีค่าจริง
มันก็ควรมีราคาที่สมน้ำสมเนื้อกัน - ไม่ว่าจะเป็น b2b และ b2c
ก็ใช้กลยุทธ์ราคาแพงได้ - การขึ้นราคาไม่ใช่การสักแต่เอากำไรเพิ่ม
แต่เป็นการขายในราคาที่เหมาะสม
ที่คู่ควรกับคุณค่าต่างหาก - เป้าหมายของการขึ้นราคา
ไม่ใช่การเอาเปรียบผู้บริโภค
แต่เป็นการขายในราคาที่เหมาะสม
กับสินค้าและบริการนั้น - การขายถูกไม่ต่างอะไรกับการบอกว่า
สินค้าและบริการเป็นของคุณภาพต่ำ
การยืนยันจะขายแพงต่างหาก
ที่เป็นการรับประกันคุณภาพให้กับลูกค้า - คนที่ไม่ซื้อเพราะราคาแพง
เป็นลูกค้าที่ให้ความสำคัญ
กับราคามากกว่าคุณภาพ
คนกลุ่มนี้ไม่มีความภักดีในแบรนด์
มากพอจะสนับสนุนบริษัท
ของคุณในระยะยาวได้ - การขึ้นราคาจากเดิมแล้ว
แต่ปรับเพิ่มปริมาณหรือ
เพิ่มบริการไม่นับว่าเป็นการขึ้นราคา
ไม่ใช่กลยุทธ์การขายของแพง - หลักการเบื้องต้นคือ
ให้ขึ้นราคาโดยยังคงคุณภาพ
ของสินค้าและบริการเอาไว้
เหมือนเดิมทุกอย่าง
สิ่งที่จะปรับเปลี่ยนมีแค่
วิธีอธิบายหรือวิธีนำเสนอ
สินค้าและบริการเท่านั้น
บทที่ 2 เมื่อขึ้นราคา
กลุ่มลูกค้าจะเปลี่ยนไป
- ผู้บริโภค 4 ประเภท
ประเภทที่ 1 ผู้บริโภคที่ซื้อเพราะถูก
ประเภทที่ 2 ผู้บริโภคที่ยอมซื้อแพง
เพราะต้องการความเชื่อมั่น
ประเภทที่ 3 ผู้บริโภคที่ไม่ได้ซื้อของ
แต่ซื้อประสบการณ์
ประเภทที่ 4 ผู้บริโภคที่ซื้อความเป็นตัวเอง - ในความเป็นจริงแล้วไม่ค่อยมีคนที่
เป็นลักษณะผู้บริโภคเพียงประเภทเดียว
ส่วนใหญ่จะผสมกันหลายประเภทใน 1 คน
จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทที่ต้องศึกษาว่า
ควรทำอย่างไรจึงจะกระตุ้นให้
ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อได้ - ผู้บริโภค 1 คนเป็นได้ทั้ง
ลูกค้าตลาดบนและลูกค้าตลาดล่าง - ขายของได้เพราะความรู้สึกที่ว่า
อยากลองกินอะไรแบบนี้ดูสักครั้ง - ยอดนักขายมักจะคิดเสมอว่า
เราไม่ได้กำลังดึงเงินจากกระเป๋าเงิน
แต่เรากำลังดึงเงินจากสมองเขา
ถ้าเราสามารถนำเสนอให้สินค้าแพง
ดูสมเหตุสมผล สื่อสารไปที่สมอง
ของลูกค้าได้โดยตรงว่า
สินค้านี้มีคุณค่าอย่างไร
คุ้มค่าแค่ไหน ลูกค้าก็พร้อม
จะหยิบเงินออกมาซื้อ - ลูกค้าที่ปกติซื้อของถูก
ก็สามารถกลายเป็นลูกค้า
ที่ซื้อของแพงได้ ทุกอย่างขึ้นกับว่า
บริษัทจะใช้วิธีไหนในการเข้าถึงลูกค้า - บริษัททั่วไปจะหาของมาขาย
บริษัทที่ดีจะหาทางทำกำไร
แต่บริษัทที่สุดยอดจะหาทาง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
ของลูกค้าให้กลายเป็นลูกค้าที่
ยอมจ่ายเงินซื้อสินค้า
ราคาแพงที่ได้กำไรสูงได้ - การตั้งราคาไม่จำเป็นต้องมีตรรกะ
- ราคาเป็นสิ่งที่ผู้ขาย
สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ - ราคาควรสะท้อนคุณค่า
ของสินค้าและบริการอย่างแท้จริง - คุณค่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
