Search
Close this search box.

6 ขั้นตอนเริ่มต้น Write สู่การเป็นมือใหม่ หัดเขียน Content

6 ขั้นตอนเริ่มต้น Write
สู่การเป็นมือใหม่ หัดเขียน Content

ไม่ว่าจะเมื่อก่อนหรือตอนนี้ เราก็ยังคงมักได้ยินเสมอเกี่ยวกับความเชื่อที่ว่า “นักเขียนไส้แห้ง” แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นเมื่อก่อนหรือตอนนี้ “นักเขียนที่รู้วิธีหาเงิน” ไม่เคยไส้แห้ง แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ยิ่งกับปัจจุบันที่เป็นยุคของ “Content Marketing” ยิ่งเพิ่มโอกาสให้กับคนที่ “เขียนเป็น” ได้มีช่องทางทำมาหากิน หารายเสริม รายได้หลักได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้วิธีเขียน สนุกไปกับการเขียน และหารายได้จากการเขียนได้เสมอ ขอเพียงแค่มีความตั้งใจและพยายามจริงๆ เท่านั้นก็พอ และถ้าหากว่าคุณที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ ตัดสินใจแล้วว่าอยากจะลองเรียนรู้การเขียนดู ก็สามารถอ่านต่อไปได้เลยครับ เพราะนี้คือ 6 ขั้นตอนง่ายๆ ของการเริ่มต้นเขียน Content สำหรับคนที่เขียนไม่เป็นเลยมาก่อน

  1. เลือกหนังสือเล่มที่ชอบ อ่านอีกสักรอบเพื่อทำความเข้าใจ

วิธีการแรกสุดของการ “เริ่มต้นหัดเขียน” คือ “การเลียนแบบ” ครับ และการเลียนแบบที่ดีที่สุด ก็คือการเลียนแบบในสิ่งที่เราชอบที่สุด นั่นเองจึงทำให้คำแนะนำแรกของการเริ่มต้นหัดเขียน เป็นการย้อนกลับไปอ่านหนังสือที่ตัวเราชอบมากที่สุดอีกครั้ง ที่ผ่านมาเราอาจจะอ่านเพื่อให้ได้รู้เรื่องราว อ่านเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน แต่รอบนี้เราจะอ่านเพื่อ “สังเกต เก็บข้อมูล และดูวิธีการเขียนของเขา” ถือเป็นหัวใจสำคัญมากเลยนะครับ เพราะเมื่อเราอ่านและจับสังเกตได้ว่าเขามีวิธีการเขียนอย่างไร เขาเลือกใช้คำแบบไหน เขาเริ่มต้นอย่างไร เขาลงท้ายอย่างไร เราก็เอาแพทเทิร์นนั้นนั่นแหละ มาเป็นไกด์สำหรับการเริ่มต้นเขียนของเรา

