The Art of Writing & Summary
จากบทความของเพจอาจารย์ทนง ThanongFanclub
ก่อนที่เราจะย่อความบทความใด หรือข้อเขียนใด เราต้องอ่านเนื้อหาให้จบก่อน แล้วก็ขีดเส้นหรือหยิบยกเอาข้อความที่สำคัญที่สุดในบทความเพื่อทำการย่อ งานเขียนที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะทางอย่าง การเขียนข่าว ก็เป็นศิลปะที่เราพบเห็นได้อ่านทุกวัน แต่มันมีเคล็ดลับอะไร วันนี้ผมเอาบทความเก่าของอาจารย์ทนง ที่ท่านเขียนไว้ในเพจเมื่อหลายปีก่อน ผมได้คัดลอกเก็บไว้ ย้อนกลับมาอ่านเจอในยุคที่ งานสอนเขียน สัมมนาสร้างนักเขียนเต็มโลกออนไลน์ เพื่อนๆที่ สนใจงานเขียน ลองอ่านกันดูนะครับ อาจารย์เขียนไว้สั้นๆ อ่านแล้วคงต้องวิเคราะห์ตามกันสักหน่อย
ผมเอาหลักการThe Bloomberg Way หรือหนังสือคู่มือการเขียนข่าว การปรับปรุงการเขียน หรือedit ของนักข่าวและบรรณาธิการของสำนักข่าวBloombergมาประยุกต์ นำไปสู่หลักการย่อความดังนี้คือ ต้องให้มีอย่างน้อย4 ประโยค หรือ4ย่อหน้าเท่านั้น โดยที่
1. ประโยคแรก หรือย่อหน้าแรกจะเป็นการเปิดประเด็น (lead paragraph) เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ (new information, new knowledge)
2. ประโยคที่สอง หรือย่อหน้าที่สอง จะเป็นการให้ข้อมูลที่มาที่ไป หรืออาจจะเป็นขยายความประโยคแรกก็ได้ (background paragraph & extension of lead)
3. ประโยคที่สาม หรือย่อหน้าที่สาม จะเป็นการนำเสนอประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ชี้นำไปในอนาคต หรือผลกระทบในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่การติดตามข้อมูลใหม่ หรือความรู้ใหม่ต่อไป (cosmic paragraph)
4. ประโยคที่สี่ หรือย่อหน้าที่สี่หรือย่อหน้าสุดท้ายจะเป็นการสรุปรวบยอดของสิ่งที่เกิดขึ้น (summary paragraph & conclusion)
The present: จะเห็นได้ว่ามีมิติของเวลาอยู่ โดยที่การเปิดประเด็นใหม่ของ (lead paragraph) จะเป็นภาวะปัจจุบัน
The past: ข้อมูลพื้นฐานที่มาที่ไป (background paragraph)จะเป็นภาวะในอดีต
The future: ประเด็นชี้นำในอนาคต หรือการคาดการของผลกระทบในเบื้องหน้า (cosmic paragraph) จะเป็นเรื่องของอนาคตกาล
Back to the present or move forward to the future: และบทสรุปรวบยอด (summary & conclusion) จะนำเรากลับมาสู่ภาวะปัจจุปันอีกครั้ง หรือจะมองไปในอนาคตก็ได้
จาก 4ประโยค หรือ4ย่อหน้าที่เราได้เห็นก่อนหน้านี้ เราสามารถรวบรวมเป็นย่อหน้าเดียวได้ อาศัยคำเชื่อมใส่เข้าไป เพื่อให้อ่านเรียบง่ายขึ้น