ประเมินได้จากแค่สิ่งที่ตาเห็น - ราคาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้
ตามสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ - การเอาปากการาคา 100 บาท
ไปขายในที่ที่มีความจำเป็นต้องใช้
ก็สามารถขายในราคา 1000 บาทได้ - น้ำอัดลมในร้านสะดวกซื้อราคา
ย่อมถูกกว่าร้านอัดลมเสนอขาย
ให้บริการในร้านอาหาร - เคล็ดลับของกลยุทธ์ขายแพง
อยู่ที่การทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าของที่ขาย
มีคุณค่าทัดเทียมกับราคาที่ตั้งไว้ให้ได้ - คุณจะขายของได้ง่ายขึ้น
ถ้าทำให้ลูกค้ารู้สึกชนะ
ทำให้เขารู้สึกได้เปรียบ
ในการซื้อสินค้านั้นจากคุณ - ปัจจัยในการกำหนดราคา
1 ต้นทุนรวม
2 ราคาเปรียบเทียบ
3 คุณค่าของสินค้าและบริการ - ต้นทุนการผลิตเป็นเพียง
หนึ่งในปัจจัยที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน - ราคาที่เหมาะสมคือ
สิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ - ราคาที่เหมาะสมคือการคำนวณ
ต้นทุนรวมออกมาก่อน
แล้วดูว่าควรขายที่ราคาเท่าไหร่ - การขายโดยกำหนดราคา
โดยใช้ราคาเปรียบเทียบ
เป็นการขายโดยคำนึงถึงคู่แข่ง
และสภาพตลาดโดยรวม - ถ้าไม่อยากทำธุรกิจให้เจ๊ง
ห้ามดูราคาเปรียบเทียบ
แล้วกลับมาลดราคาสินค้าของตัวเอง - ศึกษาราคาเปรียบเทียบ
เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่า
จะวางผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
ไว้ตรงตำแหน่งไหนของตลาด - ผลิตสินค้าที่มีระดับสูงกว่า
สินค้าของบริษัทอื่นเล็กน้อย
เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ต้องการ
อะไรที่แตกต่างจากที่อื่น
บทที่ 3 ยิ่งเพิ่มคุณค่ายิ่งเพิ่มราคา
- สินค้าบางชิ้นไม่ได้มี
ความแตกต่างจากสินค้าอื่นเลย
แต่พอเพิ่มคุณค่าซึ่งก็คือ
ข้อมูลที่ว่ามันดีอย่างไร
มีที่มาที่ไปอย่างไร มีเรื่องราวอะไรบ้าง
มันก็อาจกลายเป็นของที่
ต้องทะนุถนอม กลายเป็นสิ่งของ
ที่มีราคาแพงขึ้นมาทันที - สำหรับคนที่ไม่รู้คุณค่า
สินค้าก็จะดูเป็นของที่หาได้ทั่วไป
แต่สำหรับคนที่รู้คุณค่าแล้ว
บางทีก็ถึงขั้นรู้สึกว่าสิ่งนั้น
มันประเมินราคาไม่ได้เลยทีเดียว - ร้านอาหารบางร้านเคยขายดีในอีกรุ่นนึง
พอสืบทอดร้านมาอีกรุ่นถัดมา
ขาดการบอกเล่าเรื่องราว
ให้กับลูกค้ากลุ่มใหม่รับรู้
นานวันเข้าลูกค้าเดิมก็เริ่มลดลง
และลูกค้าใหม่ก็หายไปไม่มีเพิ่มขึ้น
นั่นเป็นเพราะว่าเจ้าของร้านคิดว่า
ร้านตัวเองดีแล้วจึงไม่ได้คิดถึง
เรื่องการนำเสนอเรื่องราว
เพิ่มให้กับลูกค้าใหม่เข้าใจว่า
ร้านมีที่มาที่ไปอย่างไร - หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร้านค้าหลายร้าน
ใกล้เจ๊งเต็มทีก็เพราะไม่ยอมบอกเล่า
ข้อมูลเพื่อสร้างคุณค่าให้กับร้านตัวเอง - หนึ่งในภารกิจของร้านอาหาร
นอกจากการเสิร์ฟอาหารอร่อย ๆ แล้ว