  1. ถามตัวเองให้ดี ว่าสิ่งที่อยากเขียนคืออะไร

หลังจากเราได้กลับไปอ่านหนังสือที่ตัวเองชอบแล้ว พอจับสังเกตวิธีการใช้คำ วิธีการอธิบาย พรรณนา เรียบร้อยแล้ว ก็ย้อนกลับมาถามตัวเองดูครับว่า เราจะเขียนอะไรดี? ข้อนี้ถือว่าสำคัญมากๆ เพราะมันจะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการเริ่มต้นเขียนของเรา เช่น ถ้าเราอยากเขียนเรื่องสั้น เราก็ต้องมีโครงเรื่อง มีตัวละคร มีวิธีการเล่าเรื่อง ในทำเดียวกับเรื่องสั้นที่เราเคยอ่านๆ มา แต่ถ้าเรายากเขียนบทความ เราก็ต้องมีประเด็นที่จะเขียน มีคำนำ มีเนื้อเรื่อง มีสรุป มีองค์ประกอบประมาณนี้ เป็นเกณฑ์นำทางในการเริ่มต้นเขียน หรือถ้าเราอยากเขียนกลอน เราก็ต้องเข้าใจสัมผัส เข้าใจไวยากรณ์ของกลอนแต่ละชนิดก่อน ฯลฯ นั่นเองจึงเป็นที่มาว่าทำให้ถึงต้องให้ถามตัวเองให้ชัดว่าอยากเขียนอะไร? ทั้งนี้ ในเรื่องของการอยากเขียนอะไร ยังสามารถถามไปถึงว่า เราอยากเขียนแนวไหนได้ด้วย บทความให้กำลังใจ บทความสุขภาพ บทความสารคดี เรื่องสั้นสยองขวัญ เรื่องสั้นตลกขบขัน เรื่องสั้นสร้างแรงบันดาลใจ หรือจะเป็นนิยายสอบสวน รักโรแมนติก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดจุดเริ่มต้นของเราให้ไม่เคว้งคว้าง ให้มีโฟกัส และให้เราตั้งใจอยู่กับหัวข้อนั้นเพียงแค่หัวข้อเดียว ซึ่งจะทำให้เราสม่ำเสมอ มีวินัย ในการฝึกเขียน และเห็นพัฒนาการของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว กว่าการที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ วันนี้เขียนอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้เขียนอย่างหนึ่ง

  1. หาหัวข้อที่จะเขียน หาเรื่องที่จะเล่า

เมื่อรู้แล้วว่าจะเขียนอะไร แนวไหน ลำดับต่อมาก็คือ “หาประเด็น หาหัวข้อ” ที่เราจะเขียน วิธีการก็ไม่อยากครับ ถ้าเรานึกอะไรไม่ออกเลย ก็ต้องบังคับตัวเองดู ด้วยการโยนโจทย์ที่ได้จากสิ่งของรอบตัว เช่น วันนี้เราออกไปขึ้นรถเมล์ไปทำงาน เราก็ตั้งโจทย์เราเลยว่า จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องการนั่งรถเมล์ไปทำงานในแนวทางสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งก็สามารถเขียนได้ไม่อยากครับ คร่าวๆ ก็อาจพูดถึงว่า รถเมล์ก็เหมือนกับโอกาสในชีวิต ที่มันมีช่วงเวลาของมัน บางทีมันก็มาหาเราช้า มาทีก็มาหาเราเร็ว และบางโอกาสก็ใช่ บางโอกาสก็ไม่ใช่สำหรับเรา เหมือนกับสายของรถเมล์นั่นแหละ ไม่ใช่ทุกสายที่พาเราไปถึงจุดหมายได้ ดังนั้น ต้องตั้งใจรอ ตั้งตารอคอยให้ดี เมื่อโอกาสที่ใช่มาถึงเมื่อไร ก็ต้องรีบคว้าเอาไว้ เพราะถ้าพลาดไป ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรเราจะได้พบมันอีก และถึงพบมัน มันก็อาจสายไปแล้วก็ได้ ฯลฯ ส่วนถ้าเราอยากเขียนเรื่องสั้น หรือนิยาย ก็สามารถเอาโจทย์เดียวกันนี้ไปเขียนเป็น Plot เรื่องได้ครับ อาจเป็นการพบรักกันของนักศึกษาสาววัยรุ่น กับหนุ่มออฟฟิศซินโดรม ที่ป้ายรถเมล์ก็ได้ ฯลฯ หัวใจสำคัญอยู่ที่เราต้อง “กำหนดโจทย์ในการเขียนให้ตัวเราเอง” เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะไม่ยอมเขียน ซึ่งนอกจากการกำหนดโจทย์จากสิ่งรอบตัวแล้ว เรายังสามารถหาหัวข้อในการเขียนแบบสนุกๆ แกมบังคับตัวเองได้อีกหลายวิธี อาทิ จากชื่อเพลงแรกที่เราฟังใน JOOK จากชื่อหนังเรื่องล่าสุดที่เราดู หรือจะเปิดหนังสือที่เราชอบวันละครั้งแบบสุ่ม ประโยคแรกเขาพูดถึงอะไร เราก็เอาอันนั้นแหละ เป็นโจทย์ ฯลฯ วิธีการเหล่านี้จะฝึกให้เราได้คิด อย่างท้าทาย และเขียนออกมาได้ในที่สุด แม้จะไม่ได้ดีที่สุดในครั้งแรก แต่จะค่อยๆ พัฒนาได้เรื่อยๆ

