แค่เห็นคำว่า “ ภาษี ” หลายคนก็คงต้องเมินหน้าหนีกันแล้ว ยิ่งถ้าเด็กจบใหม่ 80 % แท่บไม่รู้เกี่ยวกับ ภาษี เสียด้วยซ้ำ แต่คุณทราบไหมว่า หากเรายิ่งรู้เรื่อง ภาษี มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งในบทความนี้ เรียกได้ว่า ถือเป็นแหล่งความรู้ที่ครอบจักรวาลในเรื่องของ ภาษี เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคำนวณหาภาษีบุคคลธรรมดา สิทธิค่าลดหย่อนต่างๆ ขั้นตอนการยื่นภาษี เป็นต้น เริ่มแรกต้องทำความเข้าใจในเรื่องของภาษีกันเสียก่อนว่า ภาษีนั้นสำคัญอย่างไร ทำไมทุกคนถึงต้องเสียภาษี
ภาษี คืออะไร?
ภาษี คือ ภาระที่ประชาชนต้องนำส่งต่อภาครัฐตามที่กฏหมายได้กำหนดไว้ เพื่อสนับสนุนภาครัฐและกิจการของรัฐ ซึ่งผู้ที่เสียภาษี อาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากส่วนนี้
แล้วทำไมเราถึงต้องเสียภาษี สนับสนุนภาครัฐล่ะ ทั้งๆที่เราก็ไม่ได้ผลประโยชน์ ?
นั่นก็เพราะว่า ภาษีที่เราเสียไปนั้น ทางภาครัฐต้องนำไปพัฒนาประเทศ พัฒนาชีวิตของคนในประเทศต่อไปนั่นเอง โดยรัฐต้องนำภาษีของประชาชนไปลงทุนให้กับการศึกษา เพื่อในอนาคตลูกหลานจะได้มีเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัย ไว้สำหรับพัฒนาศักยภาพของตนเอง, ลงทุนในสวัสดิการผู้สูงอายุ, ลงทุนในการคมนาคมและการขนส่ง , ลงทุนในสาธารณสุขอื่นๆ ซึ่งรวมถึงบัตรทองด้วย, ลงทุนใหักับโรงพยาบาล ในเรื่องของค่าใช้จ่ายเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ, และเป็นค่าตอบแทนให้กับภาครัฐ เป็นต้น
หลายคนก็อาจจะเกิดคำถามชวนสงสัยอีกว่า แล้วอายุเท่าไหร่ล่ะ ถึงต้องเริ่มเสียภาษี และต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งในการเสียภาษีนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องเสียภาษี และไม่ได้เอาอายุเป็นตัวกำหนดว่าอายุเท่านี้ คุณต้องเสียภาษีเท่านี้ บุคคลที่จะเสียภาษีได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีรายได้เท่านั้น ซึ่งไม่จำกัดว่า ต้องอายุเท่าไหร่
หากเด็ก 8 ขวบสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองได้ และรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็ต้องมีการยื่นภาษีและเสียภาษีเช่นกัน แม้แต่เด็กทารกที่เกิดได้เพียง 1 วัน ถ้ามีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี แต่ทั้ง 2 กรณีที่กล่าวมานั้น อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ กฎหมายเลยกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็ก ยื่นภาษีและเสียภาษีแทน
และอีกเรื่องที่หลายคนยังคงเข้าใจผิดอยู่ “ถ้าต้องยื่นภาษี ก็เท่ากับว่า ต้องเสียภาษีด้วย” ซึ่งในความเป็นจริงนั้น หากรายได้ต่อปีของคุณไม่ถึงเกณฑ์ คุณจะไม่มีการเสียภาษีใดๆทั้งสิ้น แต่คุณก็ต้องยื่นภาษีอยู่ดี โดยคุณต้องยื่นภาษีปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะเปิดให้ยื่นภาษีได้ในช่วง 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปี
คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ใครๆก็ทำกันได้
หลายคนคงอยากรู้แล้วสิ่ว่าปีนี้ จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าเกินเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ซึ่งทางภาครัฐได้มีการกำหนดเกณฑ์ไว้แล้วว่า บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากคุณรายได้เกินเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ไม่ต้องตกใจ เราได้รวบรวมสูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้แล้ว ซึ่งเราเรียกการคำนวณนี้ว่า การคำนวณแบบขั้นบันได (โปรดอ่านตารางอัตราภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา)
สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำเป็นต้องหาเงินได้สุทธิเสียก่อน
(เงินได้สุทธิ = เงินได้ต่อปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)
ส่วนเงินได้ต่อปีมาจากไหน ? มาจาก (เงินเดือน X 12 + โบนัสอื่นๆ) ส่วนค่าใช้จ่าย ถ้าไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร คุณจะได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 50 % ของเงินเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และค่าลดหย่อนส่วนตัวอีก 60,000 บาท
ตัวอย่าง อริสรา เงินเดือน 45,000 บาท ได้เงินโบนัสอีก 100,000 บาท ไม่มีค่าลดหย่อนใดๆ เงินได้สุทธิจะเท่ากับ (640,000 – 100,000 – 60,000 = 480,000 บาท) เท่ากับว่า อริสรา มีเงินได้สุทธิ 480,000 บาท เสียภาษี 10 %
คุณจะเห็นได้ว่า เงินได้สุทธิอยู่ที่ 480,000 บาท เท่ากับว่าจะจบที่ขั้นบันไดที่ 3 หรือ >300,001 – 500,000 (พร้อมดูภาพประกอบ)
ขั้นบันไดที่ 1 ไม่เกิน 150,000 บาท คุณจะได้รับการยกเว้น เท่ากับ 0
ขั้นบันไดที่ 2 >150,001 – 300,000 เสียภาษี 5% >> (150,000 – 300,000) X5% = 7,500
ขั้นบันไดที่ 3 >300,001- 500,000 เสียภาษี 10% >> (300,000 – 480,000) X10% = 18,000
เมื่อหาผลลัพธ์ได้ทั้ง 3 ขั้นบันไดแล้ว ให้นำทั้งผลลัพธ์ทั้งหมดมารวมกัน (0+7500+18,000 = 25,000 บาท ) ดังนั้น อริสราจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท
นอกจากนี้ ยังมีสูตรการคำนวณอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า การคำนวณแบบเหมา 0.5 % ซึ่งการคำนวณแบบนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ที่ไม่ได้มาจากเงินเดือน เช่น อาชีพขายของออนไลน์ และต้องมีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาทต่อปี
สูตรการคำนวณแบบเหมา
(เงินได้จากทุกช่องทาง ยกเว้นเงินเดือน X 0.005 = ค่าภาษี)
ตัวอย่าง อำนาจ มีรายได้จากการขายของออนไลน์ 3 ล้านบาท เมื่อคำนวณภาษีด้วยวิธีเหมาจ่าย (3,000,000 X 0.005 = 15,000 บาท) ดังนั้น อำนาจ ต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท
หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rd.go.th/publish/309.0.html