ร้านยังต้องรู้จักบอกเล่าข้อมูล
ที่เพิ่มคุณค่าในสายตาของลูกค้า
เช่น ประวัติของร้าน วิธีการปรุงอาหาร
บอกเล่าถึงคุณภาพของวัตถุดิบ - คุณค่าสามัญกับคุณค่าเฉพาะตัว
- คุณค่าสามัญคือลักษณะหรือคุณสมบัติที่
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคมว่า
มีคุณค่าหรือมองว่าเป็นเรื่องที่ดี - ส่วนใหญ่แล้วคุณค่าสามัญ
ไม่มีต้นทุนการผลิตแต่กลับช่วยให้
ขายได้ในราคาที่สูงขึ้น
คุณค่าสามัญ 14 อย่าง
- งานแฮนด์เมด
- ของที่มีน้อย หายาก ไม่มีคนอื่นทำ
หรือต้องใช้เวลานาน - มีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สร้างสรรค์
- มีประวัติความเป็นมายาวนาน
- เป็นสิ่งที่ชนชั้นสูง ดาราใช้
บุคคลในประวัติศาสตร์เลือกใช้ - ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ต้องจอง
- เป็นของที่ต้องเสาะแสวงหา
มาด้วยความยากลำบาก - มีการจดสิทธิบัตร
- มีความลับอยู่เบื้องหลัง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ - มีหลักฐานสนับสนุนหรือได้รับ
การยอมรับจากองค์กรวิจัยระดับโลก - ทนทานใช้งานได้นานปี
- ผ่านการทดสอบมานับครั้งไม่ถ้วน
- มีการรับประกันที่ยอดเยี่ยม
- เป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้
คุณค่าเฉพาะตัว คือ คุณค่าที่ได้รับจากสินค้าและบริการนั้น ซึ่งลูกค้าแต่ละคน อาจจะได้รับคุณค่าที่แตกต่างกันออกไป นั่นแปลว่า คุณค่าเฉพาะตัวของสินค้า ขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละคนนั่นเอง
- ถ้าเราอยากหาจุดขายที่มาจาก
คุณค่าเฉพาะตัว เราต้องรู้ให้ได้
แน่ชัดก่อนว่า แท้จริงแล้ว
ลูกค้าซื้ออะไรกันแน่ - คุณค่าเฉพาะตัว
มีอิทธิพลต่อลูกค้าทุกระดับ - สิ่งที่ควรทำคือการหาคำตอบให้ได้ว่า
คุณต้องการนำเสนอสินค้าหรือบริการ
ให้ลูกค้าระดับไหน แล้วใช้คุณค่าเฉพาะตัว
มาช่วยเพื่อให้สามารถเรียกราคา
ที่สูงที่สุดสำหรับตลาดระดับนั้นได้ - ถ้าคุณรู้จักนำคุณค่าเฉพาะตัว
มาใช้ให้เป็นประโยชน์ การขายแพง
ก็เป็นเรื่องง่ายนิดเดียว - เราต้องบอกเล่าข้อมูล
เพื่อเพิ่มคุณค่าลงไปในตัวสินค้า
แค่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงคุณค่าได้
จะขายแพงอย่างไรก็มีคนซื้อ - ราคาสินค้าและบริการ
ถูกกำหนดโดยข้อมูลเรื่องคุณค่า
ซึ่งหมายรวมถึงคุณค่าสามัญและ
คุณค่าเฉพาะตัวที่เพิ่มเข้าไป
ในสินค้าและบริการ - ต่อให้สร้างผลงานออกมาได้ดีแค่ไหน
ถ้าไม่สามารถบอกให้คนอื่นรับรู้
ถึงคุณค่า ก็เท่ากับ เป็นงานที่ไม่มีคุณค่า
บทที่ 4 ทำไมยิ่งขึ้นราคา
ยิ่งมีคนซื้อเพิ่มขึ้น
- คำถามที่มีคนถามมากที่สุดคือ
ถ้าขึ้นราคาแล้วจะทำอย่างไรกับลูกค้าเก่า - วิธีที่ง่ายและเหมาะสมที่สุดคือ
อย่าเพิ่งขึ้นราคากับลูกค้ากลุ่มนี้ - การขึ้นราคา ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยน
วิธีบอกเล่านำไปใช้กับลูกค้าใหม่
เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพดีที่สุด - วิธีการขึ้นราคากับลูกค้าเก่าคือ
การแจ้งล่วงหน้าบอกให้รู้ก่อนว่า
จะขึ้นราคาโดย ทั่วไปมักใช้
เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 ปี
และระหว่างนั้นก็จะคอยแจ้งเตือน
ว่าจะขึ้นราคาแล้วนะ
เตรียมตัวแล้วหรือยัง (B2ฺB) - ในกรณีที่ลูกค้าไม่ยอมให้ขึ้นราคา
คุณควรพิจารณาเลิกทำธุรกิจ
กับลูกค้านั้นไปได้เลย - ธุรกิจทุกประเภทสามารถขึ้นราคา
20-30 เปอร์เซ็นต์ได้ทุกเมื่อ
โดยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใด ๆ
ขอแค่ปรับวิธีบอกเล่าข้อมูลเท่านั้น - คนที่ทำธุรกิจแหล่งท่องเที่ยว
ควรจำไว้ว่าลูกค้าที่มาเที่ยว
คือคนที่ยอมควักกระเป๋า
จ่ายให้กับประสบการณ์ใหม่ ๆ
คนกลุ่มนี้ไม่ต้องการของธรรมดา
แต่ต้องการอะไรที่พิเศษไปกว่าปกติ - สิ่งที่ทำให้ขึ้นราคาไม่ได้
ไม่ใช่ลูกค้า แต่คือความรู้สึก
ของตัวผู้บริหารหรือพนักงานเอง - หากขึ้นราคารวดเดียวเยอะ ๆ ไม่ได้
ลองปรับขึ้นซัก 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์
ของราคาเดิมจากนั้นค่อย ๆ ปรับขึ้น
จนอยู่ที่ 2-3 เท่าของราคาเดิม - กลยุทธ์ขายแพงด้วยการแตกไลน์สินค้า
ใช้วิธีการปรับสินค้าปัจจุบันให้เป็น
ไลน์สินค้าระดับล่างแล้วสร้างไลน์สินค้า
ระดับกลางและระดับบนที่ขายแพงขึ้น - ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดในการขึ้นราคา
มันทำให้คุณเหนื่อยน้อยลงทันที - ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาของสินค้า
และบริการมากที่สุดคือคุณค่าของสินค้า
ไม่ใช่ต้นทุนรวมหรือราคาเปรียบเทียบ - มีคนมากมายคิดว่า ของแพงคือของดี
บทที่ 5 เทคนิคการนำเสนอ
สำหรับกลยุทธ์ขายแพง
- พิจารณาอย่างจริงจังว่า
อะไรคือคุณค่าเฉพาะตัวที่ลูกค้า
ได้รับจากสินค้าและบริการของคุณ - การขายสินค้าราคาถูกแน่นอนว่า
มันเป็นราคาที่ลูกค้าพึงพอใจ
แต่นอกจากไม่ทำกำไรแล้ว
บริษัทยังไม่มีอนาคตอีกด้วย
บริษัทที่ทำธุรกิจเหมือนการทำกุศลนี้
มีอยู่เยอะจนน่าตกใจ - ซื้อ 1 คน ไม่ซื้อ 9 คน ถือ
เป็นความสำเร็จครั้งใหญ่
ของกลยุทธ์ขายแพง - ที่ผ่านมาคุณปล่อยให้เงิน
ระดับหลายล้านหลุดมือไปหรือเปล่า - ธุรกิจที่ปรึกษาเป็นธุรกิจที่
ไม่มีต้นทุนการผลิต จึงกำหนดราคา
โดยไม่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายเลย
ทำให้หลายคนมักพลาด
กำหนดราคาขั้นต่ำที่ไม่ได้กำไรเอาไว้ - ถามตัวเองว่าพอใจที่ราคาเท่าไหร่และ
ถ้าลูกค้าขอลดราคาจะลดให้ได้แค่ไหน - เสนอราคาด้วยการตั้งคำถาม
สิ่งสำคัญที่สุด คือการตั้งคำถามปิดท้าย
เช่นสินค้านี้ราคาจุดนี้ คิดว่าอย่างไรครับ
ราคานี้ตกลงไหมครับ ไม่มีปัญหาใช่ไหมครับ
จะเริ่มเมื่อไหร่ดีครับ การประชุมครั้งแรก
เดือนหน้าหรืออีกเดือนถัดไปดีครับ - การตั้งคำถามปิดท้าย
ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น - ถ้าลูกค้ามีปัญหากับราคาที่เสนอไป
ให้ถามลูกค้าว่าราคาที่พอใจ
อยู่ที่เท่าไหร่ แล้วค่อยต่อรองกัน - ในราคาที่ลูกค้าต้องการ
ถ้าเกิดต่ำกว่าที่เรารับได้
ก็คงต้องปฏิเสธว่าราคานั้น
เราคงไม่ไหวครับ
ก่อนจะต่อรองขอเพิ่มราคา
โดยพูดถึงสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ
จากสินค้าหรือบริการของคุณ - ถ้าคุณเลือกกลยุทธ์ขายแพง
คุณจะต้องเจรจาต่อรองมากขึ้น
แต่ถ้าทำบ่อยๆคุณจะชำนาญ
และรู้สึกสนุกไปกับมัน - ถ้าคุณคิดว่าขายของแพงไม่ได้ในวงการนี้
หรือสินค้าแบบเราใคร ๆ ก็ขายกันราคานี้
ให้ใช้เคล็ดลับนี้ คือเพิ่มอะไรบางอย่าง
ที่เป็นรูปธรรมเข้าไปในสินค้าและบริการ
และใช้สิ่งนั้นในการปฏิวัติวงการ - สิ่งที่สามารถเพิ่มได้คือ
คน แบรนด์ องค์กร หรือสถานที่
ธุรกิจแบบ B2B ก็ใช้กลยุทธ์ขายแพงได้ ด้วย 4 ขั้นตอนนี้
- เพิ่มความเชื่อมั่นของบริษัทคู่ค้า
- ชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้จะช่วยให้
บริษัทคู่ค้าขึ้นราคาได้ด้วยเช่นกัน - เปลี่ยนไปมองหาคู่ค้าที่เน้นขายสินค้า
ให้ลูกค้าตลาดบนที่มีกำลังซื้อสูง - นำเสนอแต่สินค้าและบริการ
ระดับบนให้กับลูกค้ารายใหม่
บทที่ 6 เป้าหมายของการขึ้นราคา
คือการมีเวลาว่างเพิ่มขึ้น
- จำไว้ว่าเป้าหมายสูงสุดของคนทำธุรกิจ
ควรเป็นการสร้างธุรกิจที่
ไม่ต้องแข่งขันขึ้นมาให้ได้ - ยอดขายและกำไรที่เพิ่มขึ้น
จากการขึ้นราคาจะส่งผลให้
ทัศนคติของทางบริษัทเปลี่ยนไป - เมื่อสามารถขายสินค้าและบริการ
ได้ในราคาสูงกว่าที่คิดและได้เห็นว่า
มันตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภคได้อย่างไร
ผู้บริหารและพนักงานทุกคน
จะมั่นใจในตัวเองมากขึ้นจนนำไปสู่
การลงมือทำอะไรใหม่ ๆ ได้ในที่สุด - ประโยชน์สูงสุดของการขึ้นราคา
คือมันทำให้มีเวลาว่างเพิ่มขึ้น
จึงเท่ากับมีโอกาสในการวางแผน
และเตรียมตัวเอาชนะบริษัทอื่น - ใช้ความพยายามในวันนี้
เพื่อวันนี้และเพื่ออนาคต - ผู้บริหารควรใช้เวลาไปใน
การวางแผนวางระบบ
เพื่อรายได้ในอนาคต - การขยายธุรกิจคือการวางแผนธุรกิจ
โดยคาดหวังผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นใน
อีก 3 ปี 5 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้า - อะไรคือสิ่งที่ไม่จำเป็นในตอนนี้
แต่จะสร้างความแตกต่างอย่างมาก
ให้กับธุรกิจที่คุณทำในอนาคต
นั่นคือสิ่งที่คุณควรทำ - เมื่อเราคิดถึงอนาคต
เราสามารถทำทุกอย่างได้โดยตามใจชอบ
โดยไม่ต้องสนใจลูกค้าหรือบริษัทอื่น
เพราะยังไม่มีใครทำ ไม่มีคู่แข่ง ไม่กดดัน
อะไรคือสิ่งที่จะสร้างความแตกต่างอย่างมากในอนาคตของบริษัทคุณ

29 เคล็ดลับการกำหนดราคา
ทางจิตวิทยาและกลยุทธ์
ที่ใช้เพื่อให้คนซื้อมากขึ้น
รับฟรีเพียง add line ที่นี่ครับ
https://lin.ee/1lussTu