  1. เขียนแล้วอ่านออกเสียง ฟังสำเนียงสิ่งที่เราได้ยิน

ปัญหาข้อหนึ่งของมือใหม่ที่เริ่มหัดเขียน คือไม่ค่อยมั่นใจว่าสิ่งที่ตัวเองเขียนนั้นดีหรือไม่ โอเคหรือเปล่า ซึ่งเอาจริงๆ มันเป็นคำตอบที่ยากมากเลยนะครับ ว่ามันจะดีหรือเปล่า เพราะขนาดนักเขียนมือรางวัล เขายังทำได้เพียงแค่เขียนให้คนส่วนใหญ่ชอบได้เท่านั้น แต่ก็ยังมีคนอีกหลายส่วนหรืออาจจะมากกว่า ที่ไม่ได้ชอบสิ่งที่เขาเขียน เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า มันเป็นเรื่องยากที่เราจะเขียนได้ถูกใจทุกคน ดังนั้น อันดับแรกคือเราต้องเขียนให้ตัวเราเองพอใจก่อนครับ เพราะถ้าขนาดเรายังรู้สึกไม่พอใจ แล้วคนอื่นจะพอใจในงานเขียนเราได้อย่างไร จริงไหมครับ ซึ่งวิธีการก็คือ ให้เราเขียนไปตามความรู้สึก เขียนแบบเพื่อสื่อสารข้อความให้เข้าใจ อย่าเพิ่งไปกังวลกับสำนวนหรือความสวยงามของภาษามากนัก เราคิดอย่างไร ก็เขียนอย่างนั้น เราพูดอย่างไร ก็เขียนอย่างนั้นไปก่อน แล้วพอเขียนจบ ทีละย่อหน้า ที่ละประโยค ให้เราอ่านออกเสียง และฟังสิ่งที่เราเขียนไป เราจะเริ่มจับได้ว่า ตรงไหนติดขัด ตรงไหนไม่รื่นไหล ตรงไหนสะดุด และก็ค่อยๆ เกลา แต่งเติมไปทีละนิดๆ การทำแบบนี้จะทำให้เราได้งานที่เราพอใจมากที่สุด และนั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้วอันดับแรก ก่อนที่จะมีใครมาตัดสินเราว่างานเราดีแค่ไหน

  1. แบ่งปันงานเขียนออกไป อย่าเก็บเอาไว้อ่านคนเดียวเด็ดขาด

ความกลัวคำวิจารณ์ ความกลัวไม่มีคนชอบ ความกลัวไม่มีคนกดไลค์ ความกลัวว่าจะถูกเม้าท์ว่า มึงทำห่าอะไรวะ ฯลฯ คือสิ่งที่ฆ่า “ความอยากเป็นนักเขียน ความอยากเขียนของเราให้ตายลง” ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าเราอยากหารายได้จากงานเขียน อยากเป็นนักเขียนแล้ว เราเอาแต่เก็บงานเขียนเอาไว้ไม่ให้ใครอ่าน เพราะคุณค่าของนักเขียนนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนประเภทใด ก็เกิดจากการมีคนอ่านทั้งสิ้น งานเขียนของเราจะทำให้ผู้คนยิ้มได้มากแค่ไหน จะทำให้ผู้คนมีกำลังใจได้มากแค่ไหน จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้คนได้มากเพียงใด ก็ล้วนเริ่มต้นจากการส่งต่อแบ่งปันงานของเราไปให้กลับคนอื่นอ่าน ไม่มีทางที่งานเขียนของเราจะไม่ถูกวิจารณ์ ดังนั้น จงอย่าอาย อย่ากลัว และเปิดใจยอมรับทุกเสียงติชม เพราะนั่นคือพรวิเศษที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเอง พัฒนางานเขียนของเราให้ดีขึ้นได้ อีกข้อสำคัญหรือที่อยากฝากไว้ก็คือ นักเขียน ไม่ใช่เฉพาะคนที่เป็นนักเขียนนิยายเท่านั้น นักเขียนคือคนที่ทำอาชีพเกี่ยวกับการเขียน เขียนเพื่อสื่อสาร เขียนเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับผู้อ่าน และนักเขียนทุกคนเริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนฝึกหัด ดังนั้น อย่าอายที่จะเรียกตัวเองว่านักเขียน เพราะมันก็เหมือนตอนที่เราเป็นนักเรียนนั่นแหละครับ ที่เราก็ยังต้องเรียนรู้อะไรอีกเยอะ แบบไม่มีที่สิ้นสุด

  1. เขียนให้ได้ทุกวัน มุ่งมั่นขยันเขียนสม่ำเสมอ
READ  6 ขั้นตอนเริ่มต้นสู่การเป็นมือใหม่ หัดเขียน Content

ไม่ว่าจะเรื่องสั้น เรื่องยาว คำคม บทความ ข้อคิด อะไรก็ได้ แต่ขอให้เขียนออกมาให้ได้ทุกวัน ไม่มีพรใดจะทำให้เรากลายเป็นนักเขียนที่ดีได้ ที่สามารถสร้างรายได้ได้ นอกจาก “วินัย” อีกแล้ว ความสม่ำเสมอในการหัดเขียน จะทำให้เราเขียนเก่งขึ้น ไวขึ้น คมขึ้น และการมีงานเขียนส่งไปให้ผู้อ่านทุกวันสม่ำเสมอ คือสิ่งที่จะทำให้ผู้คนเข้าใจเรามากขึ้น ยอมรับเรามากขึ้น และชื่นชอบผลงานของเรามากขึ้น หน้าที่ความรับผิดชอบหลักของนักเขียน คือ “คิด และเขียน” จงทำมันทุกวัน แล้วความฝันของการเป็นนักเขียนคุณก็จะเป็นจริงในทุกวัน ส่วนมันจะไปได้ไกล จะประสบความสำเร็จได้แค่ไหน ความขยันเขียนและพัฒนาตัวเองเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้เราไปถึงจุดหมายเส้นชัยที่หวังไว้ได้ในที่สุด ตราบที่เราไม่หยุดเขียน เราก็จะได้เรียนรู้อยู่เสมอ และสำหรับคนที่เรียนรู้อยู่เสมอแล้ว ย่อมมีโอกาสดีๆ เข้ามาสู่ชีวิตเสมอ ไม่มากก็น้อย

การเขียนบทความ

การเขียนเป็นทักษะที่ฝึกได้ และใครก็สามารถเขียนเก่งได้ แต่ทั้งนี้ ความเก่งของงานเขียนอาจไม่ได้วัดที่รางวัลจากการประกวดเสมอไป เพราะหากสิ่งที่เราเขียนออกไปสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับผู้อ่านได้แม้เพียงคนเดียว นั่นก็ถือว่าเราประสบความสำเร็จไปแล้วขั้นหนึ่ง อาชีพนักเขียนจะไม่มีวันไส้แห้งเลย ถ้าเราสามารถทำให้งานเขียนของเราเป็นประโยชน์กับผู้คนได้ ค่อยเพิ่มจำนวนผู้คนที่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราเขียนไปเรื่อยๆ แล้วในไม่ช้า เราจะได้รับผลตอบแทนจากการ “สื่อสารสร้างสรรค์” ที่เราเฝ้าฝึกฝนมาด้วยความตั้งใจ


แนะนำบทความเกี่ยวกับการเขียน


Add friend Line@ Work360
รับฟรี Ebook สรุปหนังสือ 3 เล่ม

☑️ U R a Brand
☑️ Follow Your Heart
☑️ ขโมยให้ได้อย่างศิลปิน

รับฟรีคลิกเลย https://line.me/R/ti/p/%40work360

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า